Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43389
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอารีย์วรรณ อ่วมตานีen_US
dc.contributor.advisorเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์en_US
dc.contributor.authorเอมิกา กลยนีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:37:46Z
dc.date.available2015-06-24T06:37:46Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43389
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ รายได้ ระยะเวลาการดูแล ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล ความเข้มแข็งในการมองโลก ภาระในการดูแลผู้ป่วย และการสนับสนุนทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่พาผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โดยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากโรงพยาบาลศูนย์ที่มีคลินิกจิตเวช ในเขตภาคกลาง จำนวน 143 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบสอบถามภาระในการดูแล แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต แบบสอบถามทุกชุดได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน และคำนวณหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้ เท่ากับ .85, .92, .90, .92 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันและไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. คะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (Mean= 82.86, SD = 8.02) 2. ความเข้มแข็งในการมองโลก ภาวะสุขภาพของผู้ดูแล และการสนับสนุนทางสังคมมี ความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .583, .564 และ .605 ตามลำดับ) 3. อายุ มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.216) 4. ภาระในการดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.629) 5. รายได้ของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6. ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วยไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this descriptive research were to study quality of life of schizophrenic patients’ caregivers and to examine relationships among age, income, duration of care, sense of coherence, health status, caregiver burden, social support and quality of life of schizophrenic patients’ caregivers. The subjects were 143 schizophrenic patients’ caregivers who took the patient visitime in Out Patients Department at a Psychiatric Clinic Regional hospitals and Medical centers selected by random sampling technique. The research instruments were the personal data record, sense of coherence questionnaires, Short Form 36 Health survey (SF-36), caregiver burden scale, social support questionnaires and World Health Organization Quality Of Life-BREF (WHOQOL-BREF-THAI). The instruments were tested for content validity by 5 professional exerts and analyzed by using Cronbach’s alpha coefficient. the scale reliability were .85, .92, .90, .92 and .93 respectively. Data were analyzed by using frequency, percent, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation and Chi-Square. Major findings were as follows: 1. A quality of life among caregivers caring for patients with schizophrenia at home was at moderate level (Mean= 82.86, SD = 8.02). 2. Sense of coherence, health status and social support of schizophrenic patients’ caregivers were positively correlated at moderate level with quality of life of schizophrenic patients’ caregivers at level of .05 (r= .583, .564 and .605 respectively). 3. Age was negatively correlated at low level with quality of life of schizophrenic patients’ caregivers at level of .05 (r= -.216). 4. Caregiver burden was negatively correlated at moderate level with quality of life of schizophrenic patients’ caregivers at level of .05 (r= -.629). 5. Income of schizophrenic patients’ caregivers was significantly correlated with quality of life of schizophrenic patients’ caregivers at level of .05. 6. Duration of care was not correlated with quality of life of schizophrenic patients’ caregivers.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.855-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ดูแล
dc.subjectผู้ป่วยจิตเภท -- การดูแลที่บ้าน
dc.subjectคุณภาพชีวิต
dc.subjectCaregivers
dc.subjectSchizophrenics -- Care
dc.subjectQuality of life
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่ให้การดูแลผู้ป่วยที่บ้านen_US
dc.title.alternativeSELECTED FACTORS RELATING TO QUALITY OF LIFE AMONG CAREGIVERS CARING FOR PATIENTS WITH SCHIZOPHRENIA AT HOMEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorareeday@yahoo.comen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.855-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477312336.pdf3.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.