Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์en_US
dc.contributor.authorภานุพงศ์ นิลตะโกen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:10Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:10Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43426
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการบริหารอาคารชุดมีความสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการอสังหาริมทรัพย์ ใน ปี 2548 บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ได้นำแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมมาใช้เพื่อการสร้างชุมชนน่าอยู่ ส่งผลให้ลูกค้ามีความเชื่อมั่นในบริษัท ทำให้โครงการอาคารชุดของบริษัทประสบความสำเร็จ และเป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการดีเลิศ การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าของโครงการ บทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมของเจ้าของร่วม ข้อดี ข้อเสีย และปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารอาคารชุด เพื่อนำไปสู่การเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารอาคารชุด โดยเลือก บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (L.P.N.) เป็นกรณีศึกษา และเลือกตัวอย่าง 3 โครงการ คือ โครงการลุมพินี สวีท พระราม 8 (LS-RM 8) โครงการลุมพินี วิลล์ บางแค (LV-BK) และโครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บางแค (LT-BK) โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการชุมชน การสังเกต การสร้างเกณฑ์วัดระดับการมีส่วนร่วม และความพึงพอใจในการบริหารชุมชน และใช้แบบสอบถามเจ้าของร่วม 261 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า 1. บริษัท L.P.N. ได้สร้างกลยุทธ์ในการบริหารอาคารชุด คือ ชุมชนน่าอยู่ มุ่งเน้นให้ผู้อยู่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเจ้าของร่วมในการบริหารอาคารชุด ที่เรียกว่า “ชุมชน” เป็น 4 ช่วง คือ ช่วงก่อนการก่อสร้าง ช่วงระหว่างการก่อสร้าง ช่วงหลังการก่อสร้าง และช่วงการเข้าอยู่อาศัย โดยมีหลักปฏิบัติ 2 หลัก คือ 1) แนวทางการบริหารอาคารชุดของบริษัทฯ ซึ่งแบ่งการบริหารจัดการเป็น 6 เรื่อง คือ ทรัพย์ส่วนกลาง งบประมาณ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และศักยภาพบุคลากร และ 2) ข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งทั้ง 3 โครงการใช้แนวทางปฏิบัติเดียวกัน แต่มีกิจกรรมที่แตกต่างกันบ้าง 2. ผลจากการศึกษาและจัดลำดับการมีส่วนร่วมของเจ้าของร่วมใน 3 โครงการ พบว่า 1) เจ้าของร่วม มีส่วนร่วมในระดับมากทั้ง 3 โครงการ โดยเมื่อพิจารณาคะแนนตามแนวทางการบริหารอาคารชุด LS-RM 8 ได้ 8 คะแนน, LV-BK ได้ 13 คะแนน และ LT-BK ได้ 1 คะแนน และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยตามข้อบังคับนิติบุคคลอาคารชุด (รับรู้/ปฏิบัติ) LS-RM 8 ได้ 99.3/99.3, LV-BK ได้ 98.9/98.8 และ LT-BK ได้ 95.8/97.9 ซึ่งเมื่อจัดลำดับพบว่า โครงการ LT-BK เจ้าของร่วมมีระดับการส่วนร่วมน้อยที่สุด 2) เมื่อศึกษาผลของการบริหารอาคารชุดโดยวัดระดับทัศนคติความพึงพอใจในการอยู่อาศัย พบว่า โครงการ LS-RM 8 และ LV-BK อยู่ใน “ระดับพึงพอใจมาก” 3.59 และ 3.61 คะแนนตามลำดับ ส่วนโครงการ LT-BK อยู่ใน “ระดับปานกลาง” 3.33 คะแนน จึงสังเกตได้ว่า เมื่อโครงการมีระดับการมีส่วนร่วมของเจ้าของร่วมมาก จะสัมพันธ์กับการมีผลด้านการบริหารอาคารชุดดี และพบว่าปัจจัยที่ทำให้โครงการ LT-BK มีการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจน้อยกว่า อีก 2 โครงการ คือ เป็นโครงการที่มีจำนวนห้องชุดมากกว่า แต่มีจำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารโครงการใกล้เคียงกัน และพบว่าในทั้ง 3 โครงการ ยังมีเจ้าของร่วมที่เข้ามามีส่วนร่วมน้อยอยู่จำนวนหนึ่ง ผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า บริษัท L.P.N. ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตของผู้อาศัยควบคู่กับการบริหารอาคารชุด โดยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ตั้งแต่ก่อนเข้าอยู่อาศัยในโครงการ และมีข้อเสนอแนะ ให้ทบทวนเพื่อปรับรูปแบบการบริหารจัดการอาคารที่มีจำนวนหน่วยมาก โดยมี 2 ทางเลือกคือ 1) มีนิติบุคคลอาคารชุด 1 ชุด และมีฝ่ายบริหารหลายชุด หรือ 2) มีนิติบุคคลอาคารชุดหลายนิติ และมีฝ่ายบริหารหลายชุด และควรเพิ่มกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อให้เจ้าของร่วมตระหนักในบทบาทหน้าที่ของเจ้าของร่วมจนเข้ามามีส่วนในการร่วมคิดen_US
dc.description.abstractalternativeCondominium management plays a major role in the success of real estate projects. In 2005, L.P.N. Development Public Company Limited adopted the policy of owner participation in development to create a more vibrant community. This has resulted in greater customer confidence in the company, and led to successful company condominium projects. The company also became known as one with excellent corporate governance. This research has as its objective to study the project developer’s approach to owner participation, owners’ roles, duties, and participation, as well as advantages and disadvantages of owner participation. In addition, it explores problems resulting from this approach regarding condominium management so that changes can be recommended for the development of condominium management participation process. The L.P.N. Development Public Company Limited was selected as the case study, focusing on three projects: Lumpini Suite Rama 8 (LS-RM 8), Lumpini Ville Bangkhae (LV-BK) and Lumpini Condotown Bangkhae (LT-BK). The studied was conducted by way of interviews of community managers, observation, establishing criteria for measuring participation and satisfaction levels regarding community management, and using questionnaires with a sample of 261 owners. The research results are as follows: 1. L.P.N. Company developed a condominium management strategy to create a more vibrant community, focusing on residents living together happily. The process for participation by owners in management of the condominium, referred to as “community”, is divided into four phases: before construction, during construction, after construction, and residency. There are two practical guidelines for the strategy: 1) the company’s condominium management approach dividing management into six areas: facility, budget, life quality, environment, security, and people, and 2) Regulations of Condominium Juristic Person: all three projects use the same guidelines although some activities may vary. 2. The study results and the ordering of owners’ participation in the three projects are as follows: 1) owners’ participation was at a high level in all three projects with the following breakdown. Considering the scores in condominium management approach, LS-RM 8 scored 8 points, LV-BK 13 points, and LT-BK 1 point. Considering the average scores regarding (awareness of/compliance with) Regulations of Condominium Juristic Person, LS-RM 8 scored 99.3/99.3, LV-BK 98.9/98.8, and LT-BK 95.8/97.9. When put in order, LT-BK owners ranked lowest in participation. 2) As regards satisfaction in living in the condominium as a result of condominium management, LS-RM 8 and LV-BK’s were at the “very satisfied” level, with the score of 3.59 and 3.61 respectively. LT-BK, meanwhile, stood at “moderately satisfied”, with a score of 3.33. It is thus notable that owners’ participation positively affected the condominium management results. Also, LT-BK having lower level participation and satisfaction than the other two projects could be due to the fact that it had a larger number of condominium units but a similar number of project administration staff. Moreover, in all three projects, there were a number of owners with little participation. In conclusion, L.P.N. Company has been successful in promoting the residents’ quality of life through the condominium management participation process from the time before the residents moved in to their living in the project. It is recommended that the management pattern of projects with a high number of units be reviewed. There are two possible alternatives: 1) there may be one condominium juristic person and several management teams, or 2) there may be several condominium juristic persons and several management teams. Also, participation process development should be established so that owners are aware of their roles and duties and participate in the management, providing their ideas and opinions.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.893-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการอสังหาริมทรัพย์
dc.subjectอาคารชุด -- การบริหาร
dc.subjectReal estate management
dc.subjectCondominiums -- Administration
dc.titleบทบาทหน้าที่และการมีส่วนร่วมในการบริหารอาคารชุดของเจ้าของร่วม : กรณีศึกษา โครงการลุมพินี สวีท พระราม 8 โครงการลุมพินี วิลล์ บางแค และโครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บางแค ของ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)en_US
dc.title.alternativeROLES AND PARTICIPATION OF OWNERS IN CONDOMINIUM MANAGEMENT : A CASE STUDY OF THE LUMPINI SUITE RAMA 8, LUMPINI VILLE BANGKHAE AND LUMPINI CONDOTOWN BANGKHAE OF L.P.N. DEVELOPMENT PUBLIC COMPANY LIMITEDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkpanitchpakdi@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.893-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573311025.pdf8.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.