Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43431
Title: ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: THE LEVEL OF ACCESSIBILITY TO PUBLIC TRANSPORTATION SYSTEMS IN THE BANGKOK METROPOLITAN REGION
Authors: อดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้
Advisors: อภิวัฒน์ รัตนวราหะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: apiwat.r@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งมวลชน
กรุงเทพมหานคร -- ผังเมือง
Local transit
Bangkok -- City planning
Issue Date: 2556
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาดัชนีและวัดระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งผลการวิจัยจะเป็นเครื่องมือชี้วัดระดับการเข้าถึงฯ ในแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจาก 3 ปัจจัย คือ (1) ปัจจัยด้านเวลา (2) ค่าใช้จ่าย และ (3) โอกาสในการเชื่อมต่อ เพื่อแสดงให้เห็นว่าแต่ละพื้นที่มีระดับการเข้าถึงฯอยู่ในระดับไหน และมีรูปแบบเชิงพื้นที่เป็นอย่างไร สมมติฐานการวิจัยคือ (1) การให้บริการระบบขนส่งสาธารณะมีความเหลื่อมล้ำของการให้บริการและเมื่อมีการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะทางรางของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจะทำให้ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะโดยรวมของพื้นที่สูงขึ้น และ (2) ระดับการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับบริบททางด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินและการผังเมือง ซึ่งวัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ของโครงข่ายการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะ และเพื่อศึกษาดัชนีและระดับการเข้าถึงฯ แยกรายพื้นที่ โดยอาศัยวิธีการเชิงปริมาณในการวิเคราะห์ปัจจัยและวัดระดับการเข้าถึงฯ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ผ่านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ผลการศึกษารูปแบบการกระจายตัวเชิงพื้นที่ พบว่า การกระจายตัวของสถานีให้บริการระบบขนส่งสาธารณะทั้ง 3 ระบบมีการกระจายตัวในรูปแบบที่เป็นกลุ่มก้อน ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาด้วยสถิติเชิงพื้นที่ พบว่า พื้นที่ที่มีการทับซ้อนของระยะมาตรฐานทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ พื้นที่บริเวณ เขตจตุจักร เขตดุสิต เขตพญาไท เป็นต้น ผลการศึกษาระดับการเข้าถึงฯ ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนีชี้วัดระดับการเข้าถึง มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 10.00 พบว่าระดับการเข้าถึงฯ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับ 4 (Accessibility Index: AI = 4.62) ซึ่งเมื่อนำผลการศึกษาระดับการเข้าถึงฯ พิจารณาร่วมกับบริบทเชิงพื้นที่และมิติด้านเวลา ได้ผลดังนี้ คือ ในด้านการเปลี่ยนแปลงตามลำดับเวลา กรณีที่เกิดการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางราง พบว่า ระดับการเข้าถึงฯโดยรวมเฉลี่ยเพิ่มขึ้น จากระดับ 4 (AI = 4.62) เพิ่มขึ้นเป็นระดับ 5 (AI : 5.23) สอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ เพื่อแสดงความเหลื่อมล้ำของระดับการเข้าถึงฯ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์จีนีที่คำนวณได้มีค่าเท่ากับ 0.49 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของระดับการเข้าถึงฯ และสุดท้ายคือ ผลการวิเคราะห์ร่วมกับลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินและบริบทด้านผังเมือง พบว่า มีบางพื้นที่ที่มีลักษณะที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างค่าร้อยละของความเป็นเมือง รูปแบบการใช้ที่ดินตามผังเมือง และระดับการเข้าถึงฯ ซึ่งต้องเร่งพัฒนาโครงสร้างระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเป็นการเพิ่มระดับการเข้าถึงฯ ให้สอดคล้องกับบริบทด้านพื้นที่ต่อไป
Other Abstract: This research studies the index and the level of accessibility to public transportation systems in the Bangkok Metropolitan Region. The findings are measure the level of accessibility in each areas by considering 3 factors of (1) the time factor (2) costs and (3) opportunities to connect. This will show the level of accessibility in each area and how the spatial characteristics area. The purpose of this research is to study the spatial distribution of the public transportation network and to study the index as well as the level of accessibility in each area by isolating the areas by the use of quantitative methods to analyze the factors and the level of accessibility. With analysis techniques of spatial data through the Geographical Information System (GIS), results show that the spatial distribution of the three service stations of the public transport systems are distributed in the form of a cluster. When taken into consideration with spatial statistics, it shows an overlap of the three standard distances between the areas including the following districts Chatuchak, Dusit, Phayathai, and many more. Results of the study regarding the level of accessibility, determined from the index of accessibility ranges from 0.00 to 10.00. It has been found that the average of the level of accessibility is at 4 (Accessibility Index: AI = 4.62). When brining the results of the level of accessibility to consider in context of spatial dimension and time factors, it has resulted in the following changes in chronological order. In the case of a railway system, the average of the level of accessibility increased from level 4 (AI = 4.62) to level 5 (AI: 5.23). This is consistent with the results of the analysis of spatial relationships. In order to illustrate the disparity in the level of accessibility, it has been found that the calculated Gini Coefficient is equal to 0.49, which reflects the disparity in the level of accessibility. Lastly, a combined analysis between land-use and urban plan shows that there are some areas which have inconsistencies between the percentage of a city urban land-use patterns and the level of accessibility. The development of the public transport infrastructure shall be accelerated to increase the level of accessibility according to the context of each area in the near future.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43431
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.896
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2013.896
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573321325.pdf14.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.