Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43434
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเสริชย์ โชติพานิชen_US
dc.contributor.authorธณัฐพร ธรรมชาติen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:17Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:17Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43434
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึง ลักษณะการวางกองครุภัณฑ์เหลือใช้หรือรอจำหน่าย สาเหตุของการมีครุภัณฑ์เหลือใช้หรือรอจำหน่าย และกระบวนการจำหน่ายครุภัณฑ์เหลือใช้หรือรอจำหน่าย ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้แนวทางการศึกษาโดยการเข้าสำรวจพื้นที่อาคาร สำรวจครุภัณฑ์เหลือใช้หรือรอจำหน่าย และวิธีการจัดการครุภัณฑ์เหลือใช้หรือรอจำหน่ายของ 17 คณะ และ 2 โรงเรียน ทำการรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สำรวจ และการรวบรวมข้อมูลเอกสาร จากการศึกษาพบว่า สถานที่ที่พบครุภัณฑ์ฯ ที่มักพบ ได้แก่ ทางเดินในอาคาร ทางเดินรอบนอกอาคาร โถงบันได/โถงลิฟท์ บันไดหลัก และบันไดหนีไฟ โดยครุภัณฑ์ฯ ที่พบนั้นแบ่งเป็น 12 ประเภท ได้แก่ ครุภัณฑ์สำนักงานและการศึกษา ครุภัณฑ์ยานพาหนะและขนส่ง ครุภัณฑ์การเกษตร ครุภัณฑ์ก่อสร้าง ครุภัณฑ์ไฟฟ้าและวิทยุ ครุภัณฑ์โฆษณาและเผยแพร่ ครุภัณฑ์วิทยาศาสตร์การแพทย์ ครุภัณฑ์งานบ้านงานครัว ครุภัณฑ์โรงงาน ครุภัณฑ์กีฬา ครุภัณฑ์สำรวจ และครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ สภาพที่พบ ได้แก่ ชำรุดและไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ชำรุดและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทรุดโทรมและไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทรุดโทรมและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ และอยู่ในสภาพดีและใช้งานได้ สาเหตุที่ครุภัณฑ์ฯ นำมากองทิ้งไว้เป็นผลมาจากมีสถานที่เก็บครุภัณฑ์ฯ ไม่เพียงพอ หรือไม่มีสถานที่เก็บครุภัณฑ์ฯ ส่วนสาเหตุที่ต้องเปลี่ยนหรือกำจัดครุภัณฑ์ฯ ออกไปจนเกิดเป็นปัญหาการวางกองครุภัณฑ์ฯ ที่พบเห็นนั้น มี 3 สาเหตุ ได้แก่ 1.ครุภัณฑ์หมดสภาพการใช้งาน 2.ครุภัณฑ์มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ 3.มีครุภัณฑ์ใหม่ทดแทนของเดิมที่ยังมีสภาพใช้ได้ และจากการศึกษายังพบว่าวิธีการจำหน่ายครุภัณฑ์ฯ มี 3 วิธี คือ 1.การโอน 2.การจำหน่ายขาย และ 3.การบริจาค ซึ่งการบริจาคครุภัณฑ์นั้นมักบริจาคให้วัดสวนแก้วมากที่สุด รวมถึงการบริจาคให้โรงเรียนอื่นๆโดยเฉพาะโรงเรียนในชนบท ซึ่งระยะเวลาในการจำหน่ายมักยาวนานใน 2 ขั้นตอน คือ 1.การแต่งตั้งกรรมการตรวจสอบ และ 2.การเสนอผู้บริหารขออนุมัติจำหน่ายจนมีการอนุมัติเพื่อจำหน่ายครุภัณฑ์ออกไปในที่สุด การศึกษานี้มีข้ออภิปรายว่าแนวทางการจัดการเพื่อแก้ปัญหาข้างต้น ควรดำเนินการอย่างเป็นระบบตั้งแต่ต้นทาง คือ เมื่อมีการนำครุภัณฑ์เข้ามา และเมื่อมีความต้องการกำจัดครุภัณฑ์เดิม นอกจากนี้ความร่วมมือของผู้ใช้ครุภัณฑ์ ตลอดจนการทราบถึงข้อมูลรายการครุภัณฑ์ที่ทันสมัยจะช่วยลดเวลาในการจำหน่ายทิ้งครุภัณฑ์ฯ ได้ ทั้งนี้เนื่องจากการเสื่อมสภาพครุภัณฑ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติและต่อเนื่อง หน่วยงานจึงควรได้พิจารณาจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บเพื่อรอการจำหน่ายให้เพียงพอและในบริเวณที่เหมาะสมen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aims to study the arrangements of disposed office stuffs in excess, the causes of having disposed office stuffs and the process of disposing of disposed office stuffs at Chulalongkorn University. The research was conducted by surveying the buildings and the disposed office stuffs and the process of disposing disposed office stuffs in seventeen faculties and two schools. The data were collected by interview, survey, and information and document gathering. From the study, it was found that the common places for disposed office stuffs of were the walkways inside the buildings, the walkways around the buildings, the space in front of the stairways and elevators, the main stairways and the fire escape ladder. It was found from the study that the disposed office stuffs of could be divided into twelve categories namely office and educational durable goods, vehicle and transportation durable goods, agricultural durable goods, construction durable goods, electrical and radio durable goods, advertising and publicizing durable goods, scientific and medical durable goods, household durable goods, factory durable goods, sporting equipment durable goods, survey durable goods and computer durable goods. The present condition of the durable goods could be divided into five categories which were: damaged and could not be reused, damaged but could be reused, broken down and could not be reused, broken down and could be reused, and in good condition and usable. The reason why disposed office stuffs were left out was that there was not much space or no place to store them. There were three reasons why the office stuffs needed to be changed or got rid of until it became a problem which are 1. they were ruined 2. the technology for such office stuffs had changed 3. there were replacements for the usable office stuffs. From the study, it was also found that there were three ways to get rid of the office stuffs in excess or to be disposed of namely 1. transfer 2. sale and 3. donation which mainly went to Suan Kaew temple and also to other schools especially in rural areas. It took a long time to get rid of the disposed office stuffs due to following two steps which were 1. the audit committee appointment and 2. the proposal for disposal approval to the executives until the approval of the disposal. The discussions of the study are that the management for the problems should be done systematically from the beginning since the office stuffs are present and the old office stuffs need to be disposed of. Apart from that, the cooperation of the users and the access to the lists of the up-to-date disposed office stuffs would lower the disposal process time. This is because their respective deteriorations are natural and continuous. The organization should consider preparing enough and appropriate areas to store disposed office stuffs waiting to be disposed of.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.898-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการจัดการ -- ครุภัณฑ์และอุปกรณ์
dc.subjectการสำรวจ -- ครุภัณฑ์และอุปกรณ์
dc.subjectManagement -- Furniture, equipment, etc.
dc.subjectSurveying -- Furniture, equipment, etc.
dc.titleลักษณะปัญหาการกองครุภัณฑ์รอการกำจัดในอาคารราชการ : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativePROBLEMS OF UNMANAGING UNDER DISPOSED OFFICE STUFFS IN GOVERNMENTAL BUILDINGS : CASE STUDY CHULALONGKORN UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsarich.c@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.898-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573331625.pdf26.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.