Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43457
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์en_US
dc.contributor.advisorบรรณโศภิษฐ์ เมฆวิชัยen_US
dc.contributor.authorมาลินีร์ โรจนเมธาสุวรรณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:38:31Z
dc.date.available2015-06-24T06:38:31Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43457
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐบาลทุกประเทศพยายามดำเนินการแก้ไขมานานแต่ไม่สามารถขจัดปัญหาได้องค์กรเอกชนขึงมีบทบาทในการร่วมแก้ปัญหา องค์การที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากล เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่ช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยโดยไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งมีเครือข่ายดำเนินการอยู่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทบาทและการดำเนินงานของมูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทย เพื่อสรุปเป็นบทเรียนและข้อเสนอแนะทั้งแก่มูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทยและองค์กรที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลในกลุ่มประเทศอาเซียน ใช้วิธีการศึกษา การค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ ศึกษาการดำเนินงานใน 4 กรณีศึกษาและการสำรวจและสัมภาษณ์ผลการดำเนินงานจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 40 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า มูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทย ดำเนินงานมาแล้ว 15 ปี ช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัยแก่ผู้มีรายได้น้อยในทุกภูมิภาค ไปแล้ว 9,500 ครอบครัว มีการดำเนินการ 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) การระดมทุนจากองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อมาใช้ในการดำเนินงาน 2) การระดมอาสาสมัครเพื่อช่วยระดมทุนและลงแรงในการสร้างบ้าน 3) การคัดเลือกครอบครัวผู้รายได้น้อย ตามหลักเกณฑ์ขององค์กร 4) การออกแบบและก่อสร้างบ้านการควบคุมงบประมาณและระยะเวลาการก่อสร้าง และ 5) การติดตามการชำระคืนจากผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือ เพื่อนำเงินที่ชำระคืนสมทบกองทุนในการสร้างบ้านแก่ผู้มีรายได้น้อยหลังต่อไป จากกรณีศึกษา 4 โครงการ พบว่า มูลนิธิฯ มีการดำเนินงานใน 2 รูปแบบ คือ 1) โครงการที่อยู่อาศัยเพื่อผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการตามหลักการปกติขององค์กร คือช่วยเหลือสร้างบ้านหลังใหม่ หรือต่อเติมซ่อมแซมบ้านหลังเดิมให้กับผู้มีรายได้น้อย โดยใช้กองทุนหมุนเวียน โดยมีโครงการ จิมมี่ โรสลินน์ คาร์เตอร์ สร้างบ้าน ซึ่งเป็นกิจกรรมพิเศษที่มีการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับการช่วยเหลือด้วย 2) โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ได้แก่โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ และโครงการช่วยเหลือผู้ประสบอุกทกภัย ซึ่งเป็นการระดมความช่วยเหลือแบบเร่งด่วนและช่วยเหลือแบบให้เปล่า ไม่มีการชำระคืน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นครอบครัวที่ยากจนและบ้านได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ เมื่อประเมินผลการดำเนินงาน สามารถสรุปบทเรียนที่สามารถนำไปเป็นข้อเสนอแนะต่อองค์กรที่อยู่อาศัยเพื่อมนุษยชาติสากลในกลุ่มประเทศอาเซียนที่ดำเนินงานมาไม่นานหรือกำลังจะเริ่ม ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา พม่า และลาว ได้ว่า มูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทยมีข้อดีในการดำเนินงาน คือ 1) มีวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนทำให้การดำเนินงานสำเร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ได้รับการช่วยเหลือมีที่อยู่อาศัยที่ดีขึ้น 2) มีวิธีการดำเนินงานของแต่ละโครงการที่หลากหลาย ยืดหยุ่นสามารถตอบสนองต่อลักษณะที่แตกต่างของแต่ละโครงการได้ดี 3) มีขั้นตอนน้อยและไม่ซับซ้อน จึงเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะกรณีการตอบสนองต่อภัยพิบัติ และมูลนิธิฯ ยังคงมีข้อจำกัดและข้อที่ควรปรับปรุง คือ 1) ควรขยายขอบเขตกลุ่มเป้าหมายให้มีระดับรายได้ครัวเรือนน้อยลง ครอบคลุมกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน 2) ควรพัฒนาการผสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน เพื่อเพิ่มศักยภาพขององค์กร ในเรื่อง การเลือกกลุ่มเป้าหมาย การช่วยเหลือกลุ่มที่มีรายได้น้อยลงไปกว่าที่ได้ช่วยเหลืออยู่ในปัจจุบัน การช่วยเหลือกลุ่มที่มีปัญหาเรื่องสิทธิครอบครองที่ดิน การแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้ การสนับสนุนการทำงานระหว่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeThe government of every country has always been trying to solve the problem of housing for people with low income but has never been able to get rid of the problem. A non-government organization with a role in solving the problem is Habitat for Humanity International, a non-profit organization which provides housing assistance for people with low income. It has a worldwide network, including in Thailand and ASEAN countries. This research has as its objectives to study and analyze the roles and the operations of Habitat for Humanity Thailand to make conclusions and recommendations for both Habitat for Humanity Thailand and Habitat for Humanity International in Asean countries. Research methodology included documentary research, interviews of staff of Habitat for Humanity Thailand, a study of operations in four cases, surveys and interviews on operations of a total of 40 samples in the sample group. The study results revealed that Habitat for Humanity Thailand has been in operation for 15 years providing housing assistance for people with low income in all regions, amounting to 9,500 families. Operations fell into five areas: 1) mobilizing funds from both domestic and overseas agencies for use in the operations, 2) mobilizing volunteers to help mobilize funds and physical energy in building houses, 3) selecting eligible families with low income according to the organization’s criteria, 4) designing and building houses with budget and schedule control, and 5) following up on repayment from those granted assistance so that the repaid amount could be added to the fund for building houses for people with low income further. The study of four projects found that Habitat for Humanity Thailand put the operations into two types: 1) Housing projects for people with low income. This is a regular operation, helping people with low income build a new house or repair or make additions to the old house. This type of projects relies on the revolving funds including the Jimmy & Rosalynn Carter Work Project, a special activity that allocates land for those granted help. 2) Projects to help tsunami and flood disaster victims. This involve urgent mobilization of assistance, which is provided free of charge with no repayment obligations. The target group is poor families whose houses have suffered damage from the disasters. The evaluation of operational results yielded the following conclusions and recommendations for Habitat for Humanity International in Asean countries: Vietnam, Cambodia, Myanmar, and Laos, which have been in operation for not very long or are only starting. The good points of Habitat for Humanity Thailand’s operations are as follows: 1) The objectives and the target groups are clear, allowing operations to fulfill their goals and objectives and allowing those provided assistance to have better housing. 2) The operational methods are of variety, making it flexible to respond well to the different characteristics of each project. 3) Steps of work are few and simple, not complicated; therefore, the organization can reach the target group and operate in an expedient manner, particularly in the case of responding to disasters. However, Habitat for Humanity Thailand feature some limitations and should consider the following improvements. 1) The target group should be expanded to cover those with lower household income and those with the problem of land possessory right. 2) Co-ordination should be aimed with agencies concerned in both the government and the private sectors as well as with non-government organizations. This is to boost the potential of the organization in the following matters: selecting target groups, helping those with even lower income than those helped at present, helping those with the problem of land possessory right, sharing knowledge and information, and supporting each other’s work.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.921-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาที่อยู่อาศัย -- นโยบายของรัฐ -- ไทย
dc.subjectนโยบายการเคหะ -- ไทย
dc.subjectHousing development -- Government policy -- Thailand
dc.subjectHousing policy -- Thailand
dc.titleบทบาทองค์กรพัฒนาที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อยในประเทศไทย: กรณีศึกษา มูลนิธิที่อยู่อาศัยประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeROLE OF HOUSING DEVELOPMENT ORGANIZATION FOR PEOPLE WITH LOW INCOME IN THAILAND: A CASE STUDY OF HABITAT FOR HUMANITY THAILANDen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพัฒนาที่อยู่อาศัยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorkpanitchpakdi@gmail.comen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.921-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573576025.pdf7.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.