Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4360
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกาญจนา กาญจนทวีวัฒน์-
dc.contributor.authorบุญเลิศ กู้เกียรติตระกูล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2007-10-10T07:02:09Z-
dc.date.available2007-10-10T07:02:09Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743470069-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4360-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงพันธะเฉือน (SBS) ของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง (EMP, IPS Empress, Ivoclar) ซึ่งยึดติดกับเฟลด์สปาทิกพอร์ซเลน (FP, Vita VMK 95, Vita Zahnfabrik) หรืออะลูมินัสพอร์ซเลน (AP, Vitadur Alpha, Vita Zahnfabrik) ด้วยเรซินซีเมนต์ (Variolink II, Vivadent) ภายใต้การปรับสภาพผิวต่างกัน โดยเตรียมแผ่นกลม EMP ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.5 มม. หนา 1 มม. จำนวน 600 ชิ้น แบ่งโดยสุ่มเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 120 ชิ้น มีการปรับสภาพผิวดังนี้คือ แบบ A) ไม่ปรับสภาพผิวเป็นกลุ่มควบคุม แบบ B) ขัดเรียบด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์บอนไบด์ (3M, USA) แบบ C) กรอด้วยหัวกรอกากเพชรชนิดหยาบ (Jota, Switzerland) แบบ D) กัดด้วยกรดไฮโดรฟลูออริกความเข้มข้นร้อยละ 9.6 (Procelain Etch Gel, Pulpdent) เป็นเวลา 5 นาที และแบบ E) กัดด้วยเจลเอพีเอฟความเข้มข้นร้อยละ 1.23 (Topical Fluoride Gel, Pascal) เป็นเวลา 10 นาที จากนั้นเตรียมแผ่นกลม EP และ AP ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 15 มม. หนา 1.5 มม. อย่างละ 300 ชิ้น แล้วแบ่ง FP และ AP โดยสุ่มเป็น 6 กลุ่ม กลุ่มละ 50 ชิ้น (กลุ่ม 1-6 สำหรับ FP และกลุ่ม 7-12 สำหรับ AP) มีการปรับสภาพผิวดังนี้คือ กลุ่ม 1) และ 7) แบบ A กลุ่ม 2) และ 8) แบบ B กลุ่ม 3) และ 9) แบบ C กลุ่ม 4) และ 10) เป่าทรายด้วยผงอะลูมิเนียมออกไซด์ ขนาด 50 ไมครอน ความดัน 0.68 เมกะปาสคาล (MPa) เป็นเวลา 20 วินาที กลุ่ม 5) และ 11) แบบ D และกลุ่ม 6) และ 12) แบบ E นำแผ่นกลม FP และ AP ฝังในอะคริลิกเรซินใสเพื่อเป็นที่ยึดจับ แล้วยึดกับ EMP ด้วยเรซินซีเมนต์ ภายใต้แรงกด 200 กรัม จากนั้นหาค่า SBS ของการยึดติดด้วยเครื่องทดสอบสากล (Instron, model 5583) ความเร็วตัดขวาง 0.2 มม.ต่อนาที . จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบแบบทูกีย์ ได้ดังนี้คือ กลุ่ม FP หรือ AP เมื่อยึดติดกับ EMP นั้น การปรับสภาพผิวของพอร์ซเลนทั้งสองชนิดเพื่อให้เกิดความหยาบ จะให้ค่า SBS ที่สูงกว่าเมื่อปรับสภาพผิวพอซ์เลนเพียงชนิดหนึ่งชนิดใด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ยกเว้น กลุ่ม 11A กับกลุ่ม 11B และกลุ่ม 12A กับกลุ่ม 12B (เมื่อพิจารณาตามการปรับสภาพผิวของ EMP) ที่มีค่า SBS ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และการปรับสภาพผิวเพื่อให้เกิดความหยาบไม่ว่าแบบใดๆ ให้ค่า SBS ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การวิจัยนี้มีข้อแนะนำว่า EMP สามารถใช้ซ่อมแซมชิ้นงานที่พอร์ซเลนแตกได้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to evaluate the shear bond strength (SBS) of high leucite content porcelain (EMP, IPS Empress, Ivoclar) bonded to feldspathic (FP, Vita VMK 95, Vita Zahnfabrik) or aluminous porcelain (AP, Vitadur Alpha, Vita Zahnfabrik) using resin cement (Variolink II, Vivadent) under different surface treatments. 600 EMP discs, 5.5 mm. in diameter and 1 mm. in thickness, were prepared and randomly divided into 5 groups, (120 discs/group); Type A) no surface treatment to be served as a control group; Type B) polished with siliconcarbide paper (3M, USA); Type C) ground with a coarse diamond bur (Jota, Switzerland); Type D) etched with 9.6% HF acid (Porcelain Etch Gel, Pulpdent) for 5 min. and Type E) etched with 1.23% APF gel (Topical Fluoride Gel, Pascal) for 10 min. 300 disce at 15 mm. in diameter and 1.5 mm. in thickness were then made of FP and AP. Sample in each group were randomly divided into 6 groups (50 discs/group), group 1-6 for FP and group 7-12 for AP). Group 1) and 7) type A; Group 2) and 8) type B; Group 3) and 9) type C; Group 4) and 10) sandblasted with 50 mum alumina particles at 0.68 MPa for 20 s; Group 5) and 11) type D and Group 6) and 12) type E. FP and AP discs were embeded in clear acrylic resin blocks and then bonded to EMP discs using resin cement under 200 grams load. All samples were subjected to SBS evaluation using a universal testing machine (Instron, model 5583), crosshead speed 0.2 mm./min. ANOVA and Tukey's statistical analyses were performed on the data and revealed that bonding of FP or AP to EMP under both surface treatments gave a higher significant SBS than other surface treatments (p<0.05) except group 11A, 11B and 12A, 12B of AP and showed no significant difference (p>0.05) between various surface treatments. As a conclusion, EMP is recommended for repairing of porcelain-fractured restorations.en
dc.format.extent4071246 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.381-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectพอร์ซเลนทางทันตกรรมen
dc.subjectเรซินทางทันตกรรมen
dc.subjectพอร์ซเลนเฟลสปาร์en
dc.subjectแรงเฉือน (กลศาสตร์en
dc.titleความแข็งแรงพันธะเฉือนของพอร์ซเลนที่มีลูไซท์ปริมาณสูง ซึ่งยึดติดกับเฟลด์สปาทิกพอร์ซเลน หรืออะลูมินัสพอร์ซเลน ด้วยเรซินซีเมนต์ภายใต้การปรับสภาพผิวต่างกันen
dc.title.alternativeShear bond strength of high leucite content porcelain bonded to feldspathic or aluminous porcelain using resin cement under different surface treatmentsen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมประดิษฐ์en
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKKanchan@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.381-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Boonlert.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.