Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43619
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนาen_US
dc.contributor.advisorโกสุม สายใจen_US
dc.contributor.authorธนียา กิตติสิทโธen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:43:17Z
dc.date.available2015-06-24T06:43:17Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43619
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในการส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานแนวคิดการพึ่งตนเองของชุมชน พัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในการส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานแนวคิดการพึ่งตนเอง และนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานแนวคิดการพึ่งตนเองของชุมชน โดยเลือกกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เป็นชุมชนที่มีความสามารถทางศิลปหัตถกรรม 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านร่าหมาด ชุมชนทะเลน้อย และชุมชนบ้านทอน การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการลงพื้นที่วิจัยภาคสนาม ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก แบบสังเกตภาคสนาม ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานการพึ่งตนเองของชุมชน โดยตรวจสอบรูปแบบและให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้ของชุมชนต้นแบบ ในอดีตมีลักษณะการเรียนรู้ตามธรรมชาติ โดยอาศัยครูพักลักจำ ลอกเลียนวิธีการจักสานลวดลายและรูปแบบ ลักษณะการถ่ายทอดความรู้เป็นแบบมุขปาฐะและการลงมือปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง เนื่องจากศิลปหัตถกรรมจักสานเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตชุมชน การเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในการส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม เริ่มเมื่อชุมชนมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก การผลิตเพื่อใช้ในชุมชนจึงเปลี่ยนไปสู่การผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ซื้อ ชุมชนจึงต้องมีการพัฒนาความสามารถให้ตรงตามเป้าหมายการผลิต ชุมชนบ้านร่าหมาดมีเป้าหมายเพื่อจำหน่ายเป็นรายได้เสริมและการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ชุมชนทะเลน้อยผลิตศิลปหัตถกรรมเป็นอาชีพหลักจึงต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ชุมชนบ้านทอนมีเป้าหมายเพื่อสร้างอาชีพเน้นรูปแบบดั้งเดิมแต่มีความประณีต ทั้ง 3 ชุมชน พึ่งตนเองได้ในการผลิตโดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น ใช้วัตถุดิบการผลิตในพื้นที่ มีการหาความรู้ในการสร้างและพัฒนางานจากภูมิปัญญา ปราชญ์หรือผู้รู้ในท้องถิ่น 2. รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อการเปลี่ยนแปลง ในการส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานแนวคิดการพึ่งตนเองของชุมชน ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ของชุมชน และทรัพยากร ซึ่งส่งผลต่อการกระทำที่เปลี่ยนแปลงไปของชุมชนในการพัฒนาและส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม กระบวนการเรียนรู้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ความตระหนักรู้และเข้าใจสภาพจริง 2) มีเป้าหมายและการกำหนดแนวทาง 3) ปฏิบัติตามเป้าหมาย 4) ทบทวนการปฏิบัติและตรวจสอบผล โดยมีทรัพยากรที่เป็นปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) วัตถุดิบหลักหรือเทคโนโลยีพื้นบ้าน 2) ภูมิปัญญาท้องถิ่นหรือปราชญ์ชาวบ้าน 3) ผู้นำในท้องถิ่น 4) สภาพแวดล้อมชุมชน 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม บนฐานแนวคิดการพึ่งตนเองของชุมชน ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ความสามารถในการผลิตศิลปหัตถกรรมได้ตรงตามความต้องการของตลาดในระดับสากล 2) ส่งเสริมให้มีการตรวจสอบและพัฒนามาตรฐานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน 3) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการผลิตศิลปหัตถกรรมของชุมชน 4) กำกับติดตามกระบวนการพัฒนาความรู้ความสามารถชุมชน เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนามาตรฐานศิลปหัตถกรรมท้องถิ่นen_US
dc.description.abstractalternativeDevelopment learning for change model based on community self-reliance concept is to enhance handicraft ability has 3 objectives. To analyze various aspects of such a model of learning that could enhance handicraft ability further leading to self-reliant communities and present policy recommendations to promote the abilities of handicraft based on community self-reliance concept. The research methodology was divided into three stages. In Stage One, the context of the research was basically studied to create a conceptual framework of learning for change based on community self-reliance. Data were collected from interviews and observations of best practice and resources keeping the conceptual framework into consideration. This included interviews with experts and stakeholders within the community. In Stage Two, it was inquired into the various dimensions of the model of learning for change that aims to develop the handicraft ability with the goal of a self-reliant and sustainable community. Researcher synthesized results and collated the findings of the research that included among other criteria: selecting key informants and experts; in-depth interviews for initiating group discussions. Data collected from the research were subjected to group discussions, observations and analysis with the help of expert views with an aim to verify the information. In Stage Three, policy and operational recommendations were presented. The model developed was checked by the experts and stakeholders comprising members of the community. It further went through the scrutiny of the focus group feedback. The integrated steps were as follows: Stage 1: Self-awareness; Stage 2: Set a Purpose and Goals; Stage 3: Learning and skills practicing; Stage 4: Performance audit planning process. The researchers found that such learning models were appropriate to implement to Crafts Basketry community development. Since it was a product that has the potential to promote community economic development. The development supports the strategic development of community-based, policy, social and economic development in the country.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1087-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectศิลปหัตถกรรม
dc.subjectการเรียนรู้ร่วมกัน
dc.subjectภูมิปัญญาชาวบ้าน
dc.subjectCollaborative learning
dc.subjectLocal wisdom
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางศิลปหัตถกรรมบนฐานแนวคิดการพึ่งตนเองของชุมชนen_US
dc.title.alternativeTHE DEVELOPMENT OF A LEARNING FOR CHANGE MODEL BASED ON COMMUNITY SELF-RELIANCE CONCEPT TO ENHANCE HANDICRAFT ABILITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการศึกษานอกระบบโรงเรียนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwirathep.p@chula.ac.then_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1087-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5184225227.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.