Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43717
Title: | การพัฒนาแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF THE SOURCES OF WORK STRESS SCALE FOR PROFESSIONAL NURSES, TERTIARY HOSPITALS |
Authors: | สุพรรณี พุ่มแฟง |
Advisors: | บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | jenjaisri@gmail.com |
Subjects: | ความเครียดในการทำงาน บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล การประเมินผลงาน Job stress Hospital nursing services Job evaluation |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ 2)เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 430 คน การดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพโดยการทบทวนวรรณกรรม และสร้างเป็นแบบสำรวจรายการที่ก่อให้เกิดความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ แบบมาตรวัดประมาณค่า (Rating scale) 5 ระดับ มีการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ CVI .85 และตรวจค่าความสอดคล้องภายในรวมทั้งฉบับได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค .96 ขั้นตอนที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบความตรงตามโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก ได้องค์ประกอบความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ 7 องค์ประกอบ 39 รายการ และนำรายการความเครียดในงานที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ มีการตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ และวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องภายใน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่าความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพมี 7 ด้านหลักคือ ด้านผู้ป่วยและครอบครัว ด้านสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ด้านพฤติกรรมภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย ด้านโอกาสความก้าวหน้าและและขวัญกำลังใจ ด้านภาระงาน ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน และด้านสัมพันธภาพกับผู้ร่วมงาน มี 39 รายการย่อย มีค่าน้ำหนักตัวประกอบระหว่าง .42-.78 สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 62.02 2. ผลการตรวจสอบความเที่ยงโดยการทดสอบซ้ำด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient ค่า ICC เท่ากับ .85 3. ผลการตรวจสอบความเที่ยงโดยวิเคราะห์ค่าความสอดคล้องคล้องภายในโดยใช้สูตรสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาค ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .96 ผลการตรวจคุณภาพแบบประเมินสามารถสรุปได้ว่าแบบประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลตติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีความตรงตามโครงสร้างและมีความเที่ยง สามารถนำไปใช้ประเมินความเครียดในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลตติยภูมิ |
Other Abstract: | This study aimed to development and psychometric testing of the sources of work stress scale for professional nurses in tertiary hospitals. The study subjects consisted on 430 professional nurses in tertiary hospitals under ministy of public health. The development of the sources of work stress scale was developed in 2 phases. Phase I consisted of developing the sources of work stress scale based on an extensive literature review resulting in the initial draft of the sources of work stress scale, which is a 5-point rating scale consisting of eight subscale with 53 items. Then using a panel of 5 experts to test content validity. The CVI was.85; the Cronbach’s Alpha Coefficient of overall scale was .96. Phase II established the psychometric properties of the scale. Construct validity testing achieved by exploratory factor analysis (EFA) with a varimax rotation. Test-retest reliability were analyzed by Intraclass Correlation Coefficient. Internal consistency reliability using Cronbach’s Alpha Coefficient was finally tested. Research findings were as follows: 1. Factor analysis was performed resulting in 7 dimensions: 1) Patient and family 2) Work life balance 3) Leader behavior 4) Career advancement and morale 5) Workload 6) Work environment 7) Co-workers. Described 39 items, accounted for 62.02 % of total variance. Factor loading were .42-.78. 2. Test-retest validity showed good level (ICC=.85). 3. Internal consistency reliability showed very good level (alpha=.96). Conclusion: The research findings provide strong evidence of validity and reliability of the work stress scale and the research provides appropriate scale for professional nurses, tertiary hospitals, Ministy of public health setting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การบริหารการพยาบาล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43717 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1178 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2013.1178 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5377623436.pdf | 4.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.