Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43728
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวิณี วิวัฒน์วานิชen_US
dc.contributor.authorนิภาพร หลีกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:44:11Z
dc.date.available2015-06-24T06:44:11Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43728
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มที่ใช้การวางแผนจำหน่ายเด็กโรคปอดอักเสบและกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายปกติ เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ดูแล กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลเด็กโรคปอดอักเสบและเด็กโรคปอดอักเสบ จำนวน 30 คน แบ่งเป็น กลุ่มควบคุม 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาการวางแผนจำหน่าย คือ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ แผนอบรมเชิงปฏิบัติการ แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ คู่มือการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบสำหรับผู้ดูแล คู่มือการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบสำหรับพยาบาล แบบกำกับการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแล เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลได้ค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาเท่ากับ.86 และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ.91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Mann – Whitney U-test ผลการวิจัยพบว่า 1. การกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายเด็กโรคปอดอักเสบและกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายปกติไม่แตกต่างกัน 2. ความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบกลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายเด็ก โรคปอดอักเสบสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this quasi experimental research were to study the effects of using a discharge planning on the readmission rate of children with pneumonia and also to determine caregivers’ satisfaction with nursing services at Queen Sirikit National Institute of Child Health. The research subjects consisted of 30 caregivers who care of children with pneumonia .The subjects were assigned to either the experimental group or control group. The research instruments were the training workshop project , the training workshop program, clinical nursing practice guidelines for children with pneumonia , handbooks for caregivers who care for children with pneumonia, observation forms of nursing practice and discharge planning handbooks for nurses.The data collection instruments were readmission records, and questionnaires of caregivers’ satisfaction with nursing services,The Instruments were tested for content validity by five experts, and the validity was .86 The Cronbach’s alpha coefficients were .91 Statistical methods used in the data analysis were percentage, mean, median, and Mann –Whitney Utest. The research findings were as follows: 1. The readmission rate of children with pneumonia in both groups was not significantly different. 2. Caregivers’satisfaction with nursing service in the experimental group was significantly higher than the control group.(p<.05).
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1188-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปอดอักเสบในเด็ก
dc.subjectบริการการพยาบาลของโรงพยาบาล
dc.subjectPneumonia in children
dc.subjectHospital nursing services
dc.titleผลของการใช้การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบต่อการกลับมารักษาซ้ำของผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบและความพึงพอใจของผู้ดูแล สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF USING DISCHARGE PLANNING ON READMISSION OF CHILDREN WITH PNEUMONIA AND CAREGIVERS’ SATISFACTION WITH NURSING SERVICES : QUEEN SIRIKIT NATIONAL INSTITUTE OF CHILD HEALTHen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsuvinee_n@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1188-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5377836836.pdf5.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.