Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43766
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย กาญจนวาสีen_US
dc.contributor.advisorชนาธิป ทุ้ยแปen_US
dc.contributor.authorน้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:44:36Z
dc.date.available2015-06-24T06:44:36Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43766
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบ (2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติของแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (3) เพื่อประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (มัธยมศึกษาปีที่ 1-3) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 1,860 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากการพิจารณาการตอบตามความปรารถนาของสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับเปรียบเทียบคุณภาพของเครื่องมือสร้างจากนิยามทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือ แบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ชนิดมาตรประมาณค่า และชนิดมาตรประมาณค่าเชิงพฤติกรรม โดยประยุกต์แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows, โปรแกรม MULTILOG, โปรแกรม LISREL for Windows และโปรแกรม Microsoft Office Excel ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบที่สร้างขึ้นมีโครงสร้าง 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (10 ข้อ) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (13 ข้อ) และทักษะชีวิตและการทำงาน (19 ข้อ) รวมทั้งสิ้นจำนวน 42 ข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.948 และแบบวัดมีความตรงเชิงโครงสร้าง (chi-square = 44.56, df = 33, p = 0.086, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.021) 2) คะแนนปกติวิสัยของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่วัดจากแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบอยู่ในช่วงเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 0 ถึง 99 และมีช่วงคะแนนทีตั้งแต่ 15 - 82 3) ผลการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่า นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับสูง, ค่อนข้างสูง, ค่อนข้างต่ำ และต่ำ โดยแต่ละระดับมีจำนวน 24.46%, 26.36%, 24.18% และ 25.00% ตามลำดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to: (1) to develop and investigate the quality of 21st century skill scales as perceived by lower secondary school students with applying the test accessibility approach (2) to construct a norms of 21st century skill scales as perceived by lower secondary school students (3) to assess 21st century skill as perceived by lower secondary school students. The sample were 1,860 lower secondary school students selected by multi-stage random sampling and by social desirability score from schools under the jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. The research instrument for comparing the quality of scales which developed from structure that made by Partnership for Century Skills were 21st century skill rating scale and behaviorally anchored rating scale by applying the test accessibility approach. The data were analyzed by the SPSS for windows, MULTILOG, the LISREL program and the Microsoft Office. Major results of the study were as follow: 1) 21st century skill scales as perceived by lower secondary school students which applying the test accessibility approach consisted of three dimensions: learning and innovation skills, information media and technology skills, and life and career skills. The reliability of scale was 0.948. The measurement model of 21st century skill fitted to the empirical data (chi-square = 44.56, df = 33, p = 0.086, GFI = 0.99, AGFI = 0.98, RMSEA = 0.021) 2) The norms of lower secondary school students that calculate from 21st century skill scales were starting from percentile range 0 to 99 and Normal-T value ranged from 15 to 82. 3) The 21st century skill scores of lower secondary school students had high, nearly high, nearly low and low levels. Each level was as follows 24.46%, 26.36%, 24.18% and 25.00%.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1236-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการประเมินผลทางการศึกษา
dc.subjectทักษะการเรียน
dc.subjectEducational evaluation
dc.subjectStudy skills
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต
dc.titleการพัฒนาแบบวัดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ตามการรับรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น: การประยุกต์ใช้แนวคิดการเข้าถึงคุณลักษณะที่มุ่งวัดของแบบสอบen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF 21st CENTURY SKILL SCALES AS PERCEIVED BY LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS: AN APPLICATION OF TEST ACCESSIBILITY APPROACHen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorskanjanawasee@hotmail.comen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1236-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384227727.pdf9.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.