Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสิมันต์ สุนทรไชยาen_US
dc.contributor.authorณัฏฐ์กฤตา เชาวน์วรารักษ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:34Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:34Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43865
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractการวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้า ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย ที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าที่อาศัยอยู่ในชุมชน ที่ให้การดูแลมาเป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือนขึ้นไป ผู้ให้ข้อมูลได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ใช้แนวคำถามแบบกึ่งมีโครงสร้าง ใช้ระยะเวลาในการสัมภาษณ์ 45 -60 นาที และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลได้ให้ความหมายของประสบการณ์ชีวิตในการดูแลผู้สูงอายุโรคซึมเศร้าคือ เป็นการแสดงความห่วงใย และการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ส่วนประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การดำเนินชีวิตอย่างมีข้อจำกัด ประกอบด้วย ขาดการเข้าสังคม มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวัน และมีการปรับตัวในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้ป่วย 2) สิ่งที่ได้จากการดูแล ประกอบด้วย ภูมิใจ สุขใจและรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ท้อแท้ที่ต้องดูแล ความสัมพันธ์ใกล้ชิดเพิ่มขึ้น และ 3) ความคาดหวังและความต้องการของผู้ดูแลวัยสูงอายุ ประกอบด้วย ผู้ดูแลคาดหวังให้ผู้ป่วยมีอาการซึมเศร้าลดลงและมีความสุขเพิ่มขึ้น ส่วนด้านความต้องการ ผู้ดูแลต้องการเวลาพักผ่อนเพิ่มขึ้น โดยมีผู้ช่วยเหลือคอยสลับเปลี่ยนเวลาในการดูแล ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแนวทางการดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าในเรื่องความคาดหวังและความต้องการของผู้ดูแลวัยสูงอายุ รวมทั้งการส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลวัยสูงอายุและผู้ป่วยให้สามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้อย่างปกติen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this qualitative study was to describe lived experiences of elderly caregivers who took care of elderly depressed patients. Ten participants were elderly caregivers who took care of elderly depressed patients in a community for more than six months. These participants were purposively selected with inclusion criteria; they were asked to in-depth interviewed by using semi structured questions for 45-60 minutes. Audio – tape interviews were transcribed verbatim. Data were analyzed using Content analysis. Findings were found that elderly caregivers provided the meanings of lived experiences in caring for elderly depressed patients as concerning experiences and encouraging of each other. Three themes of caring experiences for elderly depressed patients were: 1) Limited lifestyle included lack of social life, changing in daily life, and adaptation to live with the patients, 2) Consequence of caring included being proud, being happy, feeling self-esteem, feeling discourage to care for, increasing closed relationship, and 3) The expectation and needs of elderly caregivers were presented. Elderly caregivers’ expectation included decreasing depressive symptoms and increasing happiness of elderly depressed patients. Regarding elderly caregivers’ needs, having more time to rest by someone who helped to switch the time to care was required. Research conclusion included the foundation of guideline development to improve caregiver’s competence in caring for older persons with depression regarding the expectations and needs of elderly caregivers including promoting the relationship between elderly caregivers and the elderly depressed patients to live for everyday life.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1322-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรคซึมเศร้า -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectผู้ดูแล
dc.subjectผู้สูงอายุ
dc.subjectPsychotic depression -- Patients -- Care
dc.subjectCaregivers
dc.subjectOlder people
dc.titleประสบการณ์ชีวิตของผู้สูงอายุที่ดูแลผู้ป่วยสูงอายุโรคซึมเศร้าen_US
dc.title.alternativeLIVED EXPERIENCES OF ELDERLY CAREGIVERS CARING FOR ELDERLY DEPRESSED PATIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorsrangsiman@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1322-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477305036.pdf3.28 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.