Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43916
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุลen_US
dc.contributor.authorนภัทร ยงบุญธนภัทรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-06-24T06:45:49Z
dc.date.available2015-06-24T06:45:49Z
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/43916
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556en_US
dc.description.abstractบทบาทของแท็บเล็ตเข้ามามีอิทธิพลต่อมนุษย์ทั่วโลกอย่างมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีการประยุกต์ใช้งานแท็บเล็ตในชีวิตประจำวันสำหรับหลากหลายสาขาอาชีพ โดยเฉพาะงานทางด้านวิศวกรรมที่มีการนำแท็บเล็ตมาใช้เพื่อปรับปรุงงาน ดังนั้นลักษณะท่าทางการใช้งานแท็บเล็ตจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสมรรถนะของงาน งานวิจัยนี้จึงประเมินค่าสมรรถนะเพื่อเปรียบเทียบจากท่าทางถือขณะใช้งานแท็บเล็ต 3 ท่าทาง คือ ท่าถือ Clipboard Grip (CG) ท่าถือ Flat Hand (FH) และท่าถือ Thumb Extended with Thenar Support (TE) จากงานการสั่งการบนหน้าจอระบบสัมผัส (Touch Screen) 2 รูปแบบ คือ การแตะสัมผัสเป็นเส้นตรง (Linear Tapping) และการวาดสัมผัสตามแนวรัศมีวงกลม (Radial Dragging) โดยใช้อุปกรณ์นำเข้าข้อมูล 2 ชนิด คือ นิ้วมือ และปากกาดิจิตอล ดำเนินงานต่อเนื่องกันและแบ่งช่วงระยะเวลาการใช้งานออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลาเพื่อศึกษาผลกระทบที่อาจนำไปสู่ความรู้สึกล้าได้ การประเมินสมรรถนะจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human Computer Interaction) อ้างอิงตาม ISO 9241-9 ที่ได้ดำเนินการทดสอบตามแนวคิดของ Fitts’ Law ผลที่ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาการเคลื่อนที่ (Movement Time) และดัชนีความยากของงาน (Index of Difficulty) ผลการทดสอบสถิติพบว่าปัจจัยเรื่องท่าทางการใช้แท็บเล็ตไม่มีผลต่อค่าสมรรถนะที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 จากการดำเนินงานทั้งรูปแบบแตะสัมผัส และวาดสัมผัส แต่มีปัจจัยหลักเรื่องอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลที่มีอิทธิพลสำหรับงานทั้งสองรูปแบบ และปัจจัยหลักเรื่องช่วงเวลาที่มีผลต่อสมรรถนะในการทำงานรูปแบบแตะสัมผัสเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีปัจจัยเรื่องท่าทางถือขณะใช้งานร่วมกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลทั้งสองประเภทที่มีอิทธิพลร่วมกันต่อค่าสมรรถนะในการดำเนินงานรูปแบบนี้ โดยที่การดำเนินงานโดยใช้ท่า FH ร่วมกับการใช้นิ้วมือสัมผัสให้สมรรถนะสูงที่สุด สำหรับการใช้ปากกดิจิตอลเมื่อใช้ร่วมกับท่า TE ให้สมรรถนะสูงกว่าท่าอื่น เมื่อพิจารณาถึงตัวชี้วัดของระยะเวลาการตอบสนองต่องานที่มีดัชนีความยากมากที่สุด (ID3) พบว่ามีเพียงปัจจัยหลักเรื่องอุปกรณ์นำเข้าที่มีอิทธิพลสำหรับงานทั้งสองรูปแบบ สรุปว่าท่าทางการถือขณะใช้งานแท็บเล็ตไม่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะและระยะเวลาในการตอบสนองจากการทำงานทั้งรูปแบบแตะสัมผัสและวาดสัมผัสอย่างมีนัยสำคัญen_US
dc.description.abstractalternativeNowadays, computer tablets play important role in the world of information and technology since it has been applied in various activities. For engineering field, computer tablet is also utilized for variety works. Thus, computer tablet usage conditions directly affect to the performance of related jobs. This study aimed to study the working performance of three different holding of using computer tablet. The using conditions were holding tablet with Clipboard Gripping posture (CG), holding by Flat Hand (FH) and holding as Thumb Extended with Thenar Support (TE). Consequently, each holding performance was measured by studying of linear tapping and radial dragging on the touch screen with difference type of input device (Finger and Digital Pen). Refer to ISO 9241-9, the evaluation of Human Computer Interaction performance is performed by Fitts’ Law concept. Research results from full factorial statistical analysis were shown that the work performance for different holding of using computer tablet were not difference at 0.05 significant levels for both tapping and dragging. The working performance was affected by 2 main factors which were input device for both types of task and holding period for only tapping. Moreover, the interaction between holding posture and input device also influenced tapping performance. Additionally, for tapping and dragging, the movement time of high index of difficulty (ID3) were difference significantly for main factor of input device. In summary, holding posture of using computer tablet did not affected to work performance and movement time significantly.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2013.1372-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์
dc.subjectการวิเคราะห์โดยอุปกรณ์
dc.subjectTablet computers
dc.subjectInstrumental analysis
dc.titleการเปรียบเทียบสมรรถนะของการถือและการใช้งานแท็บเล็ตen_US
dc.title.alternativeWORK PERFORMANCE COMPARISON OF HOLDING AND USING TABLETen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorphairoat@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2013.1372-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5570918521.pdf5.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.