Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44058
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุนิดา ปรีชาวงษ์ | - |
dc.contributor.author | ณันฑิยา คารมย์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-07-17T02:35:28Z | - |
dc.date.available | 2015-07-17T02:35:28Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44058 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การช่วยเหลือให้เลิกสูบบุหรี่เป็นมาตรการสำคัญประการหนึ่งในการควบคุมยาสูบและเป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หากผู้ป่วยเหล่านี้ยังคงสูบบุหรี่ต่อไปอาจทำให้อาการของโรคทรุดลงและเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย การศึกษาแบบสหสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการทำนายของจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกภายหลังตื่นนอน จำนวนครั้งที่พยายามเลิกบุหรี่ การสนับสนุนทางสังคม การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ และความวิตกกังวล/ซึมเศร้าต่อการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน 150 คน ซึ่งรับการรักษาในแผนกผู้ป่วยในอายุรกรรมและได้รับการให้คำปรึกษาจากคลินิกอดบุหรี่ โรงพยาบาลทั่วไป 3 แห่ง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการสูบบุหรี่ แบบประเมินภาวะติดนิโคติน แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกบุหรี่ และแบบประเมินความวิตกกังวล/ซึมเศร้าแบบสอบถามทั้งหมดมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.83 ขึ้นไป และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคระหว่าง .69 - .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ร้อยละ 47.30 สามารถเลิกสูบบุหรี่ได้ในระยะสั้น ปัจจัยที่สามารถทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลิกสูบบุหรี่ (OR = 1.03; 95%CI = 1.01-1.05) ความวิตกกังวล(OR = .86; 95%CI = .74 - .99) ระยะเวลาที่สูบบุหรี่มวนแรกภายหลังตื่นนอน (5 – 30นาที) (OR = 4.38; 95%CI = 1.57-12.23) จำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน (OR=0.11; 95%CI = .02-.55)และการสนับสนุนทางสังคม (OR= 1.10, 95% CI = 1.01-1.20) | en_US |
dc.description.abstractalternative | Offering help to quit smoking is one of the important strategies in tobacco control and also a critical component in caring patients with chronic diseases. If these patients continue to smoke, they would have higher risks of death and disease complications. The purpose of this study was to determine the factors that predict short-term success in smoking cessation among patients with chronic diseases. One hundred and fifty patients being treated in medical units and receiving cessation counseling were purposively selected from three general hospitals. Research instruments were five self-reported questionnaires, consisting of the demographic and smoking data questionnaire, Fagerstrom Test for Nicotine Dependence (FTND), The ENRICHD Social Support Questionnaire, the perceived self-efficacy questionnaire, and the Hospital Anxiety and Depression Scale. All questionnaires have the content validity index values up to 0.83 and the Cronbach's alpha coefficient was .69 .93 .98 and .84 respectively. Data were analyzed using Pearson’s product moment correlation, Chi-square and Logistic regression analysis. The results show that of 150 patients with chronic diseases, 71 (47.30%) reported no smoking over the past seven days at 2 months after hospital discharge. The significant predictors of short-term success in smoking cessation were the patients’ perceived self-efficacy (OR = 1.03; 95%CI = 1.01-1.05), anxiety (OR = .86; 95%CI = .74 - .99), longer time to first cigarette after waking (5 – 30 min) (OR = 4.38; 95%CI = 1.57-12.23), number of cigarettes used per day (OR=0.11; 95%CI = .02-.55), and social support (OR= 1.10; 95% CI = 1.01-1.20). | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.408 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเลิกบุหรี่ | en_US |
dc.subject | ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -- การดูแล | en_US |
dc.subject | Smoking cessation | en_US |
dc.subject | Chronically ill -- Care | en_US |
dc.title | ปัจจัยทำนายการเลิกสูบบุหรี่ในระยะสั้นในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | en_US |
dc.title.alternative | Predictors of short-term smoking cessation among patients with chronic diseases | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | พยาบาลศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | psunida.cu@gmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.408 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
nanthiya_ka.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.