Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44111
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนฤมล อรุโณทัย-
dc.contributor.authorกุณฑี สว่างวงศ์ธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2015-07-23T03:09:59Z-
dc.date.available2015-07-23T03:09:59Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44111-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่มุ่งไปสู่ความทันสมัย แม้ว่าจะทำให้เกิดความก้าวหน้าในหลายด้าน แต่ก็ส่งผลกระทบและก่อให้เกิดปัญหามากมาย จึงมีความพยายามค้นหาทางเลือกใหม่สำหรับการพัฒนา งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นมา การก่อตั้ง เป้าหมาย การดำเนินกิจกรรมของชุมชนทางเลือกและนัยยะที่มีต่อสังคม ซึ่งชุมชนทางเลือกที่ใช้เป็นตัวอย่างในการศึกษา มี 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนอโศก ซึ่งถือเป็นชุมชนที่มีแนวคิดทางศาสนาเป็นแนวคิดหลัก ชุมชนอโศกเริ่มก่อตั้งขึ้นมาในปี พ.ศ.2519 และขยายชุมชนไปถึง 9 แห่งทั่วประเทศ นับว่าเป็นหนึ่งในต้นแบบของปฏิบัติการชุมชนทางเลือกในประเทศไทย และเพื่อให้การศึกษามีความครอบคลุมมากขึ้น จึงเลือกศึกษาชุมชนอาศรมวงศ์สนิท จังหวัดนครนายก ซึ่งเป็นชุมชนที่สมาชิกมุ่งเน้นการใช้ชีวิตเรียบง่าย ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของสมาชิกเพื่อรับใช้และพัฒนาสังคมอีกแห่งหนึ่ง การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกต จากการศึกษาพบว่าปฏิบัติการชุมชนทางเลือกประกอบไปด้วยอุดมการณ์ของชุมชนในการหลีกหนีวิถีทางของการพัฒนากระแสหลัก และมีแนวทางปฏิบัติหรือระเบียบกฎเกณฑ์ร่วมภายในชุมชนเพื่อทำให้ชุมชนสามารถบรรลุเป้าหมายหรืออุดมการณ์ที่ตั้งไว้ ชุมชนทางเลือกในความหมายของชุมชนอุดมคติ และชุมชนแบบจงใจก่อตั้ง (Intentional Community) นั้นให้ความสำคัญกับหลัก “ปฏิบัติการ” และ “แรงจูงใจ/ความตั้งใจ/อุดมการณ์ร่วม” มากกว่าจะเน้นที่การมี “ชุมชน” และ “สมาชิก” ที่ยั่งยืนถาวรสืบต่อเนื่องกันไป ดังนั้น แม้ว่าชุมชนจะมีการขึ้น-ลง เกิด-ดับ มีพลวัตและการปรับเปลี่ยนสมาชิกหรือโครงสร้างชุมชน แต่ก็อาจจะยังรักษาปฏิบัติการไว้เพื่อสร้างความมั่นใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะมีวิถีทางเลือกจากแนวทางการพัฒนากระแสหลัก ชุมชนทางเลือกจึงถือได้ว่าเป็นการสร้างสังคมตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้สังคมภายนอกได้เห็นว่าการใช้ชีวิตที่แตกต่าง และการปฏิบัติตามเป้าหมายนั้นไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ปฏิบัติการชุมชนทางเลือกให้ความสำคัญและพัฒนาคุณภาพของมนุษย์โดยผ่านกระบวนการในชุมชน ปลูกฝังความห่วงใยธรรมชาติและสร้างประโยชน์เพื่อสังคม ปฏิบัติการชุมชนทางเลือกจึงถือเป็นการพัฒนาทางเลือกที่ใช้ชะลอความรุนแรงจากการครอบงำของการพัฒนากระแสหลักได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการเผยแพร่แนวคิดและปฏิบัติการไปสู่วงที่กว้างขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeNational development process focusing on modernization has led to progress in various aspects, yet it has caused negative impact and problems. Therefore, there has been an effort to identify alternative paths of development. This research describes the history of establishment, goals, activities and the implication of alternative communities to the society by using two case studies. The first case is Asoke Communities founded on religious concept and established since 1976. At present, there are nine Asoke communities across the country, so they are considered one of the examples of alternative community in Thailand. The second case is Wongsnit Ashram in Nakhon Nayok Province. This community focuses on living in simplicity, promotes social and spiritual learning and development of its members in order to serve and contribute to the society. The study used qualitative research methods through documentary research, interviews, and field observation. The study found that alternative community in practice is built on communal ideology and on common practices and regulations to fulfill such ideology and to turn away from mainstream development. Alternative community in the sense of ideological community and intentional community puts the emphasis on “practices” and “motivation/intention/common ideology” rather than on having permanent and continual “community” or “members”. Even with dynamism of ups-and-downs and grows-and-gone, or change in members and community structure, they may retain the “practicing” part to ensure the possibility of having alternative path of development. Alternative communities can be regarded as a social example that inspires others to realize that having alternative living and following non-mainstream goals are possible. Alternative communities focus on human development through living and practicing as a community, cultivating members to conserve nature and devote to the betterment of a society. Therefore, alternative communities in practice can help easing social ailments and domineering roles of mainstream development especially if the concept and practices become more widespread.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.427-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพัฒนาแบบยั่งยืนen_US
dc.subjectการพัฒนาชุมชน -- ไทยen_US
dc.subjectSustainable developmenten_US
dc.subjectCommunity development -- Thailanden_US
dc.titleการศึกษาปฏิบัติการชุมชนทางเลือกในบริบทสังคมไทยen_US
dc.title.alternativeThe study of alternative communities in practice in the Thai contexten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศิลปศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพัฒนามนุษย์และสังคมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorhnarumon@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.427-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kunnatee_sw.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.