Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44126
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.authorวนิดา ภู่เอี่ยม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-07-23T07:48:21Z-
dc.date.available2015-07-23T07:48:21Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44126-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับ 2) เพื่อเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงและความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนระหว่างแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับที่มีจำนวนมวลเนื้อหาและจำนวนข้อสอบต่อมวลเนื้อหาที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2550 จำนวน 686 คน และครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ 1 เครื่องมือสำรวจมโนทัศน์เรื่องการบวกเลขจำนวนเต็มลบ ส่วนที่ 2 เครื่องมือวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเป็นแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์ ส่วนที่ 3 เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ของแบบสอบวินิจฉัยโดยใช้วิธีการ คิดออกเสียง (thinking aloud) ส่วนที่ 4 เครื่องมือสำรวจความคิดเห็นในการนำแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับไปใช้ในการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา ความตรง เชิงวินิจฉัย ความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์ ด้านความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ประมาณค่าสัมประสิทธิ์สรุปอ้างอิง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป GENOVA และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.แบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 มวลเนื้อหา มวลเนื้อหาละ 4 ข้อ ตัวลวงเป็นตัวแทนมโนทัศน์การคิดวิชาคณิตศาสตร์เรื่องการบวกเลขจำนวนเต็ม 2.คุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับที่พัฒนาขึ้น มีคุณภาพพิจารณาตามรายข้อ และรายฉบับ พบว่า 2.1คุณภาพรายข้อของแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมและแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับมีค่าเฉลี่ยความยากเท่ากับ 0.63 และ0.53 ค่าเฉลี่ยอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.54 และ0.51 ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในมีค่าเท่ากับ 0.84 และ0.82 ตามลำดับ แสดงว่าแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมง่าย สามารถจำแนกนักเรียนในระดับดี มีความคงที่ในการวัดสูง ส่วนแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับค่อนข้างง่าย สามารถจำแนกนักเรียนในระดับดีมีความคงที่ในการวัดสูง 2.2คุณภาพรายฉบับของแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมและแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับ พิจารณาค่าความตรงตาม เกณฑ์สัมพันธ์ของผลที่ได้จากแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์กับผลการวินิจฉัยด้วยวิธีคิดออกเสียง พบว่า แบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมมีค่าเท่ากับ 0.601 ส่วนแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับมีค่า 0.724 ตามลำดับ แสดงว่าแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับสามารถวินิจฉัยมโนทัศน์ได้ถูกต้องแม่นยำกว่าแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยม พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์อ้างอิงของแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมมีเท่ากับ 0.811 ส่วนแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบสองระดับมีค่าเท่ากับ 0.789 แสดงว่าแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมมีความคงที่ในการวัดสูงกว่าแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับ 3.จากการสัมภาษณ์ครู พบว่าแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมและแบบสองระดับที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปใช้วินิจฉัยมโนทัศน์ของนักเรียน 4.เมื่อเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงสอบของแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์พบว่า แบบประเพณีนิยมมีค่าสูงกว่า แบบสองระดับทุกช่วงมวลเนื้อหา ส่วนความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนของแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมมีค่าต่ำกว่าแบบสองระดับทุกช่วงมวลเนื้อหา แสดงว่าคะแนนที่สังเกตได้ของแบบสอบวินิจฉัยแบบประเพณีนิยมมีความคงที่ใกล้เคียงกับคะแนนจริงมากกว่าคะแนนที่สังเกตได้ของแบบสอบวินิจฉัยแบบสองระดับen_US
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the research were 1) to improve Mathematic Traditional Diagnostic Test and Mathematic Two-Tier Diagnostic Test 2) to compare generalizability coefficient and error variance of the Mathematic Traditional Diagnostic Test and Mathematic Two-Tier Diagnostic Test which had different test items and content mass. The samples were 686 Mathayom 1 students of Bangkok educational service area in the educational year 2007 and 8 mathematic teachers teaching in Mathayom 1. The research instruments were divided into four parts as follows: 1) sum of integer misconceptual survey 2) Mathematic Diagnostic Test for diagnosis inconsistent concept 3) the tool for checking quality of criterion-related validity of diagnostic test by using Thinking Aloud method 4) questionnaire about using Mathematic Traditional Diagnostic Test and Mathematic Two Tier Diagnostic Test to diagnose inconsistent concept. Data were analyzed by using basic statistics and checking the quality of three dimensions; criterion-related validity, estimate validity, and generalization coefficient by using GENOVA. The findings were as follows: 1.Improved Mathematic Traditional Diagnostic Test and Two-Tier Diagnostic Test consisted of three content mass. Each one was included three items. The delusion was the represent of the Mathematic Thinking Concept in sum of integer. 2.The quality of Improved Mathematic Traditional Diagnostic Test and Two-Tier Diagnostic Test were as follows; 2.1The average of difficulty of Traditional Diagnostic Test and Two-Tier Diagnostic Test were 0.63 and 0.53 respectively. The average of discrimination were 0.54 and 0.51 respectively. Internal correlation reliability were 0.84 and 0.82 respectively. The results showed that Traditional Diagnostic Test was easy, good discriminated and high stability in measurement. Two-Tier Diagnostic Test was rarely easily, good discriminated and high stability in measurement. 2.2The criterion-related validity of the Mathematic Diagnostic Test results and Thinking Aloud Method Diagnostic results was 0.601 and 0.724 respectively and indicated that Two-Tier Diagnostic Test was more precise and accurate than Traditional Diagnostic Test. The generalizability coefficient of Mathematic Traditional Diagnostic Test was 0.811 whereas Two-Tier Diagnostic Test was 0.789. The results indicated that Traditional Diagnostic Test was more stablility in measurement than Two-Tier Diagnostic Test. 3.Interviewing with teachers, the results showed that Improved Mathematic Diagnostic test and Two Tier Diagnostic test were appropriate and potential to use for diagnosis students’ concepts. 4.Comparing generalizability coefficient, Traditional Diagnostic test was higher than Two Tier Diagnostic Test in every levels of content mass. Moreover, the content error variance of Mathematic Traditional diagnostic test was lower than Two Tier Diagnostic test in every levels of content mass.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.988-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอนen_US
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษาen_US
dc.subjectMathematics -- Study and teachingen_US
dc.subjectEducational tests and measurementsen_US
dc.titleการเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงและความแปรปรวนของความคลาดเคลื่อนระหว่างแบบสอบวินิจฉัยวิชาคณิตศาสตร์แบบประเพณีนิยมกับแบบสองระดับen_US
dc.title.alternativeA comparison of generalizability coefficient and error variance between traditional and two-tier diagnostic tests in mathematicsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.988-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wanida_Bh.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.