Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4414
Title: ผลของการจัดกิจกรรมความรู้ทางกายภาพตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะ
Other Titles: The effect of the constructivist based physical knowledge activities organization on science concepts of toddlers
Authors: ธิดา ภูประทาน
Advisors: อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Udomluck.K@Chula.ac.th
Subjects: ทฤษฎีสรรคนิยม
การศึกษาปฐมวัย
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
พัฒนาการของเด็ก
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมความรู้ทางกายภาพตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีต่อมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน เป็นเด็กวัยเตาะแตะที่มีอายุระหว่าง 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้เวลาในการสอน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะ ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. หลังการจัดกิจกรรมความรู้ทางกายภาพตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มทดลองสูงกว่า มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. หลังการจัดกิจกรรม ความรู้ทางกายภาพตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ คะแนนแต่ละมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มทดลอง สูงกว่าคะแนนแต่ละมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กวัยเตาะแตะกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: To study the effect of the constructivist based physical knowledge activities organization on science concepts of toddlers. The subjects were thirty toddlers age 2 1/2 to 3 years old, devided into experimental group and control group by simple random sampling. Duration of the research was 8 week. The research instrument was Science Concepts of Toddlers Test. The research results were as follows: 1. After participating in the constructivist based physical knowledge activities, the science concepts of the experimental group were significantly higher than the control at the .01 level. 2. After participating in the constructivist based physical knowledge activities, the scores of each science concepts of the experimental group were significantly higher than the control group at the .01 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4414
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.478
ISBN: 9743338616
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.478
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thida.pdf6.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.