Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44201
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล-
dc.contributor.authorเปี่ยมสุข สนิท-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-07-29T07:39:19Z-
dc.date.available2015-07-29T07:39:19Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44201-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en_US
dc.description.abstractจังหวัดปทุมธานีตั้งอยู่ทางเหนือของกรุงเทพมหานครตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของภาคมหานครที่ขยายตัวตามแกนถนนสายหลักซึ่ง McGee เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า Desakota ลักษณะเด่นที่สำคัญของพื้นที่ดังกล่าวนี้ คือ มีการใช้ที่ดินผสมผสานระหว่างการใช้ที่ดินเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรและกิจกรรมนอกภาคเกษตรปะปนกันอย่างหนาแน่น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดปรากฏการณ์เพื่อศึกษาว่าลักษณะความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองที่เกิดจากกระบวนการผลิตของหน่วยผลิตด้านอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ชนบทของจังหวัดปทุมธานี พื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของอภิมหานครกรุงเทพ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเชื่อมโยงทางการผลิตไปข้างหน้าและข้างหลัง (Forward and Backward Production Linkages) ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรม เป็นอย่างไร โดยอาศัยการใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่าหน่วยผลิตขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทของพื้นที่ขยายตัวด้านเหนือของอภิมหานครกรุงเทพมีความเชื่อมโยงด้านการผลิตกับเมืองหลัก คือ กรุงเทพมหานครมากที่สุด ในขณะเดียวกัน ผลการศึกษายังพบอีกว่า มีความเชื่อมโยงกับเมืองในพื้นที่ศึกษาเอง ได้แก่ เมืองรังสิต เมืองปทุมธานีและคลองหลวง ซึ่งเป็นเมืองในแกนถนนพหลโยธิน หรือพื้นที่ตามแนวขยายตัวของอภิมหานครกรุงเทพทางด้านเหนือไปจนถึงบางส่วนของจังหวัดอยุธยา นอกจากนี้ พื้นที่ตามแนวการขยายตัวของกรุงเทพมหานครทางด้านตะวันออกก็มีความสำคัญต่อหน่วยผลิตในพื้นที่ศึกษาเช่นเดียวกัน เริ่มตั้งแต่พื้นที่ในจังหวัดสมุทรปราการ ชลบุรี ไปจนถึงจังหวัดระยอง จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ความเชื่อมโยงที่เกิดจากหน่วยผลิตขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทของปทุมธานีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภาคมหานครที่ขยายตัวทางด้านแกนเหนือนั้นมีความเชื่อมโยงกันภายในพื้นที่ภาคมหานครที่ขยายตัวทั้งภายในแกนเหนือเองและแกนตะวันออก ผลจากการศึกษานำมาสู่ข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการพื้นที่ขยายตัวของภาคมหานครให้สอดคล้องตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในด้านการควบคุมการกระจายตัวของโรงงานอุตสาหกรรม การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน และการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญกับหน่วยผลิตในท้องถิ่น รวมไปถึงการนำศักยภาพความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองที่เกิดขึ้นจากการผลิตด้านอุตสาหกรรมระหว่างแกนทั้งสองนี้มาพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาภาคดังกล่าวนี้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativePathum Thani, located directly north of Bangkok along the Highway no.1 (Phaholyothin Road), is a part of the extended metropolitan region along main roads. According to McGee, this area is called 'Desakota zone'. One of the characteristics of the Desakota zone is that there are intensely mixed land uses between agricultural and non-agricultural activities. The objective of the research is to study on the linkages between rural and urban areas which are effects of the production of small-scale manufacturing in rural Pathum Thani, based on the Forward and Backward Production Linkages concept. A survey is conducted using questionnaire and interview methods to gather data from entrepreneurs in the study area. The research finds that the rural small-scale manufacturing in the Northern Extended Bangkok Metropolitan Region mostly relate to the major city, Bangkok. In addition, there are other linkages between other cities located along the Phaholyothin Road, such as Ransit, Muang Pathum Thani, and Khong Luang. These cities are in the Desakota zone which extended to some parts of Phra Nakhorn Sri Ayuttaya. Furthermore, the study finds that the Eastern Extended Bangkok Metropolitan Region along Bangna-Trad Road, covering Samut Prakan, Chon Buri, and Rayong provinces, is considerably significant to the rural small-scale manufacturing as well. As a result, it is concluded that the rural-urban linkages pertaining to rural small-scale manufacturing in the study area has a connection with both the Northern Extended Bangkok Metropolitan Region and the Eastern Extended Bangkok Metropolitan Region. It is suggested that there should be strategic plans for the administrative management of the extended metropolitan regions based on current trends in term of to control the industrial distribution, the infrastructure development and to promote the important local manufacturing. Also, the potential of rural-urban linkages pertaining to manufacturing in both regions can be a guideline in order to efficiently develop a policy framework for the extended metropolitan region in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1107-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเกิดเป็นเมือง -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectการใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectธุรกิจขนาดย่อม -- ไทย -- ปทุมธานีen_US
dc.subjectUrbanization -- Thailand -- Pathum Thanien_US
dc.subjectLand use, Urban -- Thailand -- Pathum Thanien_US
dc.subjectSmall business -- Thailand -- Pathum Thanien_US
dc.titleความเชื่อมโยงระหว่างชนบทและเมืองในพื้นที่ขยายตัวของอภิมหานครกรุงเทพ ของอุตสาหกรรมขนาดเล็กในชนบท : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานีen_US
dc.title.alternativeRural-urban linkages pertaining to rural small-scale manufacturing in Bangkok mega-urban region : a case study of Pathum Thani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDaranee.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1107-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peamsook_Sa.pdf27.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.