Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44496
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorทิพวรรณ ธราภิวัฒนานนท์en_US
dc.contributor.authorขวัญชนก ตัณฑเศรษฐีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:21Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:21Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44496
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractฟลูออไรด์เป็นสารที่ได้รับการยอมรับว่ามีส่วนช่วยในการป้องกันฟันผุ ปัจจุบันในประเทศไทยมียาสีฟันที่มีความเข้มข้นของฟลูออไรด์แตกต่างกัน บางชนิดได้เพิ่มสารชนิดอื่น เช่น ไซลิทอล และแคลเซียมแลคเตต เป็นต้น เพื่อหวังเพิ่มประสิทธิภาพของยาสีฟัน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ผสมไซลิทอล ยาสีฟันที่มีแคลเซียมแลคเตตผสมไซลิทอล ต่อรอยโรคฟันผุระยะเริ่มแรกบนผิวเคลือบฟันน้ำนม โดยการใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตรวิเคราะห์ค่าความหนาแน่นแร่ธาตุและความลึกรอยโรคฟันผุระยะแรกในฟันน้ำนมจำนวน 50 ซี่ซึ่งผ่านเกณฑ์คัดเข้า นำมาตัดให้เหลือผิวเคลือบฟันขนาด 1.5x1.5 มิลลิเมตร ทำให้เกิดรอยโรคฟันผุระยะแรกที่มีความลึก 100-150 ไมโครเมตร หลังจากนั้นนำไปผ่านการเลียนแบบสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาวะความเป็นกรดด่างในช่องปากเป็นเวลา 7 วัน โดยมียาสีฟันกลุ่มทดลองคือ ยาสีฟันฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน (โคโดโมไลออนเจล) ยาสีฟันฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนผสมไซลิทอล (โคโดโมไลออนไซลิทอลพลัส) ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วน (คอลเกตออริจินัล) ยาสีฟันแคลเซียมแลคเตตผสมไซลิทอล (โอเมกคิดส์) และมีกลุ่มควบคุมคือ น้ำลายเทียม เปรียบเทียบค่าความหนาแน่นแร่ธาตุและความลึกของรอยผุระยะแรก ก่อนและหลังการทดลองโดยใช้การวิเคราะห์สถิติค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน (Paired T-test) เปรียบเทียบร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นแร่ธาตุ และความลึกของรอยโรคฟันผุระยะแรกระหว่างกลุ่มโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (one way ANOVA) โดยใช้ระดับนัยสำคัญที่ร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่ายาสีฟันทุกชนิดไม่สามารถส่งเสริมการคืนกลับแร่ธาตุสู่รอยโรคฟันผุระยะแรกได้ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของร้อยละการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นระหว่างกลุ่มยาสีฟัน (P=0.990) แต่พบความแตกต่างของร้อยละการเปลี่ยนแปลงความลึกของรอยโรคฟันผุระยะแรกระหว่างยาสีฟันฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนและน้ำลายเทียม (P=0.040) การศึกษานี้พบว่ายาสีฟันฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วน มีแนวโน้มทำให้รอยโรคฟันผุระยะแรกดำเนินไปน้อยกว่ายาสีฟันฟลูออไรด์ 500 ส่วนในล้านส่วนผสมไซลิทอล ยาสีฟันฟลูออไรด์ 1000 ส่วนในล้านส่วนและยาสีฟันแคลเซียมแลคเตต ตามลำดับ แต่อย่างไรก็ดีไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อวัดค่าด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ระดับไมโครเมตรภายใต้สภาวะที่กำหนดen_US
dc.description.abstractalternativeFluoride is the most effective agent for caries prevention. In Thailand, there are many types of dentifrice that contain various concentrations of fluoride with additional ingredients, such as xylitol and calcium lactate. The aim of this study was to evaluate the effect of fluoridated dentifrices with and without xylitol by micro-CT: 1000 ppm SMFP (Colgate&reg; Original), 500 ppm NaF (Kodomo Lion&reg; Gel), 500 ppm NaF with xylitol (Kodomo Lion&reg; Xylitol Plus) and Calcium lactate with xylitol (Omeg Kids&reg;) on early enamel lesion of primary teeth in vitro. Fifty primary tooth samples were covered with a nail varnish (Revlon&reg;, USA), leaving 1.5x1.5 mm window, then immerse in demineralizing solution No.1 for 48 hours to produce artificial carious lesions 100-150 micrometer deep, then randomly divided into five groups (artificial saliva as control group), and finally underwent 7-day pH-cycling at 37˚C. Micro-CT was used to evaluate mineral density and lesion depth before and after pH-cycling. The results were analyzed using Paired t-test and One-way ANOVA test. The mineral density of all tooth samples were significantly decrease after creating artificial carious lesion (p<0.001). The percentage change of mineral density among groups was not significantly different after treated with tested dentifrice (P=0.990). The mean lesion depth of all tooth samples were significantly increase after 7-day pH-cycling (p<0.001). The percentage change of lesion depth of 500 ppm NaF was significantly different from control group (P=0.040). In conclusion fluoridated dentifrice 500 ppm NaF without xylitol tended to inhibit further demineralization better than 500 ppm NaF with xylitol, 1000 ppm SMFP, calcium lactate with xylitol and artificial saliva, respectively.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.517-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectยาสีฟัน
dc.subjectไซลิทอล
dc.subjectฟลูออไรด์
dc.subjectฟันผุในเด็ก
dc.subjectฟันผุ -- การป้องกัน
dc.subjectDentifrices
dc.subjectXylitol
dc.subjectFluorides
dc.subjectDental caries in children
dc.subjectDental caries -- Prevention
dc.titleผลของยาสีฟันที่มีส่วนผสมของไซลิทอล ต่อการคืนแร่ธาตุสู่รอยโรคจำลองบนฟันน้ำนมในห้องปฏิบัติการen_US
dc.title.alternativeEFFECT OF XYLITOL-CONTAINING DENTIFRICES ON REMINERALIZATION OF ARTIFICIAL LESION IN PRIMARY TEETH : IN VITRO STUDYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorthipawan.t@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.517-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5475805032.pdf4.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.