Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44497
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนรลักขณ์ เอื้อกิจen_US
dc.contributor.authorกัญญ์ญาภัค ผาสุขen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:21Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:21Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44497
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วต่อระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม ที่ได้รับการใช้เครื่องช่วยหายใจและเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 22 ราย โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง ระดับความรุนแรงของโรค (APACHAE score II) การวินิจฉัยโรคเบื้องต้น และระดับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็ว ที่ผู้วิจัยประยุกต์มาพัฒนาโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ ตามแนวคิดการเคลื่อนไหวร่างกายของ Perme และ Chandrashekar (2009) ประกอบด้วยกิจกรรม 3 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 การเคลื่อนไหวบนเตียง ระดับที่ 2 การเคลื่อนไหวข้างเตียง ระดับที่ 3 การก้าวเดิน โปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThis quasi- experimental research aimed to test the effect of the Early Mobilization Program on duration of mechanical ventilation in critically ill medical patients. The subjects were critically-illed medical patients admitted in medical intensive care unit at Thammasat University hospital. The subjects were arranged into a control group, and an experimental group. There were 22 subjects in each group. The groups were matched in terms of severity of illness (APACHAE score II), primary diagnosis and performance in activities of daily living. The control group received conventional, while the experimental group received three-level activities of Early Mobilization Program. The Program has three levels: (1) bed mobility, (2) bedside mobility, amd (3) walking to bedside chair. The program was validated by panel of experts . The content validity index was .80. The data were analyzed using percentage, means, standard deviation, Chi-square, and t-test. Major finding was as follow: Duration of mechanical ventilation of the experimental group was significantly less than that of the control group at the level of .05.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.518-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยหนัก -- การดูแล
dc.subjectการดูแลขั้นวิกฤต
dc.subjectเครื่องช่วยหายใจ
dc.subjectCritically ill -- Care
dc.subjectCritical care medicine
dc.subjectRespirators (Medical equipment)
dc.titleผลของโปรแกรมการเริ่มเคลื่อนไหวร่างกายโดยเร็วต่อระยะเวลาในการใช้เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF EARLY MOBILIZATION PROGRAM ON DURATION OF MECHANICAL VENTILATION IN CRITICALLY ILL MEDICAL PATIENTSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorNoraluk.U@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.518-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477152236.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.