Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44499
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวาสินี วิเศษฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorศรญา ยังเจริญen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:22Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:22Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44499
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพการดูแลตามรับรู้ของญาติผู้ป่วยวิกฤตระหว่างการพยาบาลปกติ และการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ และเปรียบเทียบความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพระหว่างการพยาบาลปกติ และการใช้รูปแบบการพยาบาลเจ้าของไข้ กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม 1) ญาติผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 20 คน และกลุ่มทดลอง 20 คน ได้รับการคัดเลือกโดยการจับคู่ เพศ อายุ กลุ่มโรค APACHE II score ของผู้ป่วยเป็นตัวกำหนด 2) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตจำนวน 20 คน ได้รับการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้ในหอผู้ป่วยวิกฤต ประกอบด้วย คู่มือพยาบาลเจ้าของไข้สำหรับพยาบาลหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมซึ่งสร้างและพัฒนาโดยผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามคุณภาพการดูแลตามการรับรู้ของญาติผู้ป่วยวิกฤต ผู้วิจัยสร้างและปรับปรุงตามแนวคิดของ Attree (1993) และ2) แบบสอบถามความพึงพอใจพยาบาลวิชาชีพผู้วิจัยสร้างและปรับปรุงตามแนวคิดของ Eriksen (1987) & Kritsotakis, et. al. (2010) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ทดสอบค่า CVI ได้เท่ากับ .90 และ .88 ตามลำดับ และทดสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .89 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพการดูแลตามรับรู้ของญาติผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโดยรวมทุกด้านจากการใช้รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้สูงกว่าการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรมโดยรวมทุกด้าน หลังใช้รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้สูงกว่าการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05en_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this experimental research were to compare the quality of care as perceived by relatives with non-using primary nursing and using primary nursing for medical intensive patients and compare nurse's satisfactions with non-using primary nursing and using primary nursing for medical intensive patients. The research samples were the 40 relatives of medical intensive patients. They were divided into 2 groups, 20 relatives of medical intensive patients for experimental groups and 20 relatives of medical intensive patients for control groups. These 2 patients groups were matched with sex, age, diagnosis and APACHE II score, and 20 intensive nurses selected by purposive sampling. The research instruments were consisted of program of primary nursing for medical intensive care units and primary nursing handbook which, was created and developed by the researcher. The data were obtained by questionnaire of quality of care as perceived by relatives according to Attree (1993) and questionnaire of nurses' satisfactions according to Eriksen (1987) & Kritsotakis, et al. (2010) was appriately applied with the context. All instruments were confirmed by the five experts and test for content validity index was .90 and .88. Reliability of the questionnaire was tested by Cronbach's alpha coefficient and value was .89 and .88. The data were analyzed using mean, standard deviation and t-test. The result of this study revealed that 1. Quality of care as perceived by relatives medical intensive care units, whom using the primary nursing, was significantly higher than the intensive patients, who did not used primary nursing at the level .05 2. Nurses' satisfactions medical intensive care units, whom using the primary nursing, was significantly higher than the intensive patients, who did not used primary nursing at the level .05en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.519-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพยาบาลเจ้าของไข้
dc.subjectการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต
dc.subjectพยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectPrimary nursing
dc.subjectIntensive care nursing
dc.subjectNurses -- Job satisfaction
dc.titleผลของการใช้รูปแบบพยาบาลเจ้าของไข้ต่อคุณภาพการดูแลตามการรับรู้ของญาติผู้ป่วยวิกฤตและความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพen_US
dc.title.alternativeEFFECTS OF PRIMARY NURSING MODEL ON QUALITY OF CARE AS PERCEIVED BY RELATIVES AND NURSES' SATISFACTIONS, MEDICAL INTENSIVE CARE UNITSen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSasinee.W@Chula.ac.th,wwasinee.w@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.519-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477189536.pdf5.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.