Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44503
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญาen_US
dc.contributor.authorจงลักษณ์ ทวีแก้วen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:24Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:24Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44503
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม การจัดการตนเอง กลวิธีการเผชิญปัญหา ความร่วมมือในการใช้ยา กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ และโรงพยาบาลสุรินทร์ จำนวน 150 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินการจัดการตนเอง แบบประเมินกลวิธีการเผชิญปัญหา แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยา และแบบประเมินภาวะซึมเศร้า ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและนำเครื่องมือไปทดลองใช้ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .93, .74, .92, .67 และ .81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติไควสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีคะแนนภาวะซึมเศร้าเฉลี่ยเท่ากับ 16.36 (SD=7.89) กล่าวคือ มีภาวะซึมเศร้า 73 คน (48.7%) และไม่มีภาวะซึมเศร้า 77 คน (51.3%) เพศ สถานภาพสมรส ระยะเวลาการป่วย ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของโรคเบาหวาน และระดับ HbA1C ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนรายได้ การสนับสนุนทางสังคม การจัดการตนเอง และกลวิธีการเผชิญปัญหา มีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r=-.277,-.477,-.275 และ -.344 ตามลำดับ) ส่วนความร่วมมือในการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะซึมเศร้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.196)en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to investigate the relationships among personal factors, illness factors, social support, self-management, coping, medication adherence, and depression in adult patients with type 2 diabetes in lower northeastern region. The subjects were 150 persons with type 2 diabetes and were selected by a purposive sampling. The instruments for data collection questionnaire consisted of the demographic data, the Enrich Social Support, the Summary of Diabetes Self-care Activities for self-management of diabetes, the Coping Strategies Inventory, the Morisky Medication Adherence scale, and the Center for Epidemiologic Studies-Depression Scale. The instruments were tested for content validity by a panel of experts. The internal consistency reliability for each questionnaire tested by Cronbach's alpha were .93, .74, .92, .67, and .81, respectively. Data were analyzed by using means, standard deviations, Pearson’s production-moment correlation and Chi-square. Study findings revealed that the patients with type 2 diabetes had depression with mean score that equal to 16.36 (SD=7.89) that depression 73 persons (48.7%) and non depression 77 persons (51.3%). There were not correlation between gender, status, complications, HbA1C and depression in patients with type 2 diabetes. There were negatively statistical correlation between income, social support, self-management, coping and depression at the level of .01 (r=-.277,-.477,-.275, and -.344, respectively). The medication adherence and depression were negatively statical correlation at the level of .05 (r=-.196)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.523-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน -- ผู้ป่วย -- การดูแล
dc.subjectเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.subjectNon-insulin-dependent Diabetes -- Patients -- Thailand, Northeastern
dc.subjectNon-insulin-dependent Diabetes -- Patients -- Care
dc.subjectNon-insulin-dependent Diabetes
dc.subjectDepression
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านความเจ็บป่วย การสนับสนุนทางสังคม การจัดการตนเอง กลวิธีการเผชิญปัญหา ความร่วมมือในการใช้ยา กับภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างen_US
dc.title.alternativeRELATIONSHIPS AMONG PERSONAL FACTORS, ILLNESS FACTORS, SOCIAL SUPPORT, SELF - MANAGEMENT, COPING, MEDICATION ADHERENCE, AND DEPRESSION IN PATIENTS WITH TYPE 2 DIABETES, LOWER NORTHEASTERN REGIONen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.523-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5477217436.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.