Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44525
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์en_US
dc.contributor.authorอรทัย ชวนนิยมตระกูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:29:36Z
dc.date.available2015-08-21T09:29:36Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44525
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กป่วยเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยใน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง อายุ 8-12 ปี จำนวน 10 คน ที่รักษาตัวอยู่ในหอพักผู้ป่วยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ เกมกระดานศิลปะซึ่งพัฒนามาจากทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ ทฤษฎีการเห็นคุณค่าในตนเอง แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของคูเปอร์สมิธ แบบสำรวจภูมิหลัง แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Wilcoxon Signed Rank-Test ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังหลังการทดลองกิจกรรมเกมกระดานศิลปะระดับการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ ข้อค้นพบจากการวิจัย กิจกรรมศิลปะจากเกมกระดานสามารถช่วยตอบสนองต่อลำดับขั้นความต้องการขั้นพื้นฐาน โดยจัดให้ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังได้ใช้ความสามารถ และมีโอกาสช่วยเหลือผู้อื่น ซึ่งสามารถส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าของตนเอง และกิจกรรมศิลปะที่มีความเหมาะสมและผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังมีความพึงพอใจ คือ การระบายสี ปั้นดินน้ำมัน และวาดภาพ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีคุ้นเคย ไม่ยุ่งยากซับซ้อนและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและจิตใจของเด็กen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the type and quality of art activities which properly and satisfied for the chronically ill children and study the result of art activities to enhance self-esteem of them. The sample of the study was 10 chronically ill in-patient children at Queen Sirikit National Institute of Child Health. The research instruments were board game referring to Maslow’s hierarchy of needs theory and Coopersmith' s self-esteem theory, background and type of art satisfied inventory, Self-Esteem Inventory, the observation inventory, and the questionnaires. The obtained data were analyzed into frequency distribution, percentage, mean, standard deviations compare means and Wilcoxon Signed Rank-Test. The research found that the self-esteem of chronically ill in-patient children after participating in the board game art activities were increase at the .05 level of significance which conform to hypothesis of research. The research of art activities board game could help chronically ill children to fulfill the hierarchy of needs. Providing them an opportunity to use ability and help others could raise awareness of their self-value. The art activities that were found suitable to be used with chronically ill children were painting, clay modeling, and drawing. The patients were satisfied with these activities because they were familiar, not complicated, and not harmful to their physically and mentally.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.542-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรัง -- นันทนาการ
dc.subjectความนับถือตนเองในเด็ก
dc.subjectศิลปกรรมของเด็ก
dc.subjectChronically ill children -- Recreation
dc.subjectSelf-esteem in children
dc.subjectChildren's art
dc.titleการศึกษาผลการจัดกิจกรรมศิลปะเพื่อเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กป่วยเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยในen_US
dc.title.alternativeA STUDY OF EFFECTS OF ORGANIZING ART ACTIVITIES TO ENHANCE SELF-ESTEEM OF CHRONICALLY ILL IN-PATIENT CHILDRENen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineศิลปศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorpoonarat.p@chula.ac.th,ppoonarat@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.542-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5483470727.pdf7.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.