Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44596
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์en_US
dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ เหล่าอิ่มจันทร์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-08-21T09:30:17Z-
dc.date.available2015-08-21T09:30:17Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44596-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractอัตราการขยายตัวของประชากรโลกหรือแม้แต่ประชากรไทยเองนั้น มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับความต้องการใช้ทรัพยากรและความต้องการด้านที่อยู่อาศัย ส่งผลให้สภาพแวดล้อมเกิดความเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต อุณหภูมิและปัญหามลภาวะเพิ่มสูงขึ้นในเขตเมืองทำให้สภาพแวดล้อมภายนอกไม่เหมาะกับการอยู่อาศัย และไม่สามารถนำอิทธิพลของสภาพแวดล้อมภายนอกมาใช้ปรุงแต่งสภาพแวดล้อมภายในอาคารให้อาศัยอยู่อย่างสบายได้ อาคารในปัจจุบันกลับเน้นการออกแบบที่เปิดช่องเปิดของตัวอาคารด้วยกระจกมากขึ้น จากความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่ต้องการความรู้สึกโปร่ง ได้รับแสงสว่างจากธรรมชาติ รับรู้สภาพแวดล้อมภายนอก อีกทั้งสามารถควบคุมอากาศภายในอาคารได้ แต่ผู้ใช้งานส่วนใหญ่กลับยังไม่เข้าใจการใช้กระจกของช่องเปิด ทำให้ภาระการทำความเย็นของอาคารเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากกระจกให้พลังงานแสงสว่างผ่านและเปลี่ยนเป็นความร้อนสะสมอยู่ภายในอาคารเกิดเป็นสภาวะเรือนกระจก เครื่องมือที่ช่วยในการเลือกใช้กระจกให้เหมาะสมในปัจจุบันนั้นมีน้อยและใช้งานยาก หรือแม้แต่ข้อมูลจากผู้ผลิตกระจกเองเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ยากต่อการนำไปช่วยในการเลือกใช้งานกระจกให้เหมาะสมกับภาระการทำความเย็น ซึ่งต้องใช้ความรู้ในการคำนวณอย่างมาก หากมีเครื่องมือหรือโปรแกรมที่สามารถระบุได้ว่ากระจกที่ติดตั้งในแต่ละทิศทำให้เกิดค่าภาระการทำความเย็นเท่าใด ก็สามารถเข้าใจถึงความแตกต่างของกระจกแต่ละชนิด และสามารถเลือกติดตั้งกระจกในทิศที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่นภาระการทำความเย็นที่เกิดขึ้น 1 ตันแอร์นั้นเท่ากับการติดตั้งกระจกใส 6 มม. จำนวน 9.30 ตารางเมตร หรือเทียบเท่ากับการติดตั้งกระจกฉนวนควบคุมแสงอาทิตย์จำนวน 19.31 ตารางเมตร ซึ่งทำให้ทราบว่ากระจกใสเกิดค่าภาระการทำความเย็นที่มากกว่าประมาณ 2 เท่า ทำให้สามารถเปรียบเทียบคุณสมบัติของกระจกแต่ละชนิดได้เข้าใจมากขึ้น อีกทั้งหากมีแนวทางในการเลือกใช้กระจกที่ทำให้ให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกสบายร่วมด้วยก็จะเป็นการเพิ่มคุณค่าของการเลือกใช้ให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้นหากผู้เลือกใช้มีเครื่องมือคำนวณภาระการทำความเย็นที่ใช้งานง่ายและมีแนวทางการเลือกใช้กระจกอย่างเหมาะสม จะเป็นการดีกับผู้อยู่อาศัยและท้ายที่สุดก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากกับพลังงานที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคตอีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เขียนโปรแกรมการคำนวณโดยคอมพิวเตอร์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ออกแบบหรือเจ้าของอาคารให้สามารถกำหนดพื้นที่ช่องเปิดที่เหมาะสมและประหยัดพลังงานen_US
dc.description.abstractalternativeThe rate of the world’s population including Thailand has been continuously increasing along with the need for resources and habitats. This has led to the changing of the environment, higher temperature, and pollution, which are not appropriate for living conditions. Moreover, the outdoor environment cannot be used to enhance the appropriate living condition of the indoor environment. Nevertheless, modern buildings at present focus on open design with glass as the inhabitants need open space, natural light and the feeling of the outside atmosphere. Also, indoor ventilation can be controlled. However, the designers do not always understand that open space with glass will increase the costs associated with air-conditioning since light passes through the glass and is then changed into heat trapped inside the building, leading to the greenhouse effect. Glass manufacturer preliminary data are difficult for designer and owner. Calculating software as design tool helps designer and owner to select the appropriate glass. This software can determine whether the installed glass in each direction, causing how much cooling load. Designer can understand the different types of glass and the appropriate direction. For example, the cooling load occurs 1 ton of air is equal to installing 9.3 square meter of 6 mm. glass requires a ton of air-conditioning to cool space, which has the same load to 19.31 square meter of insulated glass. Therefore, designer can explore design alternative of various glass and its area to fit as well as design concept.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.749-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระจกทางสถาปัตยกรรม
dc.subjectสถาปัตยกรรมเมืองร้อน
dc.subjectภาวะสบาย
dc.subjectการปรับอากาศ
dc.subjectArchitectural glass
dc.subjectArchitecture, Tropical
dc.subjectHuman comfort
dc.subjectAir conditioning
dc.titleการพัฒนาเครื่องมือและแนวทางการเลือกใช้กระจกช่องเปิดสำหรับเขตร้อนชื้นen_US
dc.title.alternativeDEVELOPMENT OF TOOL AND GUIDELINES FOR SELECTING FENESTRATIONS GLAZING IN HOT HUMID CLIMATEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVorasun.B@Chula.ac.th,vorasun1@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.749-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5573377525.pdf12.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.