Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44816
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประภัสสร จันทร์สถิตย์พร | - |
dc.contributor.author | วรวุฒิ เครือแก้ว | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-08-29T05:18:41Z | - |
dc.date.available | 2015-08-29T05:18:41Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44816 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทหน้าที่ของเพลงและการสร้างสรรค์ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกัน ผ่านแนวคิดบทบาทหน้าที่ของเพลงในละครเพลงและแนวคิดการสร้างสรรค์ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกัน ใช้เครื่องมือเชิงปริมาณในการวิเคราะห์เนื้อหาละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกันเฉพาะฤดูกาลที่ 1 จำนวน 6 เรื่อง รวมทั้งสิ้น 108 ตอน ได้แก่ Fame, Cop Rock, Hannah Montana, Big Time Rush, Glee, Smash ผลการวิจัยพบว่า ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกันใช้เพลงที่มีบทบาทหน้าที่ในการบ่งบอกลักษณะและความรู้สึกนึกคิดของตัวละครมากที่สุด รองลงมาคือ เพลงที่ปรากฏซ้ำเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลง, เพลงที่มีบทบาทหน้าที่ในการเล่าเรื่องและดำเนินเรื่อง, เพลงที่ให้นักแสดงแสดงความสามารถเท่านั้น, เพลงที่มีบทบาทหน้าที่ในการปูเรื่องและสร้างอารมณ์พื้นฐาน, และเพลงที่หยิบยืมความหมายจากที่อื่น ตามลำดับ ส่วนการสร้างสรรค์ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกันนั้น ได้แก่ ขั้นวางแผน ทีมงานที่มีชื่อเสียงมักจะได้รับความไว้วางใจจากทางสถานีและผู้อุปถัมภ์รายการในการสร้าง, ขั้นเตรียมการ มักสร้างบทโดยใช้สูตรสำเร็จในการวางโครงเรื่องแบบ Boy Meets Girl Formula แก่นเรื่องแบบ Career theme และ Outcast Theme, ขั้นการถ่ายทำ มีการซ้อมร้องเต้น และบันทึกเสียงล่วงหน้า ไม่ได้ร้องสดในฉาก ทุกเรื่องถ่ายทำในสตูดิโอ มีเพียงไม่กี่ฉากเท่านั้นที่ถ่ายทำนอกสถานที่, และขั้นประเมินผลรายการ มีการวัดผลจำนวนผู้ชม และมีการวางจำหน่ายเพลงและอัลบั้มเช่นเดียวกับสินค้าและบริการอื่นๆ นอกจากนี้ ปัจจัยที่ทำให้ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกันประสบความสำเร็จก็คือ ความนิยมในตัวนักแสดง การนำเพลงที่เคยได้รับความนิยมมาทำใหม่ โดยเฉพาะเพลงสมัยนิยมซึ่งมีคีตลักษณ์แบบเพลงสามท่อนทำให้ติดหูและขายได้ไม่ยาก เรื่องราวมักเกิดในสังคมทั่วไป ตอกย้ำความฝันแบบอเมริกันชนผ่านตัวละครที่หลากหลาย มีการปลูกฝังอุดมการณ์ทางความคิด ตีแผ่ปัญหาสังคม เกาะติดสถานการณ์ปัจจุบัน และมีลักษณะของหลังสมัยใหม่ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aim of this research paper is to study about functions of songs in the 1st season of 6 American musical television series and its creation, by using quantitative content analysis. Results show that the most obvious of all functions of songs in American musical television series are character songs, followed by narration songs, reprises, cameo songs, and exposition songs, respectively, and the pastiche songs are the least. The creation procedure are planning for creative team, technical team, and casting the actors from their appearances, skills, experiences, and awards, pre-production in the songs recording, choreography, and lip sync, all production shooting the most scenes in studio, and post-production also evaluation from the rating, merchandise sold, and accolades. Furthermore, the factors that cause popular in American musical television series are the reinterpretation and rearrange the songs in various genre and style of presentation. Most popular music is a ternary form (three-part musical form) or AABA. Music choices are typically made when each episode's script is written, with songs matched to the show's plotlines. Lyrics become extensions of an actor's dialogue. Mostly American musical television series was boy meets girl formula plot, career theme, outcast theme, reflect the American dream, cultivation of ideology and utopia, describe the social problems, and begin to show the idea of postmodern nowaday. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1635 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ดนตรีประกอบการแสดง -- สหรัฐอเมริกา | en_US |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ -- สหรัฐอเมริกา | en_US |
dc.subject | ดนตรีประกอบในโทรทัศน์ | en_US |
dc.subject | Dramatic music -- United States | en_US |
dc.subject | Television series -- United States | en_US |
dc.subject | Television music | en_US |
dc.title | บทบาทหน้าที่ของเพลงในการสร้างสรรค์ละครเพลงทางโทรทัศน์อเมริกัน | en_US |
dc.title.alternative | Functions of songs in American musical television series creation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | prapassornch@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1635 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
worawut_kr.pdf | 6.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.