Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44902
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังศุมาลิน เสนจันทร์ฒิไชย-
dc.contributor.authorมนัญญา เปี่ยมงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-02T08:42:05Z-
dc.date.available2015-09-02T08:42:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44902-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการลดรอบเวลาการผลิตในกระบวนการพิมพ์และหยอดสีโดยที่มีต้นทุนรวมในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเซตตัวของสีต่ำที่สุด การดำเนินการวิจัยเริ่มต้นจากการระบุกระบวนการที่เป็นคอขวด ซึ่งก็คือ กระบวนการเซตตัวของสี จากนั้นทำการพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเซตตัวของสีซึ่งเป็นการทำงานของกระบวนการที่เป็นคอขวดนั้น แล้วจึงนำการออกแบบการทดลองมาใช้เพื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการเซตตัวของสีมากที่สุดจำนวน 3 ปัจจัย ประกอบด้วย อุณหภูมิในการเซตตัวของสี เวลาในการเซตตัวของสี และความหนืดของสี โดยมีต้นทุนรวมในกระบวนการเป็นตัวแปรตอบสนองของการทดลอง การวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยแบบจำลองเชิงเส้นทั่วไป (General Linear Model; GLM) และด้วยวิธีการพื้นผิวผลตอบ (Response Surface Methodology; RSM) ได้นำเสนอสภาวะการทำงานที่มีต้นทุนรวมในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเซตตัวของสีต่ำที่สุด ที่เวลาในการเซตตัวของสี 50 นาทีต่องาน 500 ชิ้น (6 วินาทีต่อชิ้น) และความหนืดของสี 1.2 พอยส์เช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันที่อุณหภูมิในการเซตตัวของสี โดยอุณหภูมิในการเซตตัวของสีที่วิธีการพื้นผิวผลตอบนำเสนออุณหภูมิในการเซตตัวของสีเท่ากับ 35 องศาเซลเซียสนั้นมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ในกระบวนการมากกว่าอุณหภูมิในการเซตตัวของสีเท่ากับ 45 องศาเซลเซียสที่นำเสนอจากแบบจำลองเชิงเส้นทั่วไปเนื่องจากมีต้นทุนพลังงานที่ต่ำกว่า ซึ่งจากสภาวะที่นำเสนอจะสามารถลดรอบเวลาในการผลิตของกระบวนการพิมพ์และหยอดสีได้ร้อยละ 16.7 โดยลดลงจาก 7.2 วินาทีต่อชิ้นเหลือ 6 วินาทีต่อชิ้น และภายใต้สภาวะที่นำเสนอนั้นจะทำให้เกิดต้นทุนรวมในกระบวนการเท่ากับ 0.37 บาทต่อชิ้น ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนในปัจจุบันที่มีค่าเท่ากับ 0.38 บาทต่อชิ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThe objective of this study is to reduce cycle time in printing and coloring process with respect to the minimum total cost that related with color setting process. The bottleneck process which is the color setting is firstly identified and the potential factors are secondly defined. The experiments are then finally designed and implemented based on three important factors which are the setting time, setting temperature and solvent viscosity. The total cost is recorded as the response of the experiment. The suggested values that minimize total cost by the general linear model (GLM) and by the response surface methodology (RSM) are the same for the setting time at 50 minutes for 500 colored parts (6 seconds per part) and the viscosity at 1.2 poise but are different for the setting temperature. The optimal setting temperature at 35 oC suggested by RSM is more preferable than 45 oC suggested by GLM due to lower cost of energy. Under the optimal conditions, the cycle time is reduced by 16.7% from 7.2 to 6 seconds per part. Under this optimal condition, the total cost is 0.37 Baht per part which is less than the current total cost of 0.38 Baht per parten_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1684-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการพิมพ์en_US
dc.subjectการควบคุมกระบวนการผลิตen_US
dc.subjectPrintingen_US
dc.subjectProcess controlen_US
dc.titleการลดรอบเวลาการผลิตในกระบวนการพิมพ์และหยอดสีบนชิ้นส่วนด้านหน้าของกล้องen_US
dc.title.alternativeCycle time reduction in printing and coloring process on front cover of cameraen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1684-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
manunya_pr.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.