Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44994
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอภิวัฒน์ รัตนวราหะ-
dc.contributor.authorปรีชาพงศ์ อากาศโสภา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-04T04:25:05Z-
dc.date.available2015-09-04T04:25:05Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44994-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมืองในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมกับพฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมืองในพื้นที่ศึกษา สมมติฐานงานวิจัยคือ พฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมืองแตกต่างกันตามที่ตั้งของชุมชน ที่ตั้งของแหล่งงาน และรายได้ การวิจัยนี้เลือกศึกษาคนจนเมืองที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัดในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ใกล้เคียง เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่ศึกษานั้นคือตำแหน่งที่ตั้งของชุมชนจะต้องอยู่ในแกนคมนาคมเดียวกัน ขนาดของชุมชนต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน สภาพสังคมเศรษฐกิจต้องมีลักษณะใกล้เคียงกัน ดังนั้นผู้ศึกษาจึงได้เลือก 3 ชุมชน คือ ชุมชนโค้งรถไฟยมราช เขตราชเทวี (ชุมชนที่อยู่เมืองชั้นใน) ชุมชนสวนผัก เขตจตุจักร (ชุมชนที่อยู่เมืองชั้นกลาง) และชุมชนสถานีรถไฟหลักหก เทศบาลนครรังสิต (ชุมชนที่อยู่ชานเมือง) วิธีการเก็บข้อมูลด้านพฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมือง ได้แก่ การสังเกตการณ์ การแจกแบบสอบถามจำนวน 160 ชุด เป็นการเก็บข้อมูลพื้นฐานระดับหน่วยครัวเรือน โดยข้อมูลที่สอบถามได้แก่ ข้อมูลด้านประชากร เศรษฐกิจและสังคม ลักษณะและพฤติกรรมการเดินทางเพื่อไปทำงานของผู้ที่อาศัยในชุมชนแออัด และความพึงพอใจและข้อเสนอแนะต่อการเดินทางไปทำงาน อีกทั้งยังใช้วิธีการสัมภาษณ์ควบคู่ไประหว่างการแจกแบบสอบถาม โดยตั้งคำถามเชิงลึกจากแบบสอบถามเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์เชิงพื้นที่ จากการศึกษาและการวิเคราะห์ผลการวิจัยจากข้อมูลลักษณะของผู้เดินทาง ลักษณะรูปแบบขนส่งและลักษณะการเดินทาง โดยทดสอบจากสมมติฐานงานวิจัยด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น พบว่า พฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมืองนั้นจะแตกต่างกันเมื่ออาชีพต่างกัน ที่ตั้งของชุมชนต่างกัน ที่ตั้งของแหล่งงานต่างกัน และการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะของชุมชนที่ต่างกัน โดยผลของความแตกต่างคือ รายละเอียดของค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการเดินทางไปทำงานโดยชุมชนที่ตั้งอยู่ชานเมืองมีค่าใช้จ่ายด้านค่าเชื้อเพลิงมากที่สุดเพราะการเข้าถึงของระบบขนส่งสาธารณะมีน้อย และชุมชนที่อยู่เมืองชั้นกลางมีค่าใช้จ่ายด้านค่าโดยสารมากที่สุดเพราะมีแหล่งงานที่กระจายตัวไกลกว่าชุมชนอื่น ๆ และมีความหลากหลายของระบบขนส่งสาธารณะ เมื่อนำตัวเลขจากผลการวิจัยเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยรวมทั้งประเทศ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของคนจนเมืองสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการเดินทางเฉลี่ยของประชาชนทั้งประเทศ โดยที่ชุมชนที่อยู่เมืองชั้นในมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 5 ชุมชนที่อยู่เมืองชั้นกลางมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 6 และชุมชนที่อยู่ชานเมืองมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าร้อยละ 10en_US
dc.description.abstractalternativeThis research studied the urban poor’s travel behavior for work trips in Bangkok and analyzed the relationship between physical characteristics, socio-economic features and the travel behavior for work trips of the urban poor in the area of study. The research hypothesis was that the travel behavior for work trips of the urban poor varies with location of the community, location of work, and income. This research focused on the urban poor living in slum in Bangkok. The selection criteria for the location of the communities in the study were that they must be on the same traffic axis and the size of the communities must be similar. The researcher thus chose the following three communities: the Yomarat railway curve in Ratchathevi district (an inner city community), the Suanphak community in Chatuchak district (a city central area community), and the Lak-hok railway station community in Nakorn Rangsit municipality (an suburban community). Regarding data collection, the methods used included observation, the distribution of 160 questionnaires, and interviews. The questionnaires aimed to collect basic data at the household unit level including demographic and socio-economic data, and the features and the travel behavior for work trips of inhabitants living in the communities. The respondents were also asked about their satisfaction with their travel to work and for suggestions regarding it. After the questionnaires were collected, in-depth interviews were conducted based on the responses for spatial analysis. The research findings were then studied and analyzed regarding the travelers’ characteristics, modes of transportation, and travel characteristics. The research hypothesis was tested against the analysis of the relationships between the above-mentioned variables. It was found that the travel behavior for work trips of the urban poor varies with their occupation, the location of their community, the location of their work, and the public transport accessibility. Regarding the expense in particular, those in the suburban community bore the highest expense of fuel as there is little access to public transport; those in the central city community faced the highest expense of transportation as their jobs were distributed further away than other communities and a variety of public transport was available to them. Comparing the figures from the research results to the travel expense of people in the country overall, it was found the travel expense of the urban poor was higher than the average expense of the country’s population as a whole. The average expense of those in the inner city community was more than 5% higher than the national average, the central city community was more than 6% higher, and the suburban community was more than 10% higher.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1742-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคนจนในเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectชุมชนแออัด -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectการเดินทางen_US
dc.subjectUrban poor -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectSlums -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectVoyages and travelsen_US
dc.titleพฤติกรรมการเดินทางไปทำงานของคนจนเมือง : กรณีศึกษาชุมชนรายได้น้อยตามแนวรถไฟสายเหนือในกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeThe urban poor's travel behavior for work trips : case studies of low-income communities along Northern train routes in Bangkoken_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคและเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorrapiwat@gmail.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1742-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prechapong_ar.pdf4.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.