Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44998
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจามรี อาระยานิมิตสกุล-
dc.contributor.advisorนิลุบล คล่องเวสสะ-
dc.contributor.authorมณีนุช พูลสวัสดิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพมหานคร-
dc.date.accessioned2015-09-04T08:03:51Z-
dc.date.available2015-09-04T08:03:51Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/44998-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ภ.สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ เป็นการศึกษาองค์ประกอบของภูมิทัศน์ทางด้านกายภาพ ได้แก่ การวางผัง ขนาดทางเท้า เฟอร์นิเจอร์ถนน วัสดุพืชพรรณ และไฟส่องสว่าง กับการเกิดคดีอาชญากรรมประเภทประทุษร้ายต่อทรัพย์ในพื้นที่สาธารณะภายนอกอาคารของกรุงเทพมหานคร เพื่อให้ทราบถึงจุดบกพร่องของพื้นที่จากองค์ประกอบของภูมิทัศน์ในที่นั้นๆ ว่านำมาซึ่งการเกิดคดีได้อย่างไร อันจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบปรับปรุงงานภูมิทัศน์ในพื้นที่สาธารณะเพื่อลดช่องโอกาสในการเกิดอาชญากรรม และเป็นแนวทางในการช่วยวางแผนด้านการบริหารจัดการงานภูมิทัศน์เพื่อการป้องกันอาชญากรรม การคัดเลือกพื้นที่ศึกษาใช้พื้นที่ที่เกิดสถิติคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์มากที่สุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ.2550-2555) คือ เขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจนครบาลพญาไท และนำตำแหน่งที่พบว่ามีปริมาณคดีเกิดหนาแน่นที่สุด มาแบ่งพื้นที่ตามลักษณะทางกายภาพจากสภาพแวดล้อมซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภทและใช้เป็นพื้นที่ตัวแทนศึกษา คือ 1) พื้นที่แบบจุดศูนย์รวมการสัญจร ได้แก่ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ประกอบด้วยเกาะ 4 เกาะ 2) พื้นที่แบบซอย ได้แก่ ซอยรางน้ำและซอยเพชรบุรี 21 และ 3) พื้นที่แบบลานหน้าอาคารสาธารณะ ได้แก่ ลานหน้าแพลตทินัม- แกรนด์ไดม่อนและลานหน้าพันธุ์ทิพย์ โดยวิธีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ยึดตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการควบคุมอาชญากรรมจากสภาพแวดล้อม มี 2 วิธี คือ 1) การสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบของภูมิทัศน์กายภาพในพื้นที่ และ2)การสัมภาษณ์ทั้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้รับผิดชอบพื้นที่และจากบุคคลผู้ใช้งานประจำในพื้นที่โดยสอบถามเกี่ยวกับตำแหน่งของพื้นที่ที่เคยพบเห็นเกิดคดีหรือมีโอกาสที่น่าจะเกิดคดี จากผลการศึกษาพบว่า ความหนาแน่นของทางเท้า จุดอับสายตา และการขาดไฟส่องสว่าง เป็นปัจจัยหลักของช่องโอกาสที่เอื้อต่อการเกิดอาชญากรรม ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้จากการออกแบบและการดูแลรักษา โดยได้เสนอแนะแนวทางการออกแบบปรับปรุงและการดูแลรักษาไว้เพื่อเป็นตัวอย่าง นอกจากนี้การบริหารจัดการสามารถช่วยลดภัยอาชญากรรมลงด้วย เช่น การตรวจตราสอดส่อง การมีเวรยาม การมีตำรวจสายตรวจ การมีร้านสะดวกซื้อ 24 ชั่วโมงอยู่ในบริเวณ และเรื่องของการใช้เทคโนโลยี เช่น การติดตั้งกล้องวงจรปิด เป็นต้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis research focuses on studying how physical landscape elements - namely, layout, size of sidewalk, street furniture, planting, and lighting relate to incidents of robbery in public open spaces in Bangkok. The aim is to learn how physical landscape elements of particular areas contribute to such incidents of crime. The results should be useful in designing and improving landscape in public open spaces to reduce the potential for criminal incident. The area studied was chosen from the highest number of robbery incidents in public open space during the past five years (2007-2012), the area are chosen is under the responsibility of the Phayathai metropolitan police precinct. The particular locations where the incidents were most clustered catagorized were arranged according to the characteristics of the physical environment and put into three groups: 1) the traffic node area, the Victory Monument area with four traffic islands, 2) the sidestreet or ‘soi’ area, Soi Rang-nam and Soi Petchburi 21, and 3) the public plaza, the public plaza in front of the Platinum Mall and Grand Diamond Hotel, and the public plaza of Pantip Plaza. Two methods of data collection were used according to the concept of crime prevention through environmental design, 1) survey and analysis of the physical landscape elements in the areas, and 2) interviews of the police officers responsible for the areas and those citizens who regularly use the particular area for a certain period of time. The interview was to find out and confirm the specific location of robberies occurred and potential location of robberies opportunities The research results show that the main factors to criminal incidents are overcrowded of people on sidewalks, blind spot areas, and lack of illuminating lights. These problems can be solved by design, management, and maintenance, which are guidelines included in this research. Such robbery opportunities can be curtailed by surveillance and useful technology, for example, security guards, police patrols, 24-hour convenience stores, and CCTV.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1723-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอาชญากรรม -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectพื้นที่สาธารณะ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectความปลอดภัยในที่สาธารณะen_US
dc.subjectภูมิทัศน์ -- ไทย -- กรุงเทพฯen_US
dc.subjectCrime -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectPublic spaces -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.subjectLandscapes -- Thailand -- Bangkoken_US
dc.titleองค์ประกอบของภูมิทัศน์ทางด้านกายภาพกับการเกิดอาชญากรรมในพื้นที่สาธารณะ : กรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativePhysical landscape elements related to criminal incident in public open space : Bangkok metropolitanen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameภูมิสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineภูมิสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChamree@hotmail.com-
dc.email.advisorNilubol.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2012.1723-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Maneenuch_po.pdf52.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.