Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45003
Title: การประเมินการอยู่อาศัยของบ้านพักถาวรสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ ปี พ.ศ. 2554 : กรณีศึกษาโครงการบ้านพักถาวรจังหวัดกระบี่
Other Titles: Evaluation of resident preference for permanent housing for flood victims in the South in 2011 : a case study of permanent housing project in Krabi province
Authors: ไชยวุฒิ ตุดบัว
Advisors: ไตรรัตน์ จารุทัศน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Trirat.J@chula.ac.th
Subjects: อุทกภัย -- ไทย (ภาคใต้) -- 2554
การบรรเทาสาธารณภัย -- ไทย (ภาคใต้)
ที่อยู่อาศัย -- ไทย (ภาคใต้)) -- 2554
Floods -- Thailand, Southern -- 2011
Disaster relief -- Thailand, Southern -- 2011
Housing -- Thailand, Southern -- 2011
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สืบเนื่องจากเหตุการณ์อุทกภัยภาคใต้ ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ.2554 พื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย ได้รับผลกระทบครอบคลุมบริเวณกว้างถึง 10 จังหวัด ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและอาคารบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อผ่านระยะเร่งด่วนของที่อยู่อาศัยในช่วงแรกนั้น หน่วยงานต่างๆ จึงได้เข้ามาสนับสนุนในการสร้างบ้านพักถาวรให้แก่ผู้ที่บ้านได้รับความเสียหายทั้งหลัง โดยมี 3 หน่วยงานที่เข้ามาสนับสนุนการสร้างบ้านพักถาวร คือ มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย ศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย(คชอ.) และสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวีสี ช่อง 3 ผู้วิจัยจึงได้เลือกพื้นที่จังหวัดกระบี่เป็นพื้นที่ศึกษา เพราะว่าการเข้าถึงข้อมูลของผู้วิจัยทำได้สะดวกและได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มแรกของการก่อสร้างโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเฉพาะการประเมินแบบบ้านหลังการเข้าอยู่อาศัยและวิเคราะห์การปรับปรุงแบบบ้าน ภายหลังจากการเข้าอยู่อาศัยประมาณ 1 ปี โดยมีการศึกษาความพึงพอใจ ปัญหาและอุปสรรค ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปรับปรุงบ้าน รวมไปถึงศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของบ้านหลังการเข้าอยู่อาศัย เพื่อนำข้อมูลที่ได้นั้นเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับเป็นแนวทางในการออกแบบบ้านพักถาวรสำหรับผู้ประสบภัยให้มีความเหมาะสม สามารถตอบสนองความต้องการพื้นฐาน ในการอยู่อาศัย การใช้สอย และความคงทนถาวรต่อไปในอนาคต บ้านพักถาวรช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา เป็นโครงการในจังหวัดกระบี่ โดยมี 3 หน่วยงานเป็นผู้สนับสนุน ซึ่งมีแบบบ้านหลักๆ หน่วยงาน ละ 2 แบบ รวมเป็น 6 แบบ ซึ่งความแตกต่างของแบบบ้านแต่ละแบบนั้นมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน โดยจะมีการเปรียบเทียบเพื่อให้ได้มาซึ่งจุดเด่นของบ้านแต่ละแบบ ซึ่งการอยู่อาศัยของประชาชนในระยะเวลาประมาณ 1 ปี เป็นช่วงที่เหมาะสมในการประเมิน โดยการทำแบบสอบถามและแบบสำรวจข้อมูล แล้วนำมาวิเคราะห์ประมวลผลทางด้านสถิติเพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาวิเคราะห์ พบว่าบ้านแต่ละแบบมีความโดดเด่นที่ทำให้ผู้อยู่อาศัยพึงพอใจที่แตกต่างกัน โดยแบบบ้านของมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทย จะมีความโดดเด่นเรื่องความสะดวกต่อการต่อเติม ส่วนแบบบ้านของศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย(คชอ.) และสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวีสี ช่อง 3 จะมีความโดดเด่นด้านพื้นที่ใช้สอยภายในตัวบ้านที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อนำความโดดเด่นแต่ละด้านมาเป็นแนวทางนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการออกแบบบ้านซึ่งเป็นบ้านตัวอย่างไว 2 แบบด้ายกัน คือ แบบบ้านพักถาวรที่ 1 รวมระหว่างมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง(ภาฯ)ยามยาก สภากาชาดไทยกับศูนย์ประสานการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย(คชอ.) ซึ่งมีลักษณะเด่นที่สามารถนำมาประยุกต์รวมกันได้ แบบบ้านพักถาวรที่ 2 เป็นการประยุกต์แบบบ้านของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ไทยทีวีสี ช่อง 3 ให้สะดวกต่อการอยู่อาศัยและปลอดภัยต่อภัยธรรมชาติมากขึ้น
Other Abstract: The severe flooding in the South of Thailand in April 2011 widely affected ten southern provinces, damaging a large number of lives and houses. After the flood, flood victims did not have sufficient funds to rebuild their permanent houses. Therefore, Friends in Need (of “PA”) Volunteers Foundation Thai Red Cross, the National Flood Relief Coordination Center and Thai Television Channel 3 lent a hand to build permanent houses for the victims. The researcher chose Krabi province for a case study because of the availability of access to detailed data. The purpose of the study was to evaluate the design of the houses after residents had been living in them for one year in order to analyze and improve the design. The permanent housing project that the researcher chose to study is located in Krabi province. There are three organizations that support the project with each having two designs, resulting in a total of six designs altogether. Each design has its own distinguishing features. The researcher compared all the designs to determine what the various features were by creating questionnaires and conducting a survey. Then the information was converted into statistical data for further analysis. It was found that each design has its own distinguishing features with which the flood victims are satisfied. The distinguishing features for the houses designed by Friends in Need (of “Pa”) Volunteers Foundation Thai Red Cross are its looks, its ease of expansion, the temperature in the house and the durability of the structure. The distinguishing features of the houses designed by the National Flood Relief Coordination Center are the size of utility space, the number of the rooms and the safety from crime. The distinguishing features of the houses designed by Thai Television Channel 3 are the size of the utility space and the safety from crime. Taking into account all the favorable features of each design, the research has designed three new types of houses, each with its own set of distinguishing features, to suit the needs of residents.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45003
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1727
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1727
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaiwut_tu.pdf10.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.