Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45004
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เสริชย์ โชติพานิช | - |
dc.contributor.author | ชลธิชา แก้วมูล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-04T08:26:35Z | - |
dc.date.available | 2015-09-04T08:26:35Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45004 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การดูแลทำความสะอาด เป็นการดำเนินงาน เพื่อทำให้พื้นที่และอาคารปราศจากสิ่งสกปรก ส่งผลต่อสุขภาพอนามัย ความสะดวก ความปลอดภัย และภาพลักษณ์ของอาคาร ให้อยู่ในสภาพที่ดี เป็นงานบริการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ มีความจำเป็นในทุกอาคาร อาคารประเภทสถานศึกษา เป็นอาคารที่ต้องมีการดูแลทำความสะอาดเช่นเดียวกับอาคารอื่นๆ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ มีอาคารหลากหลายประเภท ฉะนั้น การดูแลทำความจึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นควบคู่กันไป การศึกษาครั้งนี้ มุ่งศึกษาถึง รูปแบบการดำเนินงานดูแลความสะอาด ประสิทธิภาพการดูแลความสะอาด และความสัมพันธ์ของรูปแบบ การดำเนินงานและประสิทธิภาพการดูแลความสะอาดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้แนวทางการศึกษาเฉพาะกรณี และใช้วิธีการเลือกกรณีศึกษาแบบเจาะจง ทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา มีขอบเขตในการศึกษาคณะและส่วนกลางที่มีการจัดจ้างบริษัททำความสะอาดทั้งหมดจำนวน 14 คณะและอาคารของส่วนกลางจากการศึกษาพบว่า ในแต่ละคณะและส่วนกลางนั้น มีความคาดหวังในการจัดจ้างและมาตรฐานคุณภาพ ให้อาคารมีความสะอาดมีมาตราฐานคุภาพที่ดี โดยพื้นที่ที่กำหนดให้มีการจัดจ้างบริษัททำความสะอาดมี 2 รูปแบบ คือ จัดจ้างเต็มพื้นที่ทั้งหมดและไม่เต็มพื้นที่ มีการกำหนดข้อกำหนดรายละเอียดการบริการทำความสะอาดที่ต้องการ สามารถจำแนกหมวดหมู่ได้ดังนี้ วัตถุประสงค์ การระบุขอบเขตพื้นที่ในการทำความสะอาด หน้าที่ของผู้รับจ้าง คุณสมบัติพนักงาน จำนวนพนักงาน วัน เวลาในการปฏิบัติงานขอบเขตงาน หน้าที่ของผู้รับจ้าง เครื่องมือและอุปกรณ์ สิ่งที่ผู้ว่าจ้างจัดหามาให้ สิ่งผู้รับจ้างจัดหามาให้ มาตรฐานคุณภาพ การทำสัญญาและจ่ายเงิน ข้อตกลงและเงื่อนไขในการเลิกสัญญา การปรับ การเสนอราคา และเกณฑ์การพิจารณา ซึ่งในรายละเอียดจะระบุแตกต่างกันไป เมื่อมีการกำหนดข้อกำหนดรายละเอียดการบริการทำความสะอาด จะทำการจัดจ้างโดย วิธีการจัดจ้างขึ้นอยู่กับงบประมาณค่าจ้างและวัตถุประสงค์ซึ่งแตกต่างกันไป วิธีการจัดจ้างตามระเบียบจุฬาลงกรณ์ว่าด้วยการพัสดุ 2554 แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การจัดจ้างโดยตรง มี 3 วิธี ได้แก่ การตกลงราคา การประกาศเชิญชวน วิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ และ การจัดจ้างทางอ้อม คือ การจัดจ้างแบบชุดการจ้างโดยจัดจ้างบริษัทบริหารจัดการ บริษัทที่ได้รับการจัดจ้างมีคุณสมบัติ และการปฏิบัติงาน เครื่องแต่งกาย อุปกรณ์ แตกต่างหลากหลาย และมีวิธีการดำเนินการวัดผลและประเมินผลการดูแลความสะอาดของบริษัทแบบประจำวันและประจำเดือน และประสิทธิภาพใน การดูแลความสะอาด สามารถพิจารณาได้จาก ด้านค่าใช้จ่ายค่าจ้างในการดูแลทำความสะอาด ด้านการปฏิบัติงานทำความสะอาด ลักษณะเครื่องแต่งกาย จำนวนและสภาพของอุปกรณ์เครื่องมือทำความสะอาด สรุปได้ว่า รูปแบบการดำเนินงานดูแลทำความสะอาดในแต่ละคณะและส่วนกลางนั้นมีความแตกต่างกันไป ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพใน การดูแลทำความสะอาด มีความแตกต่างกันไปด้วย โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆด้าน สิ่งสำคัญในการดำเนินงานดูแลทำความสะอาดนั้น ประกอบไปด้วย การกำหนดข้อกำหนดรายละเอียด ค่าจ้างในการจัดจ้าง ส่วนที่ผู้ว่าจ้างจัดหาและกำหนด รวมถึงคุณสมบัติของผู้รับจ้าง สิ่งที่ผู้รับจ้างจัดหา และปฏิบัติงาน | en_US |
dc.description.abstractalternative | Cleaning is an indispensable service that results in hygienic areas and buildings, their safety and their image. Like other buildings, Chulalongkorn University buildings and their surrounding compounds require this service. This research aimed to study the cleaning patterns in Chulalongkorn University campus, their efficiency and the relationship between the patterns and their efficiency. A specific case study was used to select the samples which were buildings belonging to 14 faculties and those belonging to the university. Both the faculties and the university outsourced all the cleaning work.It was found that both of them expected high quality work. The cleaning companies were contracted to clean either the whole area or certain parts of the area. The contract covered objectives, areas to be cleaned, job descriptions, cleaners’ qualifications, number of cleaners, working days and hours, cleaning equipment, what was to be provided by the building owners, standardization of the contract and payment, cancellation of contract, penalty, bidding and criteria for approval. However, the descriptions of each contract vary in some aspects depending on the budget and the objectives. According to the Regulations of Chulalongkorn University on Procurement B.E. 2554 (2011), the contracting for services with packages can be done via one of two means: direct and indirect. The direct means can be either the price agreeing method, notice and invitation method or electronic method. The indirect method is carried out by hiring a management company to hire cleaning companies. Each contracted company has different qualifications, operational performances, uniforms and cleaning equipment. Cleaning assessment is performed daily and monthly. Cleaning efficiency is measured by the wages, cleaning performance, quality of uniform, number and condition of cleaning equipment. It can be concluded that the cleaning patterns carried out at the faculty buildings and the university buildings vary, leading to different levels of efficiency. Such differences depend on various factors – cleaning specifications, amount of wages, employer’s offers, contractor’s qualifications, contractor’s offers and contractor’s performance. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1728 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | อาคารเรียน | en_US |
dc.subject | อาคาร -- การทำความสะอาด | en_US |
dc.subject | การทำความสะอาด | en_US |
dc.subject | School buildings | en_US |
dc.subject | Cleaning | en_US |
dc.subject | Buildings -- Cleaning | en_US |
dc.title | การดำเนินงานและประสิทธิภาพการดูแลความสะอาด อาคารการศึกษา : กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title.alternative | Cleaning service operations and performance in education facilities : case study of Chulalongkorn University | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Sarich.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1728 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chonticha_ka.pdf | 8.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.