Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45036
Title: การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติระหว่างแบบวัดฉบับสั้นที่พัฒนาจากวิธีที่ต่างกัน : การศึกษาแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค
Other Titles: A comparison of psychometric properties among the short forms developed using different methods : an adversity quotient test study
Authors: กรรณ์ชลิกา ชัยสุวรรณ
Advisors: โชติกา ภาษีผล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การวัดทางจิตวิทยา
Psychometrics
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดฉบับสั้นของแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคชนิดแบบวัดสถานการณ์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีความยาวและวิธีการคัดเลือกที่ต่างกัน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดฉบับสั้นของแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคชนิดแบบวัดสถานการณ์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่พัฒนาจากวิธีที่ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 675 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคชนิดแบบวัดสถานการณ์ที่ผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS LISREL และ MULTILOG ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดฉบับสั้นที่พัฒนาขึ้นเป็นแบบวัดชนิดสถานการณ์ มี 3 ตัวเลือก พัฒนามาจากแบบวัดต้นฉบับที่มีจำนวน 24 ข้อ โดยใช้วิธีการคัดเลือกข้อคำถาม 3 วิธี ได้แก่ การพิจารณาน้ำหนักองค์ประกอบ การพิจารณาดัชนีจำแนกรายข้อตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบด้วยการพิจารณาค่า a และการพิจารณาดัชนีจำแนกรายข้อตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิมด้วยการพิจารณาค่า corrected item-total correlation แต่ละวิธีการคัดเลือกมีความยาว 3 รูปแบบได้แก่ 8, 12 และ 16 ข้อ ดังนั้นจึงได้แบบวัดฉบับสั้นที่พัฒนาด้วยวิธีต่างกัน 9 ฉบับ โดยมีค่าความเที่ยงอยู่ระหว่าง 0.71 ถึง 0.79 โมเดลการวัดของแบบวัดฉบับสั้นทุกฉบับมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีหรือมีความตรงเชิงโครงสร้างในระดับดี (GFI มีค่าระหว่าง 0.98 ถึง 1.00, AGFI มีค่าระหว่าง 0.97 ถึง 0.99, RMR มีค่าระหว่าง 0.011 ถึง 0.027 และค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( x²/df) มีค่าระหว่าง 0.72 ถึง 1.30) แบบวัดฉบับสั้นทุกฉบับมีค่าฟังก์ชันสารสนเทศสูงสำหรับผู้ที่มีระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคค่อนข้างต่ำ (-2.00≤θ≥0) 2. ผลการเปรียบเทียบคุณภาพ สำหรับแบบวัดฉบับสั้นความยาว 8 ข้อ พบว่า วิธีพิจารณาค่า corrected item-total correlation มีความเที่ยงสูงสุดและมีประสิทธิภาพสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด วิธีพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบมีความตรงเชิงโครงสร้างดีที่สุด สำหรับแบบวัดฉบับสั้นความยาว 12 ข้อ พบว่า วิธีพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบ วิธีพิจารณาค่า a และวิธีพิจารณาค่า corrected item-total correlation มีความเที่ยงเท่ากัน วิธีพิจารณาค่า a และวิธีพิจารณาค่า corrected item-total correlation โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีที่สุดและมีประสิทธิภาพสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุด และสำหรับแบบวัดฉบับสั้นความยาว 16 ข้อ พบว่า วิธีพิจารณาค่า a และวิธีพิจารณาค่า corrected item-total correlation มีความเที่ยงสูงสุดและโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ดีที่สุด วิธีพิจารณาค่าน้ำหนักองค์ประกอบ วิธีพิจารณาค่า a และวิธีพิจารณาค่า corrected item-total correlation มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์เฉลี่ยเท่ากัน
Other Abstract: The purposes of this study were to 1) develop abridged tests of a situational Adversity Quotient (AQ) test for upper secondary-school students and 2) compare the psychometric properties of each test. Each test was developed by using different criteria and each consisted of different number of items. The samples were 675 M-5 students who were studying in the academic year 2012 in schools under the jurisdiction of the Office of Secondary Education Bangkok Metropolitan Area. The research tools were 9 abridged situational AQ tests developed by the researcher and they were analyzed by using SPSS, LISREL and MULTILOG. It was found that 1) the abridged tests which consisted of 3 alternatives were based on the original 24-item test and the items selected for each test were based on the following 3 criteria. The first was factor loading which produced 3 tests – 8-item test, 12-item test and 16-item test. The second was the item discrimination index based on the item response theory by taking a coefficient into consideration which produced the same 3 tests. The third was the item discrimination index based on the classical test theory by taking corrected item-total correlation into consideration which produced the same 3 tests. As a result, there were 9 abridged AQ tests whose validity was between 0.71 and 0.79. The measurement model of each abridged questionnaire fitted nicely to the empirical data or construct validity (GFI: 0.98 – 1.00, AGFI: 0.97 – 0.99, RMR: 0.011 – 0.027 and chi-square correlation (x²/df): 0.72 – 1.30). The information function value of all of the tests was high for those with low AQ (-2.00 ≤θ≥ 0). 2) when compared, the 8-item test developed by taking corrected item-total correlation into consideration had the highest validity and highest ratio of average information while the factor loading provided the best construct validity. As for the 12-item test, the validity of the 3 criteria was the same while the goodness of fit index to the empirical data and the ratio of average information of the second and the third criteria were measured highest. As for the 16-item test, the second and the third criteria provided highest validity and fitted best to the empirical data while the ratio of average information of the 3 criteria was the same.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45036
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1758
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1758
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kanchalika_ch.pdf7.6 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.