Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45042
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ | - |
dc.contributor.author | ญาติกา เอกวัฒนพันธ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-07T08:20:59Z | - |
dc.date.available | 2015-09-07T08:20:59Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45042 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูมัธยมศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดองค์ประกอบการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูมัธยมศึกษาระหว่างเพศ 3) เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบระดับการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูมัธยมศึกษาจำแนกตามภูมิหลัง 4) เพื่อศึกษาลักษณะของครูมัธยมศึกษาที่มีความสามารถในการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียน การวิจัยในระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ ตัวอย่าง คือ ครูมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 709 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียน มีค่าความเที่ยงระหว่าง .743 ถึง .817 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย t-test, F-test วิเคราะห์โมเดลด้วยโปรแกรม LISREL ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ กรณีศึกษาคือครูจำนวน 8 คน และนักเรียนจำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์สำหรับครูและนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) องค์ประกอบการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครู ได้แก่ การเข้าใจทัศนะนักเรียน การคำนึงถึงความรู้สึกนักเรียน และความกังวลส่วนบุคคล ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์ (Chi-square) มีค่าเท่ากับ 1.180, p = 0.277 ที่องศาอิสระเท่ากับ 1 มีค่า GFI เท่ากับ 0.999 AGFI เท่ากับ 0.993 และค่า RMR เท่ากับ 0.002 2) โมเดลการวัดองค์ประกอบการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูระหว่างเพศมีความไม่แปรเปลี่ยนของรูปแบบโมเดลแต่มีความแปรเปลี่ยนของค่าพารามิเตอร์สัมประสิทธิ์ถดถอยของตัวแปรสังเกตได้บนตัวแปรแฝงนอก และพารามิเตอร์ความแปรปรวน-ความแปรปรวนร่วมระหว่างความคลาดเคลื่อนของตัวแปรสังเกตได้ภายนอก 3) โดยภาพรวมครูมีคะแนนเฉลี่ยการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนเท่ากับ 4.22 เมื่อพิจารณาแต่ละตัวแปรในองค์ประกอบ พบว่า การคำนึงถึงความรู้สึกนักเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.58) รองลงมาคือความกังวลส่วนบุคคล (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.87) และการเข้าใจทัศนะนักเรียน (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.77) ตัวแปรภูมิหลังที่มีผลให้คะแนนเฉลี่ยการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ อายุ ประสบการณ์การสอนและกลุ่มสาระการเรียนรู้ 4) ลักษณะครูที่มีความสามารถในการเข้าถึงความรู้สึกนักเรียน ได้แก่ 1) พฤติกรรมช่างสังเกต 2) มีบุคลิกภาพเป็นมิตร 3) มีการช่วยเหลือและติดตามนักเรียน 4) มีความเข้าใจนักเรียนเป็นรายบุคคล และ 5) การแสดงความสนใจและเอาใจใส่ความรู้สึกนักเรียน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research are 1) to analyze the factors of teachers’ empathy; 2) to analyze measurement model invariance of teachers’ empathy across gender; 3) to analyze and compare the level of teachers’ empathy based on their backgrounds; and 4) to study characters of teachers with empathetic characteristics. The primary phase of the study is a quantitative research. The sample consists of 709 secondary school teachers working under the Basic Education Commission. The research instrument is questionnaires with ratability from .743 to .817. The descriptive statistics t-test, F-test and LISREL were used to analyze the quantitative data. Phase II is a qualitative research. The cases studies consist of 8 teachers and 6 students. Research instrument is an interview conducted on teachers and students. The content analysis approach was used to analyze the qualitative data. The research results are as follows: 1) The factors of teachers’ empathy for student comprise perspective-taking, empathic concern for students and personal distress. The confirm factor analysis of measurement model of teachers’ empathy for student fit the empirical data with chi-square = 1.180, p = 0.277, df=1, GFI = 0.999, AGFI = 0.993 and RMR = 0.002 2) The measurement model of teachers’ empathy was invariance in form but variance in regression coefficients matrix of observed endogenous variable and variance in variance-covariance matrix of observed endogenous variable. 3) Overall, the average level of teacher’ empathy was 4.22. Once each factor was separately considered, it was found that teacher’ empathy over student’s feelings i.e. empathic concern had a highest average (average = 2.58) followed by the personal distress (average=0.87) and perspective-taking (average=0.77) respectively. The variables which influenced the level of teacher’ empathy were age, teaching experience and the learning groups with statistical significance at the .05 level. 4) Conclusively, the high level teachers’ empathy for student should have the following characteristics: 1) be very observant; 2) be friendly; 3) be helpful and caring for results; understand individual student and 5) be attentive and devoted to the students | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1764 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การร่วมรู้สึก | en_US |
dc.subject | ครูมัธยมศึกษา | en_US |
dc.subject | Empathy | en_US |
dc.subject | High school teachers | en_US |
dc.title | การเข้าถึงความรู้สึกนักเรียนของครูมัธยมศึกษา : การวิจัยแบบผสมวิธี | en_US |
dc.title.alternative | A study of secondary school teachers' empathy for student : mixed methods research | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Duangkamol.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1764 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yatika_ak.pdf | 4.5 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.