Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4504
Title: ผลของการใช้โปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัดต่อคุณภาพการบริการ
Other Titles: The effect of using preoperative nursing program on service quality
Authors: ดุษณีย์ ยศทอง
Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: การดูแลก่อนศัลยกรรม
บริการการพยาบาล
บริการการพยาบาล -- การควบคุมคุณภาพ
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เปรียบเทียบคุณภาพการบริการด้านความพึงพอใจของผู้ป่วย เวลารอก่อนผ่าตัดของผู้ป่วย และการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลก่อนผ่าตัด ระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัด กับกลุ่มที่มีการใช้การบริการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจำนวน 60 คน จัดเป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน ด้วยวิธีจับคู่ และบุคลากรพยาบาลหน่วยพักรอดูอาการก่อนผ่าตัด จำนวน 8 คน ซึ่งปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลศิริราชเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัด ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีเนื้อหาครอบคลุม 3 กิจกรรม คือ 1) การกำกับการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลก่อนผ่าตัด 2) การกำกับการปฏิบัติงานตามแผนภูมิการไหลเวียนของการปฏิบัติงาน 3) การจัดบรรยากาศในห้องพักรอ เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ป่วย แบบบันทึกเวลารอก่อนผ่าตัด และแบบสังเกตการปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลก่อนผ่าตัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญ คือ 1. ความพึงพอใจของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัด สูงกว่าความพึงพอใจของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการบริการพยาบาล ก่อนผ่าตัดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. เวลารอก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ โปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัด น้อยกว่า เวลารอก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับ การบริการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานการพยาบาลก่อนผ่าตัด ของพยาบาลกลุ่มที่ใช้โปรแกรมการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัด สูงกว่า กลุ่มที่มีการบริการพยาบาลก่อนผ่าตัดตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To compare the service quality regarding patient satisfaction, preoperative waiting time and nursing practice according to the nursing standard. Research subjects consisted of 60 surgical patients which were equally assigned into one experimental group and one control group by matched pair technique and 8 nursing personnel working in preoperating unit, Siriraj Hospital. Research tool was a preoperative nursing program which was consisted of 3 parts : 1) A guideline for monitoring nursing service according to preoperative nursing standard, 2) A guideline for monitoring patient routing system, 3) A guideline for environmental control in waiting area. Research data were gathered by a questionnaire of patient satisfaction, a patient's waiting time record, and observation checklist of preoperative nursing care. Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation and paired t-test. Major results of the study were the following: 1. Service quality related to the satisfaction of patients in the group using preoperative nursing program program was significantly higher than that in the group providing preoperative service as usual, at the .05 level. 2. Service quality related to preoperative waiting time of patients in the group using preoperative nursing program was significantly lower than that in the group providing preoperative service as usual, at the .05 level. 3. Nursing practice according to preoperative nursing standard in the group using preoperative nursing program was significantly higher than that in the group providing preoperative service as usual, at the .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4504
ISBN: 9743346546
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
dusanee.pdf6.7 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.