Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45071
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อวยพร เรืองตระกูล | - |
dc.contributor.author | พัชรีพร ไชยรักษ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-08T02:56:30Z | - |
dc.date.available | 2015-09-08T02:56:30Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45071 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับความสำเร็จในวิชาชีพครูเมื่อจำแนกตามภูมิหลัง 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในวิชาชีพครูที่ศึกษาเฉพาะปัจจัยด้านคุณลักษณะภายในตัวบุคคล และ 3) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการส่งผ่านของตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาชีพและความผูกพันในวิชาชีพในโมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในวิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 788 คน ได้มาจากการสุ่มแบบ 3 ขั้นตอน (three - stage sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามสำหรับครู มีค่าความเที่ยงแบบสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบราคอยู่ระหว่าง 0.649 – 0.962 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการตรวจสอบโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)ครูมีความสำเร็จในวิชาชีพอยู่ในระดับสูง ( X = 4.05, S.D. = 0.50) เมื่อเปรียบเทียบความสำเร็จในวิชาชีพจำแนกตามภูมิหลังพบว่า ครูที่เพศต่างกัน ระดับชั้นที่สอนต่างกันและกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างกัน ประสบความสำเร็จในวิชาชีพครูไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อจำแนกตามอายุ สถานภาพสมรส ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษาและระดับวิทยฐานะพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2)โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในวิชาชีพครูที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาชีพและความผูกพันในวิชาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่านที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ค่าไค – สแควร์ = 24.761, df = 56, p = 1.00, GFI = 0.996, AGFI = 0.990, RMR = 0.004, largest standard residuals = 1.638) และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในวิชาชีพได้ร้อยละ 67.70 3)ตัวแปรแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาชีพและความผูกพันในวิชาชีพ มีบทบาทส่งผ่านแบบสมบูรณ์ (complete mediator) จากตัวแปรบุคลิกภาพห้าองค์ประกอบไปยังความสำเร็จในวิชาชีพครูและตัวแปรความผูกพันในวิชาชีพมีบทบาทการส่งผ่านแบบบางส่วน (partial mediator) จาก ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาชีพไปยังตัวแปรความสำเร็จในวิชาชีพ | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were 1) to study and to compare the teachers’ career success 2) to develop and validate a causal model of teachers’ career success with achievement motive career self-efficacy and career commitment as mediator and 3) to study mediator effect of achievement motive career self-efficacy and career commitment in a causal model of teachers’ career success. The research samples consisted of 788 teachers in the school under the Office of the Basic Education. The research data were collected by questionnaires. Questionnaires had Cronbach’s alpha reliability coefficient in the range 0.649 – 0.962 and had construct validity by confirmatory factor analysis. Analyzed by descriptive statistics, one-way ANOVA, Pearson’s product-moment correlation coefficient, and LISREL analysis. The research finding were as follows: 1.the teachers’ career success was at a high level ( X = 4.05, S.D. = 0.50) and the level of teachers’ career success in gender, level of teaching and group of subject no significant and teachers’ career success was influenced by age, status, work experience, education and academic standing to a statistically significant extent. 2.A causal model was valid and fitted with the empirical data. (Chi-square = 24.761, df = 56, p = 1.00, GFI = 0.996, AGFI = 0.990, RMR = 0.004, largest standard residuals = 1.638). The model accounted for 67.70% of variance in teachers’ career success 3.Achievement motive career self-efficacy and career commitment were the complete mediators between five-factor personality and teachers’ career success. Career commitment was a partial mediator between career self-efficacy and teachers’ career success. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.92 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ครู | en_US |
dc.subject | แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ | en_US |
dc.subject | การรับรู้ตนเอง | en_US |
dc.subject | ความสำเร็จ | en_US |
dc.subject | Teachers | en_US |
dc.subject | Achievement motivation | en_US |
dc.subject | Self-perception | en_US |
dc.subject | Success | en_US |
dc.title | โมเดลเชิงสาเหตุของความสำเร็จในวิชาชีพครูที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองในวิชาชีพและความผูกพันในวิชาชีพเป็นตัวแปรส่งผ่าน | en_US |
dc.title.alternative | A causal model of teacher's career success with achievement motive career self-efficacy and career commitment as mediators | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.92 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
patchareeporn_ch.pdf | 3.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.