Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45080
Title: การศึกษาความตรงเชิงทำนายของคะแนนองค์ประกอบ GAT, PAT, O-NET และ GPAX ในการรับบุคคล เข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา
Other Titles: A study of the predictive validity of GAT, PAT, O-NET factor scores and GPAX for university admission
Authors: วารีกุล วิทยอุดม
Advisors: กมลวรรณ ตังธนกานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: tkamonwan@hotmail.com
Subjects: ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือก
Academic achievement
Prediction of scholastic success
Universities and colleges -- Entrance examinations
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความตรงเชิงทำนายของคะแนน GAT คะแนน PAT คะแนน O-NET และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา 2) วิเคราะห์ผลของตัวแปรระดับนิสิตนักศึกษา และตัวแปรระดับกลุ่มสาขาวิชาที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาตรี และ 3) สร้างสมการในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาตรีจากคะแนนผลการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) คะแนนผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) โดยจำแนกตาม 7 กลุ่มสาขาวิชา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตที่ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง ในปีการศึกษา 2553 จำนวน 14,634 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. คะแนน GAT คะแนน PAT คะแนน O-NET และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในทุกกลุ่มสาขาวิชา ยกเว้นในกลุ่มสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ที่คะแนน O-NET วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และคะแนน O-NET วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีไม่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ค่าสัมประสิทธิ์ความตรงเชิงทำนายของคะแนน GAT คะแนน PAT คะแนน O-NET และ ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) ในทุกกลุ่มสาขาวิชามีค่าค่อนข้างต่ำ โดยเฉพาะคะแนน O-NET วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา คะแนน O-NET วิชาศิลปะ และคะแนน O-NET วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 3. ตัวแปรระดับนิสิตนักศึกษาและตัวแปรระดับสาขาวิชาส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาตรีในแต่ละกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกัน 4. สมการในการทำนายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับปริญญาตรีจากคะแนนผลการทดสอบวิชาความถนัดทั่วไป (GAT) คะแนนผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ (PAT) คะแนนผลการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX)ในแต่ละกลุ่มสาขาวิชาแตกต่างกัน
Other Abstract: The objective of this study were 1) to study the predictive validity of GAT, PAT, O-NET and grade point average of high school (GPAX) for university admission, 2) to analyze the student-level and field of study-level factors affecting undergraduate achievement, and 3) to develop the prediction equation of undergraduate achievements using GAT, PAT, O-NET and grade point average of high school (GPAX) in 7 fields of study. Samples were 14,634 students admitted through the central university admission system, 2009 academic year. Results were as follows: 1. GAT, PAT, O-NET and grade point average of high school (GPAX) were positively correlated with the undergraduate achievement at .05 level of significance in all fields of studies except Agricultural Science, whose O-NET (Health and Physical Education, Occupation and Technology) was not positively correlated with the undergraduate achievement at .01 level of statistical significance. 2. Predictive validity coefficients of GAT, PAT, O-NET and grade point average of high school (GPAX) have relatively low levels in all fields of studies especially O-NET in Health and Physical Education, Art, and Occupation and Technology. 3. The student-level and field of study-level factors affecting undergraduate achievement in each field of study were different. 4. The prediction equation of undergraduate achievements using GAT, PAT, O-NET and grade point average of high school (GPAX) in each field of study were different.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45080
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1250
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1250
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wareekun_wi.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.