Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4517
Title: การบำบัดน้ำเสียที่มีน้ำมันถั่วเหลืองโดยการเติมแบคทีเรียที่ผลิตเอนไซม์ไลเปสในระบบบำบัดแบบแอคติเวตเต็ดสลัดจ์
Other Titles: Treatment of wastewater containing soybean oil by adding lipase-producing bacteria in activated sludge system
Authors: พิชญ์นาฏ สุทธิสมณ์
Advisors: ชาญวิทย์ โฆษิตานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Charnwit@sc.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- กระบวนการแบบตะกอนเร่ง
ไลเปส
แบคทีเรีย
น้ำมันถั่วเหลือง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากตัวอย่างดินและน้ำเสียจากร้านอาหาร ตลาด และบ้านเรือน สามารถแยกแบคทีเรียผลิต ไลเปสด้วยอาหารที่ประกอบด้วยน้ำมันมะกอกได้ 37 ไอโซเลท นำมาคัดเลือกแบคทีเรียที่สร้างบริเวณใสได้กว้างในอาหาร tributyrin agar ได้ 10 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบความสามารถในการอยู่รอดในอาหารผสมน้ำมันถั่วเหลือง ได้แบคทีเรียผสมกลุ่มสุดท้ายประกอบด้วย 3 ไอโซเลท คือ L1, L2 และ L3 จึงนำมาศึกษาการย่อยสลายน้ำมันถั่วเหลืองในน้ำเสียสังเคราะห์ในระบบบำบัดแบบแอคติเวตเต็ดสลัดจ์ต่อไป ผลการทดลองศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดน้ำมันถั่วเหลือง ซีโอดี และบีโอดี ในระบบบำบัดแบบแอคติเวตเต็ดสลัดจ์พบว่า ชุดควบคุมสามารถลดค่าน้ำมันถั่วเหลือง ซีโอดี และบีโอดี ได้ร้อยละ 90.9, 84.1 และ 85.2 ตามลำดับ ชุดที่มีการเติมแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ L1, L2 และ L3 สามารถลดค่า น้ำมันถั่วเหลือง ซีโอดี และบีโอดี ได้ร้อยละ 97.5, 86.3 และ 87.8 ตามลำดับ ชุดที่มีการเติมแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ L1, L2, L3, Acinetobacter และ Yarrowia สามารถลดค่าน้ำมันถั่วเหลือง ซีโอดี และบีโอดี ได้ร้อยละ 97.5, 86.5 และ 87.6 ตามลำดับ ผลจากการติดตามความสามารถในการคงอยู่ในระบบของแบคทีเรียที่คัดเลือกได้ L1, L2 และ L3 รวมทั้ง Acinetobacter และ Yarrowia โดยใช้ยาปฏิชีวนะ Chloramphenical พบว่ากลุ่มจุลินทรีย์ดังกล่าวสามารถเจริญอยู่ในระบบบำบัดแบบแอคติเวตเต็ดสลัดจ์ได้ตลอดการทดลอง แสดงว่าจุลินทรีย์ที่เติมลงไปน่าจะใช้ในระบบบำบัดจริงได้ ทั้งนี้จะต้องทดลองในระดับขยายขนาดต่อไป
Other Abstract: From soil samples and wastewater samples collected from canteen, side-street market and domestic house, 37 isolates with lipase activity were obtained in a medium containing olive oil which then further screened in tributyrin agar. Ten isolates with the highest clear zone from tributyrin agar were test for sustainability in synthetic wastewater with soybean oil. Isolates L1, L2 and L3 were the 3 most abundant bacteria sustained in the wastewater. Therefore, L1, L2 and L3 were used for further study in soybean oil degradation using activated sludge system. The removal efficiency of soybean oil, COD, BOD in activated sludge system of the control unit was 90.9%, 84.1% and 85.2%, respectively. The removal efficiency of soybean oil, COD, BOD of the unit with addition of L1, L2 and L3 were 97.5%, 86.3% and 87.8%, respectively. The removal efficiency of soybean oil, COD, BOD of the unit adding L1, L2 , L3, Acinetobacter and Yarrowia were 97.5%, 86.5% and 87.6%, respectively. The follow up for sustainability of selected bacteria L1, L2 , L3, Acinetobacter and the yeast Yarrowia by using chloramphenical was found that these microorganisms could be sustained in activated sludge system throughout the experiment. The microorganisms showed their potential for using in activated sludge system However, the further tests in scaling up are need.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4517
ISBN: 9741747934
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pitchanart.pdf809.76 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.