Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45184
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | โชติกา ภาษีผล | - |
dc.contributor.author | ธัญลักษณ์ ตั๊งถาวรการ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2015-09-11T07:51:01Z | - |
dc.date.available | 2015-09-11T07:51:01Z | - |
dc.date.issued | 2555 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45184 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความถูกต้องในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกัน 2) วิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกันและ 3) วิเคราะห์เวลาที่ใช้ในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ถูกต้องในข้อสอบที่มีลักษณะของข้อสอบแตกต่างกัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีลักษณะของผู้สอบต่างกัน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 386 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความวิตกกังวล 1 ฉบับ และแบบทดสอบฉบับคอมพิวเตอร์ (E-test) จำนวน 4 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) เมื่อเปรียบเทียบการทำข้อสอบได้ถูกต้อง พบว่า ผู้ที่มีความสามารถสูงทำข้อสอบได้ถูกต้องมากที่สุด ผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำทำตอบข้อสอบได้ถูกต้องมากกว่าผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูง ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างง่ายสามารถตอบได้ถูกต้องสูงสุด ข้อสอบรูปแบบประเพณีนิยมสามารถตอบได้ถูกต้องมากกว่ารูปแบบตัดตัวลวง สำหรับข้อสอบที่มี 4 กับ 5 ตัวเลือก สามารถตอบได้ถูกต้องไม่ต่างกัน ยกเว้นในผู้ที่มีความสามารถต่ำสามารถตอบข้อสอบที่มี 4 ตัวเลือกได้มากกว่า 5 ตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบ พบว่า ผู้สอบที่มีความสามารถปานกลางใช้เวลามากกว่าผู้ที่มีความสามารถต่ำ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำใช้เวลามากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูงตามลำดับ ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างยากใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางและข้อสอบค่อนข้างง่าย ข้อสอบรูปแบบประเพณีนิยมใช้เวลามากกว่าข้อสอบรูปแบบตัดตัวลวง และข้อสอบที่มี 5 ตัวเลือกใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มี 4 ตัวเลือก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) เมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการทำข้อสอบได้อย่างถูกต้อง พบว่า ในการทำข้อสอบค่อนข้างง่ายและข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางของผู้ที่มีความสามารถสูงและปานกลางใช้เวลาในการตอบข้อสอบให้ถูกต้องน้อยกว่าผู้ที่มีความสามารถต่ำ สำหรับผู้ที่มีความวิตกกังวลต่ำใช้เวลามากที่สุด รองลงมาคือผู้ที่มีความวิตกกังวลปานกลางและสูงตามลำดับ ส่วนด้านลักษณะของข้อสอบ ข้อสอบที่ค่อนข้างยากใช้เวลามากกว่าข้อสอบที่มีความยากง่ายปานกลางและข้อสอบค่อนข้างง่าย และข้อสอบที่มี 5 กับ 4 ตัวเลือกใช้เวลาในการตอบข้อสอบให้ถูกต้องไม่แตกต่างกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to explore: 1) an analysis of answering the questions of students that correctly answered in the different item characteristics of students in grade nine, 2) an analysis of response time in the different examinee characteristics and item characteristics of student in grade nine and 3) an analysis of accuracy response times in terms of examinee and item characteristics those are different. The data collecting was administered to three hundred and eighty-six students in grade nine of secondary educational service area office district one. Two types of data were collected; anxiety test and e-testing. The data was analyzed by two-way analysis of variance. The following results were obtained: 1. The comparison showed that examinees with high ability could answer the most questions accurately. In term of anxiety, examinees with low anxiety could answer the questions accurately than examinees with moderate and high anxiety in order. In term of item characteristics, the test items at easy level, most of examinees could answer these questions accurately. Examinees could answer the Classical Test more than the Elimination Test. And the test with four and five choices, examinees were not different, except the examinees with low ability at .05 level of significance. 2. Examinees with moderate ability response more time than the examinees with low ability. In term of anxiety, the examinees with low anxiety response more time than examinees with moderate and high anxiety in order. In term of item characteristics, the test at difficult level, examinees response the time longer than the rest of the tests. Examinees response the time with the Classical Test more than the Elimination Test. And examinees response the time in test item with five choices more than the test with four choices at .05 level of significance. 3. Examinees with high and moderate ability accurately response time less than the examinees with low ability that easy level and moderate level test. In term of anxiety, examinees with low anxiety did tend to response more time the examinees with moderate and high anxiety in order. In term of test characteristics, the difficult level test response more time than the easy level test and examinees response time in the four choices and five choices test that were not different. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1330 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) | en_US |
dc.subject | คณิตศาสตร์ -- ข้อสอบ | en_US |
dc.subject | Mathematics -- Study and teaching (Secondary) | en_US |
dc.title | การศึกษาลักษณะของผู้สอบและข้อสอบที่มีต่อเวลาและความถูกต้องในการตอบข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 | en_US |
dc.title.alternative | A study of examinee characteristics and item characteristics on response time and accuracy in mathematic test for ninth grade students | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การวัดและประเมินผลการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | aimornj@hotmail.com | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2012.1330 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanyalak_th.pdf | 4.01 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.