Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45241
Title: การส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพด้วยพอดคาสต์ที่ใช้กลยุทธ์เมตาคอกนิชันสำหรับนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีความบกพร่องทางการเห็น
Other Titles: Enhancement of career awareness using podcasts with metacognitive strategies for visually impaired sixth grade students
Authors: ปริณุต ไชยนิชย์
Advisors: ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: praweenya@gmail.com
Subjects: พอดคาสต์
การรับรู้ตนเอง
ความตระหนัก
เมตาคอคนิชัน
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
Podcasts
Self-perception
Awareness
Metacognition
Children with visual disabilities
Issue Date: 2555
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับของการพัฒนาความตระหนักรู้ในอาชีพของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ก่อนและหลังการรับฟังพอดคาสต์ที่ใช้กลยุทธ์เมตาคอกนิชัน (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพด้วยพอดคาสต์ที่ใช้กลยุทธ์เมตาคอกนิชัน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสอนคนตาบอด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) พอดคาสต์ คลิปเสียงจำนวน 24 คลิปซึ่งเป็นเสียงสัมภาษณ์บุคคลตัวแบบที่มีความบกพร่องทางการเห็นในแต่ละกลุ่มอาชีพและเว็บไซต์เพื่อผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็นสำหรับเป็นคลังคลิปเสียง (2) แบบสำรวจความตระหนักรู้ในอาชีพ (3) แบบสัมภาษณ์ครูและนักเรียนต่อการส่งเสริมความตระหนักรู้ในอาชีพด้วยพอดคาสต์ที่ใช้กลยุทธ์เมตาคอกนิชัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่มีความบกพร่องทางการเห็นทั้ง 10 คนมีระดับของการพัฒนาความตระหนักรู้ในอาชีพที่เพิ่มสูงขึ้นโดยในมิติตนเองเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 14.6 มิติครอบครัวและสังคมเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 12.6 มิติอาชีพเพิ่มสูงขึ้น ร้อยละ 9.4 (2) ครูและนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า พอดคาสต์ที่ใช้กลยุทธ์เมตาคอกนิชันสามารถช่วยกระตุ้นให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นเกิดความตระหนักรู้ในอาชีพเพิ่มขึ้นได้จริง ช่วยทำให้บุคคลสามารถระบุบุคลิกความสนใจและความสามารถของตนเองได้ ทั้งยังช่วยให้บุคคลได้สำรวจและเปรียบเทียบระหว่างทักษะของตนเองกับสถานการณ์ในอาชีพการทำงานเพื่อจะได้รู้คุณค่าของการรู้ความแตกต่างระหว่างชีวิตและสถานการณ์ในอาชีพการทำงาน ทั้งยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจและความมั่นใจในการเลือกอาชีพในอนาคตได้ด้วย
Other Abstract: The purposes of this research were to study: (1) the level of improved career awareness of visually impaired sixth grade students before and after listening to podcasts using metaconitive strategies and (2) the opinions of teachers and visually impaired sixth grade students about the enhancement of career awareness after listening to podcasts using metacognitive strategies. The research was a population-based study at The school for The Blind. The samples were 10 visually impaired sixth grade students. The research instruments were: (1) podcasts that included 24 audio clips containing interviews with visually impaired role models in each occupational group, and a website for visually impaired people, (2) a Vocational Awareness Index, and 3) interview comment with; teachers and students giving their own opinions of using the podcasts with metacognitive strategies. The research findings were as follows: (1) The samples were 10 visually impaired sixth grade students who had an increased level of career awareness. The largest improvements were self-awareness, family and social perspective, and career perspective (14.6 %, 12.6 %, and 9.4 % respectively) (2) Both teachers and visually impaired sixth grade students agreed that the podcasts with metaconitive strategies stimulated and increased visually impaired sixth grade students’career awareness by enabling them to identify their personality, interests and abilities; to explore and compare their skills in a professional work situation; to evaluate the difference between life and work in a professional situation; and to boost inspiration and confidence in their future career choices.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45241
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2012.1298
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2012.1298
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parinut_ch.pdf2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.