Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4525
Title: การตรวจวัดสารมลพิษอากาศและการทำนายคุณภาพอากาศด้วยแบบจำลอง ISCST3 บริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
Other Titles: Measurement of air pollutants and prediction of air quality by ISCST3 model at Mae-Moh Power Plant
Authors: ทัศวรรณ ธีระเวชชวงศ์
Advisors: วนิดา จีนศาสตร์
สุรัตน์ บัวเลิศ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
bsurat@pioneer.netserv.chula.ac.th, S.bualert@chula.ac.th
Subjects: สารมลพิษ
มลพิษ
ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
ไนโตรเจนไดออกไซด์
ฝุ่น
โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการตรวจวัดสารมลพิษอากาศคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนบริเวณพื้นที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะช่วงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2544 ถึง 7 มกราคม 2545 ณ จุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 3 พื้นที่ คือ บริเวณบ้านพัก สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศหลัก และสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศบ้านสบป้าด ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ตรวจวัดโดยใช้ passive sampler ส่วนฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนตรวจวัดด้วยเครื่องเก็บอากาศเฉพาะบุคคลพร้อมหัวแยกไซโคลน ปริมาณก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์ และฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนที่ตรวจวัดได้นำมาเปรียบเทียบกับผลที่ได้จากการตรวจวัดด้วยเครื่องตรวจวัดแบบต่อเนื่อง ความสัมพันธ์ของซัลเฟอร์ไดออกไซด์และฝุ่นขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอนระหว่างค่าการตรวจวัดและค่าจากเครื่องตรวจวัดแบบต่อเนื่องพบว่ามีความสัมพันธ์สูงในทุกพื้นที่แต่สำหรับก๊าซไนโตรเจนไดออกไซด์มีความสัมพันธ์ต่ำยกเว้นที่สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศบ้านสบป้าด แบบจำลอง ISCST3 ถูกนำมาใช้ในการคำนวนความเข้มข้นของสารมลพิษอากาศสำหรับการตรวจสอบระยะสั้น ผลจากแบบจำลองในการศึกษาครั้งนี้พบว่าให้ค่าการทำนายต่ำกว่าค่าการตรวจวัด นั่นคือแบบจำลองที่เลือกใช้อาจจะไม่เหมาะสมสำหรับพื้นที่ซับซ้อน
Other Abstract: Air pollutants; SO[subscript 2], NO[subscript 2] and PM[subscript 10] were measured at Mae-Moh Power Plant area during November 2001 January 2002. Three sampling sites, housing area, main meteorological station and Ban Sobpad meteorological station were selected. SO[subscript 2] and NO[subscript 2] were measured using passive sampler, PM[subscript 10] was measured using personal air sampler with cyclone attatched. SO[subscript 2], NO[subscript 2] and PM[subscript 10] concentrations were compared with the result from continuous monitoring. Correlations of SO[subscript 2], PM[subscript 10] between field measurement and continuous monitoring were high at all sites, but correlation of NO[subscript 2] was very low except at Ban Sobpad meteorological station. ISCST3 model was used to predict the air pollutants concentration for the short term monitoring data. The prediction from this model showed the underestimate values compared with the measurement values. This may be due to the selected air modelling was not suitable for this complex areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4525
ISBN: 9741752229
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tassawan.pdf3.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.