Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/452
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชุดา รัตนเพียร-
dc.contributor.authorศุภางค์ ไทยสมบูรณ์สุข, 2522--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-06-22T09:26:44Z-
dc.date.available2006-06-22T09:26:44Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741768524-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/452-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเพื่อหารูปแบบที่เหมาะสมของการเรียนแบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริง สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่มในห้องเรียนเสมือนจริง 3. เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ได้ก่อนและหลังการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง และ 4. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนต่อรูปแบบการเรียนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ อันได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ด้านการเรียนแบบร่วมมือและด้านการเรียนการสอนบนเว็บรวม 9 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้เรียน ได้แก่ นิสินคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ลงทะเบียนเรียนในวิชาการเรียนการสอนบนเว็บขั้นนำ จำนวน 20 คน ซึ่งมีทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ตเพื่อติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี โดยจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 3 ชั่วโมง ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริงแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นก่อนการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1.1 ผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา เกณฑ์ในการวัดและประเมินผลผู้เรียน และกิจกรรมการเรียนการสอน 1.2 ผู้สอนสร้างห้องเรียนเสมือนจริงตามกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในขั้นก่อนหน้านี้ 1.3 ผู้สอนทำการฝึกทักษะที่จำเป็นในการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริงให้แก่ผู้เรียน 1.4 ผู้เรียนเตรียมหัวข้อที่ตนเองสนใจ เพื่อทำกิจกรรมกลุ่ม 1.5 ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ขั้นระหว่างการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 ผู้เรียนทำการเรียนโดยปฏิบัติตามข้อตกลง 2.2 ผู้เรียนแบ่งกลุ่มและดำเนินกิจกรรมตามที่ผู้สอนกำหนด 2.3 ผู้เรียนส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย 2.4 ผู้สนอให้คำแนะนำและชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ขั้นติดตามผลหลังการเรียนในห้องเรียนเสมือนจริง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 3.1 ผู้เรียนนำเสนอผลงานของกลุ่ม 3.2 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน 3.3 ผู้เรียนทำแบบสอบถามความพึงพอใจเกี่ยวกับรูปแบบการเรียน 3.4 ผู้สอนรายงานผลการเรียนและให้คำแนะนำเพิ่มเติมแก่ผู้เรียน 2. รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริงที่ได้พัฒนาขึ้น ทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในระดับมากen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: 1) study the opinions of panel experts for the appropriate Co-op Co-op cooperative learning model; 2) develop co-op co-op cooperative learning model in virtual classroom; 3) compare students pre and post learning achievement after learning from virtual classroom co-op co-op cooperative learning model; 4) study students' opinion on the virtual classroom co-op co-op cooperative learning model. The samples comprised of two groups. The first group consisted of nine experts in cooperative learning and web-based learning. The second group consisted of 20 undergraduate students from the Faculty of Education, Chulalongkorn University. The results of the research were: 1. The co-op co-op cooperative learning model on Project Management Topic in virtual classroom comprised of 3 steps as follows: Step1. Pre virtual classroom session which can be described as follows: 1.1 Objectives content evaluation criteria and learning activities were assigned by instructor. 1.2 The instructor developed virtual classrooms according to learning activities designed in the previous step. 1.3 The instructor provided necessary virtual classroom learning skills to students. 1.4 Students prepared their own topics of interest for their group activities. 1.5 Students completed the pre-test before attending the virtual classrooms. Step 2: During virtual classrooms session which can be described as follows: 2.1 Students performed learning activities according to the agreement. 2.2 Students divided themselves into groups and completed activities that were assigned by instructor. 2.3 Student submitted assignments to instructor. 2.4 The instructor provided advices and learning guidelines. Step 3: Post virtual classroom session which can be described as follows: 3.1 Students presented group assignment to the class. 3.2 Students completed post-tests. 3.3 Students completed questionnaire surveying their opinion on the learning model. 3.4 The instructor reported students’ learning achievement and provided additional advices to students. 2. The use of the co-op co-op cooperative learning model developed for this study allowed the students to show a gain in post test score of statistically significant at a 0.5 level. 3. Students showed a high level of satisfaction on the learning model developed.en
dc.format.extent1842013 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.762-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--นิสิตen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectการทำงานกลุ่มในการศึกษาen
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือแบบร่วมกลุ่มเรื่องการบริหารโครงการในห้องเรียนเสมือนจริงสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.title.alternativeThe development of Co-op Co-op cooperative learning model on project managment topic in virtual classroom for undergraduate students in the Faculty of Education Chulalongkorn Universityen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineโสตทัศนศึกษาen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorVichuda.R@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.762-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suphang.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.