Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา-
dc.contributor.authorปรวรรณ อ่ำช่วย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2015-09-15T04:13:09Z-
dc.date.available2015-09-15T04:13:09Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45300-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพและลักษณะกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์ของนิสิตครู 2)เพื่อสร้างและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครูโดยใช้แนวคิดการพิจารณางานโดยเพื่อนแบบมีปฏิสัมพันธ์และ 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์ของนิสิตครูโดยใช้แนวคิดการพิจารณางานโดยเพื่อนแบบมีปฏิสัมพันธ์การวิจัยและพัฒนาใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีการเชิงคุณภาพและการทดลอง ตัวอย่างในการศึกษาเชิงคุณภาพคือ นิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 3-5 จำนวน 10 คน และตัวอย่างในการทดลองคือ นิสิตคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 24 คนแบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 12 คนและกลุ่มควบคุมจำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์นิสิตครูเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์ แบบทดสอบการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียน และกิจกรรมส่งเสริมทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครูโดยใช้แนวคิดการพิจารณางานโดยเพื่อนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ วิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ค่าที (t-test)ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. กิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์ที่นิสิตเคยได้รับส่งเสริมความสามารถ 9 ด้าน ได้แก่ การตั้งคำถาม การวิเคราะห์ข้อโต้แย้ง การถามและตอบคำถามเพื่อให้เกิดความชัดเจน การพิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล การสังเกตและตัดสินผลที่ได้จากการสังเกต การให้เหตุผลเชิงนิรนัย การแยกแยะข้อสรุป การตัดสินใจ และการมีปฏิสัมพันธ์ ขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์ที่นิสิตได้รับแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน การเลือกหัวข้องาน กิจกรรมการวิพากษ์ การนำเสนอ และการประเมินผล ความต้องการของนิสิตครูต่อกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านขั้นตอนของกิจกรรมการวิพากษ์ ด้านความรู้ ด้านบรรยากาศในการวิพากษ์และด้านการประเมินผล 2. ส่วนประกอบของกิจกรรมส่งเสริมทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครูโดยใช้แนวคิดการพิจารณางานโดยเพื่อนอย่างมีปฏิสัมพันธ์ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมการอบรมความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียน กิจกรรมฝึกการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียน และกิจกรรมการประเมินผล 3. ผลการทดลองใช้กิจกรรมฯ พบว่า นิสิตครูกลุ่มทดลองกับนิสิตครูกลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยในชั้นเรียนไม่แตกต่างกัน แต่นิสิตครูกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนสูงกว่านิสิตครูกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยมีค่าขนาดอิทธิพลระดับสูง(effect size,d = 2.0)en_US
dc.description.abstractalternativeThe research objectives were (1) to study state of activities to promote student teachers’ critique skills (2) to create and develop the activities to promote student teachers’ research critique skills and(3)to study results of research critique skillswhen they use the activities. The research procedure consisted of 3 phases; qualitative research, the activities development, and true experiment. The samples of the qualitative research were 10 student teacher from level 3-5. The instrument was an interview sheet and in true-experiment phase, the samples were 24 student teacher on level 4 who already passed study on research to improve teaching and learning subject. They were divided into 2 groups; 12 persons with control group and 12 persons with experiment group. The research instrument used in this phase were research critique test. The data analysis was conducted with content analysis, descriptive analysis and t-test for independent. The research results were as following: 1) Activities that promote critical skills that students has been able to promote the nine areas of questioning to analyze arguments. Asking and answering questions to provide clarity. The reliability of the data.To observe and judge the results of the observation.The deductive reasoning.Discrimination conclusive decision and interaction.Process of teaching and learning activities that promote critical skills that students have been divided into four steps to select a task.Activities, presentations, and critical evaluation. 2) The developed activities to promote student teachers’ research critique skills. There were 3 main activities; the classroom action research teaching activities, the classroom action research critique practicing activities and research critique assessment activities. 3) The effectiveness of this developed process could be reported as follows: This results of this developed process implementation showed that the experiment group test mean score in research critique skills was significantly higher than control group at 0.05 level of significant by large effect size (d=2.0)en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอนen_US
dc.subjectการวิพากษ์en_US
dc.subjectชั้นเรียนen_US
dc.subjectActivity programs in educationen_US
dc.subjectCriticismen_US
dc.subjectClassroomsen_US
dc.titleการวิจัยและพัฒนากิจกรรมส่งเสริมทักษะการวิพากษ์งานวิจัยในชั้นเรียนของนิสิตครู โดยใช้แนวคิดการพิจารณางานโดยเพื่อนอย่างมีปฏิสัมพันธ์en_US
dc.title.alternativeResearch and development of activities to promote student teachers’ research critique skill by interactive peer reviewen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiripaarn.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porawan_am.pdf4.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.