Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45453
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรสัณฑ์ บูรณากาญจน์en_US
dc.contributor.authorมอนเด ดาษดาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:02:07Z
dc.date.available2015-09-17T04:02:07Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45453
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractเหตุการณ์เมื่อปี 2554 ประเทศไทยเกิดอุกภัยอย่างหนัก ผู้คนไร้ที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถพึ่งพิงระบบสาธารณูปโภคสาธารณะขั้นพื้นฐานได้ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น การแก้ปัญหาดังกล่าวสำหรับการอยู่อาศัยจากงานวิจัยบ้านลอยน้ำต้นแบบมี คุณสมบัติการใช้วัสดุผิวอาคารที่มีน้ำหนักเบาและมีค่าฉนวนกันความร้อนจากภาย นอกได้ดี มีผลให้ใช้พลังงานในการสร้างสภาววะน่าสบายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบลักษณะบ้านลอยน้ำต้นแบบกับบ้านทั่วไปในพื้นที่เท่ากัน พบว่าบ้านลอยน้ำต้นแบบมีอุณหภูมิใกล้เคียงสภาวะน่าสบายมากกว่าบ้านทั่วไปและ สามารถพักอาศัยอยู่ได้ในขณะเกิดอุทกภัยแต่ยังขาดพลังงานไฟฟ้าที่จะดำรงชีวิตได้อย่างเป็นปกติ จากการศึกษาพบว่าบ้านลอยน้ำต้นแบบยังขาดแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ ในการดำรงชีวิตในช่วงที่เกิดอุทกภัย เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า ไมโครเวฟ แสงสว่าง ตู้เย็น เครื่องกรองน้ำ ปั้มน้ำ กาต้มน้ำร้อน ชาร์ทโทรศัพท์ มือถือ ทีวี พัดลม เป็นต้น จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยเรื่องนวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับบ้านลอยน้ำ เพื่อทำให้บ้านลอยน้ำสามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างพอเพียงในช่วงเกิดอุทกภัยน้ำท่วม การนำพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้สำหรับบ้านลอยน้ำต้องคำนึงถึงตัวแปรทั้งในส่วน ของ การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดเก็บแหล่งพลังงานด้วยแบตเตอร์รี่ และการนำพลังงานไฟฟ้ามาใช้ภายในบ้านลอยน้ำโดยจะนำแนวความคิดแบบผสมผสานระหว่างช่วงการผลิตพลังงานที่เกินกว่าการใช้งานจากผู้ใช้นำมาจัดเก็บไว้ในแบตเตอร์รี่ แต่เมื่อภาคการผลิตพลังงานได้น้อยกว่าหรือไม่มีการผลิตพลังงาน ภาคการใช้งานพลังงงานไฟฟ้าก็จะดึงพลังงานไฟฟ้ามาจากแบตเตอร์รี่มาเสริมหรือ แทนเข้าไป เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยภายในบ้านลอยน้ำมีแหล่งพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่องจำนวนผู้อยู่อาศัยไม่เกิน 3 คน พร้อมทั้งนำเสนอรูปแบบเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยเข้าใจระบบพลังงานสำรองที่มีอยู่ เพื่อปรับพฤติกรรมในการดำรงชีวิตตามการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ได้รับในแต่ละวัน โดยกำหนดให้มีพฤติกรรม 4 รูปแบบดังนี้ แบบที่ 1 กรณีเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดรวมกันทั้งวันได้พลังงาน 1 ชั่วโมงวัตต์พีค จะสามารถใช้พลังงานสำหรับหุงข้าวจากหม้อไฟฟ้าได้ 2 ช่วงเวลา คือช่วงเช้าและช่วงเย็นใช้การอุ่นอาหารหรือทำอาหารจากเตาไมโครเวฟได้ 10 นาที สามารถใช้เครื่องกรองน้ำทำน้ำดื่มและน้ำบริโภคต่างๆได้เป็นเวลา 2 ชั่วโมง สามารถใช้ปั๊มน้ำได้ 1 ชั่วโมงใช้อุปกรณ์ชาร์ทโทรศัพท์มือถือได้ 40 นาที ซึ่งเพียงพอต่อโทรศัพท์มือถือจำนวน 2 เครื่อง สามารถรับข่าวสารทางโทรทัศน์ได้วันละ 2 ชั่วโมงสามารถเปิดพัดลมต่อเนื่องกันได้ 3 ชั่วโมง ใช้ไฟแสงสว่างบริเวณด้านหน้าอาคารได้ตลอดทั้งคืนและในส่วนพื้นที่ใช้งานภาย ในอาคารห้องนอนและห้องน้ำจะเปิดได้ต่อเนื่องได้ประมาณ 8 ถึง 9 ชั่วโมงตามความต้องการในการใช้พื้นที่นั้นๆ แบบที่ 2 กรณีเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดรวมกันทั้งวันได้พลังงาน 2 ชั่วโมงวัตต์พีค การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าสามารถเพิ่มกาต้มน้ำไฟฟ้าได้ 10 นาทีใช้เครื่องกรองน้ำได้เพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมงสามารถใช้ตู้เย็นขนาด 5 คิว ได้อย่างต่อเนื่อง 5 ชั่วโมง ใช้เครื่องปรับอากาศได้ 1 ชั่วโมง แบบที่ 3 กรณีเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดรวมกันทั้งวันได้พลังงาน 3ชั่วโมงวัตต์พีค สามารถใช้เตาไมโครเวฟเพิ่มขึ้นอีก 10 นาที สามารถใช้กาต้มน้ำได้เพิ่มขึ้น 10 นาที สามารถใช้ปั๊มน้ำเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง สามารถใช้ตู้เย็นขนาดหาคิวเพิ่มขึ้น 4 ชั่วโมง สามารถใช้เครื่องปรับอากาศได้ 2 ชั่วโมง แบบที่ 4 กรณีเซลล์แสงอาทิตย์ได้รับแสงแดดรวมกันทั้งวันได้พลังงาน 4 ชั่วโมงวัตต์พีคจะสามารถใช้เครื่องกรองน้ำเพิ่มขึ้น 1 ชั่วโมง สามารถใช้ตู้เย็นขนาด 5 คิวเพิ่มขึ้นอีก 3 ชั่วโมง สามารถใช้พัดลมเพิ่มขึ้นอีก สามารถใช้เครื่องปรับอากาศได้ 4 ชั่วโมงen_US
dc.description.abstractalternativeSince 2011,Thailand faced heavily flooded disasters. Many people had no home or appropriate shelter.They had on public utilities such as water supply and electricity. Floating house prototype with the use of lightweight materials and insulation are introduced. The floating house can reduce external heat from outside. So inside air temperature would close to ambient environment but the residents still need utilities to live as normal. The home facilities needed are electric rice cooker, microwave, refrigerator, lighting, water pumps, and water supply. This study aimed to develop renewable sources of energy as solar power for floating house. Solar energy must take into account a range of variables. Direct use of electric power and save energy in batteries were explored. It brings the concept of combining the energy production exceeds daily needs and stored in batteries. During night time, electrical energy was used from battery system. The energy system was designed for up to three people with understanding energy reserves available due to customize living behaviors. The electrical power would calculate for only four hour peak daily. It was proved that the electrical energy generated by photovoltaic system is enough for normal living with four alternatives. First, in case of having only an hour sunlight, solar power would generate as one hour watts peak. It can be used for rice cooking, electrical pot for 2 hours, electrical hot pan for 1 hour or cooking oven for 10 minutes, water filter system for 2 hours, water pump for one hour, and charging mobile phone for 40 minutes. Then it can supply television for 2 hours or electric fan continuously for three hours. It provides light bulb in front of the building during the night and all light bulbs continuously for 8 to 9 hours. Second, in case of having 2 hours sunlight, solar power would generate as 2 hour watts peak. Residents can use all appliances longer as electric pot for 10 minutes, water filter system 1 hour more, 5-cubic refrigerator continuously for 5 hours, and air conditioning for 1 hour. Third, in case of having 3 hours sunlight, solar power would generate as 3 hour watts peak. Residents can use all appliances longer than the second case as microwave for 10 minutes more, electrical pot 10 minutes more, refrigerator for 9 hours continuously, water pump for 1 hour, and 2 to 4 hours air conditioning. Fourth, in case of having all day long sunlight, solar power would generate as 4 hour watts peak. Residents can use all appliances longer than the third case as increased water filter system for an hour more, refrigerator for 12 hours continuously, and air conditioning for 5 hours.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.925-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำท่วม
dc.subjectสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัย
dc.subjectพลังงาน
dc.subjectระบบกำลังไฟฟ้าโฟโตวอลเทอิก
dc.subjectพลังงานแสงอาทิตย์
dc.subjectเซลล์แสงอาทิตย์
dc.subjectกระแสไฟตรง
dc.subjectกระแสไฟสลับ
dc.subjectFloods
dc.subjectArchitecture, Domestic
dc.subjectPower resources
dc.subjectPhotovoltaic power systems
dc.subjectSolar energy
dc.subjectSolar cells
dc.subjectElectric currents, Direct
dc.subjectElectric currents, Alternating
dc.titleนวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับบ้านลอยน้ำen_US
dc.title.alternativeTHE INNOVATION OF PHOTOVOLTAIC ELECTRICAL ENERGY FOR FLOATING HOUSEen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVorasun.B@Chula.ac.th,vorasun1@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.925-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5473400125.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.