Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45481
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ | en_US |
dc.contributor.author | รพีพรรณ์ โพธิ์ประทับ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:02:25Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:02:25Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45481 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองความตาย การตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้ป่วยภาวะสมองตาย และวิเคราะห์ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของการให้ความหมายทางสังคม ตามแนวคิดปรากฏการณ์นิยม ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับครอบครัวของผู้ป่วยภาวะสมองตายที่ได้มีการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ จำนวน 10 ครอบครัว ผลการวิจัย พบว่า ครอบครัวของผู้ป่วยภาวะสมองตายมีมุมมองด้านความตาย คือ หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ อวัยวะในร่างกายหยุดทำงาน ไม่มีการเคลื่อนไหว ความตายเป็นธรรมชาติ ไม่สามารถคาดเดาล่วงหน้า ด้านความเชื่อ ความตายเป็นการเดินทางไปอีกโลกหนึ่ง ที่เป็นโลกแห่งวิญญาณและการชดใช้กรรม ด้านภาวะสมองตาย เป็นภาวะที่สมองเสียหายจนไม่สามารถใช้การได้ แพทย์ไม่สามารถรักษาได้ ทำให้ร่างกายไม่มีการตอบสนอง เมื่อเปรียบเทียบกับการตาย ภาวะสมองตายถือเป็นความทรมานที่เทียบเท่าการตาย การตัดสินใจบริจาคอวัยวะ ครอบครัวของผู้ป่วยภาวะสมองตายจะนำเอาความเชื่อ ความเข้าใจเรื่องความตาย ภาวะสมองตาย และกระบวนการบริจาคอวัยวะ บุคลิกของผู้ป่วยภาวะสมองตาย ความตั้งใจของผู้ป่วยที่มีต่อการบริจาคร่างกายหรืออวัยวะก่อนที่จะประสบเหตุ และการให้การดูแลรักษาที่ดีของแพทย์และพยาบาลระหว่างที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ โดยมีความไว้วางใจในแพทย์ พยาบาล และโรงพยาบาลเป็นหลักใหญ่ที่ทำให้เกิดการตัดสินใจ การตัดสินใจบริจาคอวัยวะมี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นก่อนการตัดสินใจ ขั้นการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ และ ขั้นการยอมรับการตัดสินใจ ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ พิจารณาจากสิ่งที่ครอบครัวของผู้ป่วยภาวะสมองตายนำมาใช้ในการตัดสินใจ แบ่งออกเป็น 1) ทุนความรู้ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเรื่องความตาย ภาวะสมองตาย และกระบวนการบริจาคอวัยวะ 2) ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม ได้แก่ ความเชื่อ และการมีจิตสำนึกเพื่อสังคม และ 3) ทุนด้านระบบความสัมพันธ์ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ ผู้ป่วย และครอบครัวของผู้ป่วยระหว่างการรักษาพยาบาลทั้งในช่วงก่อนและหลังเกิดภาวะสมองตาย ทุนทางสังคมยังสามารถอธิบายเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายใต้การตัดสินใจบริจาคอวัยวะ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ระบบคิด วิธีปฏิบัติ และ ผลลัพธ์ สิ่งที่ถูกนำมาเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจบริจาคอวัยวะนั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของทุนทางสังคมที่ถูกดึงออกมาใช้ และในท้ายสุดของเหตุการณ์การสูญเสียหรือกระบวนการการตัดสินใจบริจาคอวัยวะ ทุนนั้นล้วนเป็นผลลัพธ์กลับคืนสู่สังคมในรูปของความเชื่อและความรู้ที่งอกเงยเพิ่มพูน พร้อมจะนำไปใช้ในประโยชน์ในการร่วมมือครั้งต่อไป | en_US |
dc.description.abstractalternative | The aims of this study were ; the brain death donors’ families perspectives toward death and organ donation, and social capital affected in decision making for organ donation. The study was confined to the qualitative method defined the social capital based on existing phenomenological method. An in-depth interview was used for obtaining retrospective information from ten brain death donors’ families. The research finding : the organ donors’ families have perceptions toward death and brain death conditions were cardiac arrest, non- breathing, organs stop functioning, and non- movements, death is natural and uncertain. The believe of death is a journey to the next world - redemption and spirits. The brain death is the brains get immensely damaged, non-responsive body and remedy, the brain death condition is reckoned to contain as much suffering as death. The decision making for organ donations are consisting of ; beliefs, understanding about death and brain death condition, the brain death patients’ personality, recognition of the patient’s intention for organ donation, understanding about organ donation, and trust in medical performances of doctors, nurses and the hospitals. Organ donation involves in processing through three phrases; pre-decision making , decision making , and decision compliance Social capital for organ donated decision making are consisting of ; 1) intellectual capital is the perception and understanding death, brain death and organ donation, 2) wisdom and cultural capital is the belief and social minded, and 3) inter-personal relationship capital is the relation with doctors, brain death patients and families . The social capitals were involved in decision making for organ donation at three stages ; conceptual stage, implementing stage, and outcome stage. Factors affecting making the decision for organ donations were the partial of social capitals for utilized in the brain death donation or processing of decision making for organ donation. The social capital were outcomes reversed to society in the partial of believe and increasing knowledge utilized for social interaction. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | ทุนทางสังคมในการตัดสินใจบริจาคอวัยวะของครอบครัวผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย | en_US |
dc.title.alternative | SOCIAL CAPITAL OF THE DECISION MAKING OF BRAIN DEATH DONOR’s FAMILIES | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Pavika.S@Chula.ac.th,pavika.p@gmail.com | en_US |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480620024.pdf | 4.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.