Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45638
Title: สรีระสัมพันธ์ : กระบวนการพัฒนาทักษะความเป็นนักดนตรีโดยใช้บทฝึกดนตรีเพื่อการเคลื่อนไหว
Other Titles: SAREERASAMPHAN : METHODOLOGICAL APPROACH TO ENHANCE MUSICIANSHIP THROUGH BODY MOVEMENT-RELATED MUSIC
Authors: นิลวรรณา อึ้งอัมพร
Advisors: ณัชชา พันธุ์เจริญ
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: natchar.p@chula.ac.th
narongrit.d@chula.ac.th
Subjects: ดนตรี
ความสามารถทางดนตรี
จังหวะดนตรี
สรีรวิทยามนุษย์
การเคลื่อนไหวของมนุษย์
Music
Musical ability
Musical meter and rhythm
Human physiology
Human mechanics
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: “สรีระสัมพันธ์” หมายถึง วิธีการสอนดนตรีผ่านทักษะการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างมีจังหวะ และสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเสียงดนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นนักดนตรี (musicianship) ซึ่งประกอบด้วยทักษะสำคัญหลายด้าน เช่น โสตทักษะ ไหวพริบทางจังหวะ การแสดงออกทางดนตรี ทักษะทางด้านจังหวะเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดของการเป็นนักดนตรีที่ดี แต่นักดนตรีจำนวนไม่น้อยยังมีความบกพร่องทางจังหวะ บทฝึกดนตรี “สรีระสัมพันธ์” สร้างสรรค์จากการนำประสบการณ์สอนดนตรีตามแนวคิดของดัลโครส (Dalcroze Eurhythmics) ผนวกกับการศึกษาปรัชญาการสอนดนตรีร่วมสมัย รูปแบบจังหวะของเพลงนำมาจากจังหวะธรรมชาติที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของมนุษย์ เช่น เดิน วิ่ง กระโดด แกว่งแขน ไกวตัว ฯลฯ ชุดบทฝึก “สรีระสัมพันธ์” ประกอบด้วยบทเพลงเปียโน 30 เพลงสำหรับบรรเลงประกอบกิจกรรมดนตรีที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวร่างกาย แบ่งเป็น 3 ระดับขั้น ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง บทฝึกนี้จะเป็นประโยชน์แก่นักเรียนดนตรีและบุคคลทั่วไปที่ต้องการพัฒนาทักษะความเป็นนักดนตรี
Other Abstract: Sareerasamphan is a methodological approach to enhance musicianship through body movement rhythmically coordinated to music. The goal of this method is to develop musicianship skill in the areas of hearing perception, rhythmic sense, and musical expression. Rhythmic sense is one of the most important skills necessary for good musicianship which is unfortunately an area of weakness for many musicians. The collection of Sareerasamphan was created from the researcher’s own teaching experiences based on the philosophy of Emile Jaques-Dalcroze (Eurhythmics) together with contemporary music teaching philosophy and kinesiology. This includes research on the natural rhythm of certain movements such as walking, running, jumping, skipping, arm swinging, etc. The collection consists of 30 exercises composed for piano with notation of movements, aiming to develop musicianship skills. The exercises can be divided into three levels: elementary, intermediate, and advanced. Sareerasamphan is designed for both musicians and the general populace who seek to enhance their musicianship.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45638
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1026
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1026
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586809535.pdf21.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.