Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45653
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐชา ทวีแสงสกุลไทยen_US
dc.contributor.authorณัฐ ถิรธรรมานุกูลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:05Z
dc.date.available2015-09-17T04:04:05Z
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45653
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้เพื่อปรับปรุงคุณภาพโรงอาหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยนี้ประกอบไปด้วย 5 ระยะ ได้แก่ (ระยะที่ 1) ระยะการสร้างแบบเครื่องมือในงานวิจัย มีการวิเคราะห์หาความต้องการของลูกค้าโดยการรวบรวมข้อมูลข้อร้องเรียนและการสัมภาษณ์ลูกค้าประกอบไปด้วย นิสิต บุคลากรและคณาจารย์ของคณะฯ จากนั้นสร้างแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ (ระยะที่ 2) ระยะการวัดความพึงพอใจของลูกค้า เป็นการวัดความพึงพอใจของลูกค้าผ่านเครื่องมือ SERVQUALโดยแบบสอบถาม จากนั้นวิเคราะห์และสรุปผลที่ได้จากแบบสอบถาม (ระยะที่ 3) ระยะการสร้างการแปลงหน้าที่ผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ มีการประยุกต์ใช้ SERVQUAL เข้ากับการแปลงหน้าที่ผลิตภัณฑ์เชิงคุณภาพ (QFD) เพื่อเปลี่ยนความต้องการของลูกค้าไปเป็นข้อกำหนดทางเทคนิค (ระยะที่ 4) ระยะการปรับปรุงคุณภาพ มีการวิเคราะห์และสรุปแผนงานปรับปรุงเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการคณะฯและคณะกรรมการโรงอาหาร เพื่อขออนุมัติในการปรับปรุง (ระยะที่ 5) ระยะควบคุมคุณภาพ มีการประเมินความเสี่ยงหลังจากการปรับปรุง การตรวจประเมินมาตรฐานด้านสุขาภิบาลอาหารของกรุงเทพมหานครโดยสำนักงานเขตปทุมวัน และการวัดความพึงพอใจของลูกค้าหลังการปรับปรุง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจคือ ผลการตรวจประเมินสุขลักษณะด้านกายภาพและการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างอาหารของโรงอาหารคณะฯ ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด ทำให้ได้หนังสือรับรองมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรุงเทพมหานครและความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและการรับรู้ของลูกค้าใน 5 มิติของ SERVQUAL ลดลงในทุกๆด้าน ซึ่งคุณภาพบริการโดยรวมมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก -0.816 เป็น -0.327 หรือเพิ่มขึ้น 59.93%en_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research is to improve the canteen faculty of engineering, Chulalongkorn University. The procedure of this research consists of five phases. Phase 1, designing a research tool, was to analyse customer needs by gathering complaint information and customer feedback interviews consisted of students, faculty members, and supportive staff. Summary from stakeholders was used to design a validated quality and reliable questionnaire. Phase 2, measurement of customer satisfaction, was to measure, analyse and summarize customer satisfaction through SERVQUAL questionnaire. Phase 3, designing of QFD with SERVQUAL model, was to translate customer needs into technical requirements. Phase 4, quality improvement, analyzed and concluded of improvement plan and get approval from the faculty and committees canteen board of faculty of engineering. Phase 5, quality control, evaluated risk after improvement, the canteen was audited by the food sanitation of Bangkok from Pathumwan district office. In addition, customer satisfaction after improvement was assessed the outcome is satisfactory from the results of audits, physical hygiene and food samples analysis passed all criteria conducting Food Safety Standards Certificate of Bangkok. In addition, the gap in five dimensions of SERVQUAL between customer perceptions and expectations is obviously decreased. Overall level of SERVQUAL is increased from -0.816 to -0.327 or 59.93%en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1037-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการกระจายการทำงานเชิงคุณภาพ
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- บริการอาหาร -- การควบคุมคุณภาพ
dc.subjectQuality function deployment
dc.subjectUniversities and colleges -- Food service -- Quality control
dc.subjectSERVQUAL (Service quality framework)
dc.titleการปรับปรุงคุณภาพโรงอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeCANTEEN QUALITY IMPROVEMENT IN FACULTY OF ENGINEERING CHULALONGKORN UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisornatcha.t@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2014.1037-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670190021.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.