Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45665
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นครทิพย์ พร้อมพูล | en_US |
dc.contributor.author | ภัทรา ฐิติเสถียรกุล | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-17T04:04:13Z | - |
dc.date.available | 2015-09-17T04:04:13Z | - |
dc.date.issued | 2557 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45665 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557 | en_US |
dc.description.abstract | คุณภาพของเอกสารข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนให้องค์กรที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์สามารถพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า เนื่องจากใช้เป็นข้อมูลนำเข้าในการพัฒนาและเป็นเบสไลน์ในการทวนสอบความถูกต้องของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตามยังคงมีองค์กรเป็นจำนวนมากที่ไม่สามารถพัฒนาและส่งมอบผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าได้ สาเหตุหนึ่งที่สำคัญนั้นมาจากข้อบกพร่องที่ปรากฏในเอกสารข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาธรรมชาติที่อาจมีความกำกวมในการระบุความต้องการ รวมถึงโครงสร้างของเอกสารที่ไม่เหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนอการนิยามมาตรวัดและเครื่องมือสนับสนุนสำหรับการประเมินคุณภาพของเอกสารข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ในเชิงวัตถุวิสัยใน 3 ด้านคือ ด้านการใช้ภาษาธรรมชาติในการระบุความต้องการ ด้านโครงสร้างของเอกสาร และคุณภาพโดยรวมของเอกสาร เพื่อชี้บอกระดับคุณภาพ และระบุข้อบกพร่องที่ปรากฏของเอกสารนี้ โดยมาตรวัดที่นิยามนั้นได้เลือกลักษณะเฉพาะของข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ที่ดีตามที่มาตรฐานไอทริปเปิลอี 830 ซึ่งได้ให้คำแนะนำไว้มาพิจารณาเพียง 3 ประการคือ ความไม่กำกวม การทวนสอบได้ และการดัดแปรได้ โดยประยุกต์ใช้แบบจำลองการประเมินกระบวนการ แบบจำลองกระบวนการวัด และแบบจำลองสารสนเทศการวัด เป็นกรอบงานสำหรับการประเมินคุณภาพ แนวทางในการนำเสนอวิธีการประเมินคุณภาพ และการนิยามมาตรวัดสำหรับการประเมินคุณภาพของเอกสารข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์ตามลำดับ และได้ทำการทดลองโดยหน่วยทดลองจำนวน 13 ราย เพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรวัดที่นำเสนอ โดยประยุกต์ใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สันเป็นสถิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์การประเมินเอกสารข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์โดยใช้มาตรวัดที่ได้นิยามกับผลลัพธ์การประเมินที่ได้จากหน่วยทดลอง ชี้ให้เห็นว่าผลลัพธ์ทั้งสองชุดนี้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน | en_US |
dc.description.abstractalternative | The quality of the Software Requirements Specifications (SRS) is an important factor that supports software development companies to develop and deliver software products to satisfy customer need since it is normally used as an input for software development process and as a baseline for verifying the correctness of the software products. However, many organizations are still unable to develop and deliver software products meet user requirements. One of the major causes comes from defects in the SRS, especially the use of natural language to specify requirements, and the inappropriateness of document structure. This research presents metrics definition and a supporting tool for objectively assessing the quality level of the SRS for 3 aspects: the use of natural language to specify requirements, the document structure, and the overall quality and identifying the appeared defects. The proposed metrics are defined for the selected three characteristics of good SRS; unambiguous, verifiable and modifiable, which are recommended by IEEE 830 standards. The process assessment model, the measurement process model and the measurement information model are applied. Moreover, the experiment had been performed by 13 experimental units for evaluating the effectiveness of the proposed metric. Pearson’s correlation coefficient was used to compare the SRS evaluation results. It has a positive value indicating that the results obtained by using the defined metrics and the results expected by experimental units have to same direction. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การนิยามมาตรวัดสำหรับการประเมินคุณภาพของข้อกำหนดความต้องการซอฟต์แวร์บนพื้นฐานของคุณลักษณะและโครงสร้างของเอกสาร | en_US |
dc.title.alternative | DEFINING METRIC FOR QUALITY ASSESSMENT OF SOFTWARE REQUIREMENTS SPECIFICATIONS BASED ON CHARACTERISTICS AND DOCUMENT STRUCTURE | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Nakornthip.S@Chula.ac.th,Nakornthip.S@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670330521.pdf | 16.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.