Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45667
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมาโนช โลหเตปานนท์en_US
dc.contributor.authorลภน เกศชัยกุลรัตน์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:13Z-
dc.date.available2015-09-17T04:04:13Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45667-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบันมีความถี่ในการเกิดและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นสำนักงานบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยต้องการที่จะเพิ่มความสามารถในการตอบสนองต่อผู้ประสบภัยโดยจะต้องสามารถแจกจ่ายสิ่งของบริจาคได้เพียงพอทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จึงมีความต้องการเพิ่มพื้นที่คลังบรรเทาทุกข์ในการเก็บสิ่งของบริจาค โดยปกติแล้วการวิเคราะห์ปัญหาการเลือกที่ตั้งคลังสามารถทำได้ 2 วิธี คือ วิธีเชิงคุณภาพและวิธีเชิงปริมาณ ซึ่งปกติการวิเคราะห์ทั้ง 2 วิธีจะวิเคราะห์แยกกัน ถ้าพิจารณาในแง่ของบริษัทเอกชนตัวแปรที่มีน้ำหนักมากในการวิเคราะห์คือ ต้นทุน แต่ในงานวิจัยนี้การเลือกที่ตั้งคลังบรรเทาทุกข์ต้นทุนไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ต้องคำนึงแต่จะต้องคำนึงถึงศักยภาพในการดำเนินการของคลังด้วยเช่นกัน ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงใช้วิธีการหาค่าที่ดีที่สุดภายใต้สมการหลายวัตถุประสงค์ประกอบกับทฤษฎีการครอบงำของพาเรโต เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการเลือกที่ตั้งคลังบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยภายใต้วิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน โดยคำตอบที่ได้จะเป็นเซทคำตอบที่คำนึงถึงปัจจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกัน และนอกจากนี้ในงานวิจัยยังวิเคราะห์ความอ่อนไหวของแบบจำลองดังกล่าวเพื่อทำแผนในการเลือกที่ตั้งคลังบรรเทาทุกข์ให้แก่สำนักงานบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย จากการพิจารณาการเลือกตำแหน่งคลังบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยด้วยวิธีเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณร่วมกันโดยแยกวิเคราะห์กรณีภาวะปริมาณความต้องการปกติและในภาวะเกิดภัยพิบัติ คำตอบที่ได้ในกรณีปริมาณความต้องการปกติ คือ การเลือกเปิดคลังที่อังรีดูนังต์ที่เดียว และในส่วนของกรณีภาวะเกิดภัยพิบัติ คำตอบที่ได้ คือ การเลือกเปิดคลังที่อังรีดูนังต์และบางแคพร้อมกัน 2 คลัง และเมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของแบบจำลอง แผนการที่นำเสนอต่อสำนักงานบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทย คือ ในภาวะปกติให้เปิดคลังที่อังรีดูนังต์ที่เดียว โดยคลังที่บางแคจะต้องเตรียมพร้อมไว้ตลอดเวลาเพื่อรองรับในกรณีที่เกิดภัยพิบัติen_US
dc.description.abstractalternativeIn recent years, natural disasters occur more frequently and more violently. The Thai Red Cross needs to evaluate its current relief warehouse capacity and to plan for the future in order to ensure that it can cope with future demands. Normally, we can find appropriate warehouse location by analyze with qualitative method or quantitative method separately. Unlike a commercial setting, in the case of the Thai Red Cross, cost is not the major determining factor that we have to consider. There are other relevant factors such as accessibility of volunteers at the time of disasters, for example. This research analyzed the warehouse location problem by using multi-objective optimization model with Pareto dominance theory to come up with the Pareto optimal set that considers both qualitative and quantitative method. Furthermore, researcher analyzes sensitivity analysis of the model in order to suggest The Thai Red Cross which relief warehouse they should select. We considered qualitative and quantitative method together in 2 scenario normal demand and peak demand. The answer from multi-objective optimization analysis in normal demand scenario is Henry Dunant relief warehouse and the answer from multi-objective optimization analysis in peak demand scenario is Henry Dunant and Bangkae relief warehouses. The sensitivity analysis of the model also show that Thai Red Cross should operate Henry Dunant relief warehouse only one warehouse and standby Bangkae relief warehouse in case disaster occur.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการพัฒนาแผนสำหรับการคัดเลือกตำแหน่งคลังบรรเทาทุกข์สภากาชาดไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment Plan for The Selection of Thai Red Cross's Relief Warehouse's Locationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManoj.L@chula.ac.th,lmanoj@gmail.com,manoj.l@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670355221.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.