Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45702
Title: การพัฒนาเกณฑ์การบริหารจัดการโครงการหลังการเข้าอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ
Other Titles: SUSTAINABLE OPERATION AND MAINTENANCE CRITERIA DEVELOPMENT FOR ASSESSING THE HOUSING PROJECTS OF NATIONAL HOUSING AUTHORITY
Authors: กีรติญา ครูวงศ์ไพบูลย์
Advisors: อรรจน์ เศรษฐบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Atch.S@Chula.ac.th,atch111@yahoo.com
Subjects: การเคหะ
การบริหารโครงการ
Housing authorities
Project management
Issue Date: 2557
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาเกณฑ์การบริหารจัดการโครงการหลังการเข้าอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ เป็นงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาเกณฑ์ชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Ecovillage) ในส่วนการบริหารจัดการชุมชนหลังการเข้าอยู่ สำหรับนำมาใช้กับโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติ และสอดคล้องกับเกณฑ์ชุมชนน่าอยู่น่าสบายอย่างยั่งยืน (Ecovillage) โดยการศึกษาเกณฑ์ฯ ที่มีอยู่ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ และนำมาวิเคราะห์คัดเลือก เพื่อพัฒนาเป็นเกณฑ์การบริหารจัดการโครงการหลังการเข้าอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนสำหรับโครงการที่อยู่อาศัยขึ้นใหม่ เสนอแนะแนวทางนำเกณฑ์ไปสู่การปฎิบัติ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร การทบทวนวรรณกรรม และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมและจัดหมวดหมู่ การวิเคราะห์ผล การนำเกณฑ์ฯขั้นต้นไปใช้ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาข้อเสนอแนะ และพัฒนาเกณฑ์ฯ จากการศึกษาเกณฑ์ต้นแบบ ประกอบด้วยเกณฑ์ต่างประเทศ 3 เกณฑ์ได้แก่ เกณฑ์ LEED for Existing Buildings Operations & Maintenance เกณฑ์ Greenmark for existing building operation and maintenance และเกณฑ์ CEPAS หรือ the Comprehensive Environmental Performance Assessment Scheme และเกณฑ์ในประเทศไทย 1 เกณฑ์ ได้แก่ LPN-FBLESP และนำมาวิเคราะห์ตลอดจนพัฒนาเป็นเกณฑ์การบริหารจัดการโครงการหลังการเข้าอยู่อาศัยอย่างยั่งยืนขั้นต้น สามารถสรุปเกณฑ์ขั้นต้นที่มีหัวข้อตัวชี้วัดทั้งหมด 187 หัวข้อ แบ่งออกเป็นตัวชี้วัด 8 หมวด อันได้แก่ (1) การจัดการด้านที่ตั้งและคมนาคมขนส่งของโครงการ (2) การจัดการผังภูมิทัศน์ของโครงการและสิ่งอำนวยความสะดวก (3) การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร (4) การจัดการทรัพยากรและมลพิษของโครงการ (5) การจัดการการใช้พลังงานของโครงการ (6) การจัดการน้ำของโครงการ (7) การบริหารเงิน (8) การบริหารชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 8 หมวดนี้จะแบ่งออกเป็น 23 ตัวชี้วัดและ 187 รายละเอียด ก่อนจะนำเกณฑ์ดังกล่าวไปใช้ในการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการพัฒนาเกณฑ์ฯและนำไปใช้ในการประเมินโครงการจริงในอนาคต ผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสามารถสรุปได้ว่า การนำเกณฑ์ฯไปใช้หรือนำไปพัฒนาต่อเพื่อใช้ในอนาคตมีความเป็นไปได้สูง แต่ยังคงมีข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขและพัฒนาเกณฑ์ฯ แบ่งออกเป็นปัจจัย 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยเรื่องระยะเวลาของการดำเนินการ ที่ต้องมีการกำหนดความถี่ในการดำเนินการที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้นในหลายหัวข้อ ปัจจัยเรื่องการสื่อสารระหว่างสมาชิกในชุมชนและผู้บริหารโครงการ ที่ต้องมีการเพิ่มเติมการดำเนินการในด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารระหว่างผู้บริหารโครงการและสมาชิกผู้อยู่อาศัย ปัจจัยเรื่องของการกำหนดให้มีการบริหารจัดการที่จำเป็น ที่ต้องการเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่มีการกำหนดในตัวชี้วัดในเกณฑ์ฯขั้นต้น ปัจจัยเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ที่ต้องมีการกำหนดการบริหารจัดการและการดำเนินงานที่มีค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมกับรูปแบบของโครงการที่อยู่อาศัย
Other Abstract: The main purpose of this study was to develop sustainable operation and maintenance criteria for assessing an ecovillage of the new housing projects launched by the National Housing Authority. Such criteria will be implemented after the owners have moved in. The development of these criteria is based on an analysis of the existing national and international ecovillage criteria, some of which are adopted while others are adapted. This study was conducted through document research and literature review. The data were classified and analyzed before they were reviewed by specialists for further improvement. The international criteria include LEED for Existing Buildings Operations & Maintenance, Greenmark for existing building operation and maintenance and Comprehensive Environmental Performance Assessment Scheme (CEPAS) and the national criteria are based on LPN-FBLESP. The new criteria comprise 8 topics with 23 indicators and 187 items. The indicators include (1) location and transportation, (2) sustainable sites and facilities, (3) indoor environmental quality, (4) materials and resources, (5) energy and atmosphere, (6) water efficiency, (7) financial management and (8) community management. The criteria were reviewed by specialists before being proposed. Based on the interviews with the specialists, the probability of the implementation of the criteria is very high but there are some suggestions falling into four aspects – operational framework, communication between community members and the project administrative, other necessary measures and managerial expenses. As for the first aspect, some items require proper assignment of frequency while the second aspect requires more channels and frequency of communication between the community members and the project administration. Regarding the third aspect, more details or more measures should be added in some indicators, and as for the fourth aspect, appropriate expenses should be established for each project.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45702
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2014.1058
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2014.1058
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673305425.pdf12.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.