Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45714
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวรภัทร์ อิงคโรจน์ฤทธิ์en_US
dc.contributor.authorสรญา กังวาลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2015-09-17T04:04:41Z-
dc.date.available2015-09-17T04:04:41Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45714-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557en_US
dc.description.abstractมหาวิทยาลัยเป็นสถานที่ที่มีความหลากหลายในการใช้งาน และจำนวนผู้ใช้อาคาร ซึ่งส่งผลให้มีการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน โดยการอนุรักษ์พลังงานเป็นส่วนหนึ่งของแผน ทั้งนี้องค์ความรู้ในการอนุรักษ์พลังงานในสถานศึกษายังมีอยู่อย่างจำกัด การเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานภายในอาคาร (Energy Benchmarking) จึงเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยให้ผู้บริหาร ผู้จัดการอาคารเข้าใจลักษณะการใช้พลังงานจากการเปรียบเทียบกับอาคารอื่นๆ และประเมินความเป็นไปได้ในการอนุรักษ์พลังงานจากฐานข้อมูลที่มี เพื่อยกระดับการอนุรักษ์พลังงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานด้านการใช้พลังงานสำหรับมหาวิทยาลัย โดยเก็บข้อมูลการใช้พลังงาน ลักษณะอาคาร และจำนวนผู้ใช้อาคารในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 92 อาคาร และ 35 หน่วยงาน ในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 ถึง กันยายน พ.ศ. 2557 ผลจากการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของพื้นที่ภายในอาคารต่ออาคารเท่ากับ 7,547.94 ตร.ม. ค่าเฉลี่ยของพื้นที่ปรับอาคารของอาคารเท่ากับ 3,641.64 ตร.ม. คิดเป็นร้อยละ 51.72 จากการวิเคราะห์การกระจายตัวของค่าดัชนีการใช้พลังงานพบว่ามีการกระจายตัวเป็นลักษณะเส้นโค้งลาดมาทางบวก (Positively skewed) ที่เป็นแบบไม่ปกติส่งผลทำให้ต้องใช้ค่ามัธยฐานเป็นค่ากลางของข้อมูล โดยค่ามัธยฐานของค่าดัชนีการใช้พลังงานของอาคารต่อพื้นที่เท่ากับ 62.71 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อปี (kWh/m²/year) ค่ามัธยฐานของค่าดัชนีการใช้พลังงานของหน่วยงานต่อพื้นที่เท่ากับ 70.59 kWh/m²/year และค่ามัธยฐานของค่าดัชนีการใช้พลังงานของหน่วยงานต่อคนมีค่าเท่ากับ 1,089.31 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อคนต่อปี และในการวิเคราะห์ถดถอยพบว่าสามารถทำนายค่าการใช้พลังงานของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยได้จากตัวแปรพื้นที่อาคาร และพื้นที่ปรับอากาศ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R-square) เท่ากับ 0.90 (p<0.05) งานวิจัยนี้เสนอให้ศึกษาเพิ่มเติมโดยเพิ่มจำนวนอาคารของกรณีศึกษา เพื่อให้เข้าใจถึงพฤติกรรมการใช้พลังงานภายในอาคารของมหาวิทยาลัยได้อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeUniversity is a place which consist of various types of functional space and building users which affects the energy consumption of the university while Chulalongkorn University has been working on becoming a sustainable university which energy conservation is one part of the plan, the knowledge of energy conservation in academic buildings, however, is limited. Energy benchmarking is one of the tools that will help administrators, building managers to understand building’s energy use by comparison with others buildings and assess the feasibility of energy conservation through energy use database. This study aims to develop energy consumption benchmarking of university buildings from energy use data, buildings data and users data of university from a total of 92 buildings and 35 institutes during October 2013 to September 2014 period. The results found that the average building area was 7,547.94 m². The average of building air conditioned space was 3,641.64 m² (51.72%). Data analysis showed that the distribution of university energy index was positively skewed. The median value of energy use index per area was 62.71 kWh/m²/year. The median value of institute energy index per area was 70.59 kWh/m²/year and 1,089.31 kWh/person/year for institution energy use index per person. The regression analysis found that the energy consumption equation can be derived from building area and air-conditioned space. The coefficient of determination (R-square) from this study equation was 0.90 (p<0.05). This research suggests that the further study should include more case study buildings to fully understand energy consumption behaviour of university builldings.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการเทียบสมรรถนะด้านการใช้พลังงานในอาคารของมหาวิทยาลัย : กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeENERGY CONSUMPTION BENCHMARKING OF UNIVERSITY BUILDINGS :A CASE STUDY OF CHULALONGKORN UNIVERSITYen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสถาปัตยกรรมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVorapat.I@Chula.ac.th,Vorapat.I@chula.ac.then_US
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5673559525.pdf5.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.