Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4577
Title: พอลิเมอร์ผสมยางธรรมชาติและยางพอลิคลอโรพรีนสำหรับการผลิตยางกันฝุ่น
Other Titles: Natural rubber/polychloroprene rubber blends for rubber boot production
Authors: อัจฉรี ตระการวราภรณ์
Advisors: ชูชาติ บารมี
วราภรณ์ ขจรไชยกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: โพลิเมอร์ผสม
ยาง
โพลิคลอโรพรีน
ยางกันฝุ่น
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ ได้ศึกษาการผสมธรรมชาติกับยางพอลิคลอโรพรีนที่อัตราส่วนต่างๆ และเติมเขม่าดำเป็นสารเสริมแรงเพื่อใช้ในการผลิตยางกันฝุ่น โดยศึกษาผลของอัตราส่วนการผสมยางดังกล่าวและการเติมสารเชื่อมการผสมยางต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติเชิงกลของยางผสมที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ ลักษณะการคงรูปของยางผสมได้จากการวิเคราะห์รีโอกราฟ ผลการทดลองแสดงว่า อัตราส่วนในการผสมยางและการเติมสารเชื่อมการผสมยางมีผลต่อสมบัติทางกายภาพของยางผสม เมื่ออัตราส่วนของยางพอลิคลอโรพรีนในยางผสมเพิ่มขึ้น สมบัติของยางก่อนการคงรูป ได้แก่ ความหนืด เวลาที่ยางเริ่มคงรูปและเวลาที่ใช้ในการคงรูปถึงร้อยละ 90 มีค่าเพิ่มขึ้น ส่วนสมบัติของยางหลังการคงรูปทั้งก่อนและหลังการอบบ่มเร่งให้ยางเสื่อมสภาพที่ 100 ํC เป็นเวลา 22 ชั่วโมง ได้แก่ ความถ่วงจำเพาะ โมดูลัส ความแข็ง การยุบตัว และความสามารถทนต่อโอโซนนั้นปรับปรุงให้ดีขึ้นได้มากเมื่อเพิ่มยางพอลิคลอโรพีน ในขณะที่ความยืดเมื่อขาด ความสามารถในการทนต่อการบวมตัวเนื่องจากน้ำมันหรือจาระบี และสมบัติความต้านทานการนำไฟฟ้ามีค่าลดลง แต่ความต้านทานแรงดึงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย สำหรับสมบัติเชิงกลของยางผสมพบว่า ยางผสมมีค่าอุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T[subscript g]) และจุดยอดของ tan triangle สองค่า ในขณะที่ยางชนิดเดียวมีอุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T[subscript g]) และจุดยอดของ tan triangle เพียงค่าเดียวและมีลักษณะที่แคบกว่า อย่างไรก็ตามการเติมสารเชื่อมการผสมยางลงไปพบว่า อุณหภูมิกลาสทรานซิชัน (T[subscript g]) ทั้งสองค่าของยางผสมจะมีความแตกต่างน้อยลง แสดงว่า การผสมยางเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ดีขึ้นและยังช่วยเพิ่มความต้านแรงดึงได้เล็กน้อย เมื่อเปรียบเทียบสมบัติของยางผสมกับมาตรฐานยางกันฝุ่น พบว่าอัตราส่วนผสมระหว่างยางธรรมชาติต่อยางพอลิคลอโรพรีน ที่ 30 : 70 ไม่เติมสารเชื่อมการผสมยาง และที่ 40 : 60 โดยเติมสารเชื่อมการผสมยาง ยางมีค่าที่ได้มาตรฐานตามกำหนด ทั้งสองกรณีเตรียมโดยใช้เขม่าดำ N660 และทำให้คงรูปแบบระบบประสิทธิภาพ นอกจากนี้การใช้ยางธรรมชาติแทนที่ยางพอลิคลอโรพรีนจะลดต้นทุนในการผลิตยางกันฝุ่น และเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางธรรมชาติ
Other Abstract: Rubber blends with varying natural rubber (NR) and polychloroprene (CR) ratio, using carbon black for reinforced, was studied for rubber boot production. The effects of the ratio and the homogenizing agent on the physical and mechanical properties of the blend were investigated. The cure characteristics of the rubber blend reinforced with carbon black were analyzed from the rheographs. Experimental results showed that NR/CR ratio and homogenizing agent affect physical properties of the blend. When the NR/CR ratio was increased the properties of unvulcanisate, i.e. Mooney viscosity, rate of cure and time of cure to 90%, increased. The vulcanisate properties both before and after aging at 100 ํC for 22 h, i.e. specific gravity, modulus, hardness, compression set and ozone resistance, showed considerable improvement by the increase of polychlorprene while elongation at break, oil and grease resistance and anti-static properties decreased. But the tensile strength slightly increased. With regards to mechanicalproperties, the rubber blend appeared to have two glass transition temperatures (T[subscript g]) and tan triangle peaks whereas single rubber showed only one glass transition temperatures (T[subscript g]) and narrower tan triangle peak. However, with addition of homogenizing agent the difference of the two glass transition temperatures (T[subscript g]) of the rubber blend became smaller. This indicated the improved homogeneity of the blend and thus its tensile strength was also slightly increased. When the properties of the rubber blend are compared with the specifications of rubber boot standard, the blend of natural rubber to polychloroprene at 30 : 70 without homogeniaing agent and at 40 : 60 with homogenizing agent meet the standard specifications. Both have been prepared using N660 carbon black as reinforcement and cured with efficient vulcanizing system. Moreover, substitution of natural rubber for polychloroprene saves cost for rubber boot production and increases added value to natural rubber.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4577
ISBN: 9741300999
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Autcharee.pdf8.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.