Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4579
Title: การกำจัดอิออนโลหะหนักในน้ำเสียโดยไคโตแซน
Other Titles: Removal of heavy metal ions in wastewater using chitosan
Authors: เกษม สีดอกบวบ
Advisors: ขันทอง สุนทราภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: khantong@mail.sc.chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนัก
ไคโตแซน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของไคโตแซนซึ่งสกัดมาจากเปลือกกุ้ง เปลือกปู และกุ้งผสมปู สำหรัการกำจัดอิออนโลหะหนัก 5 ตัว คือ Cu2+, Zn2+, Cd2+, Pb2+ และ Hg2+ ในน้ำเสียจริงจากโรงงานอุตสาหกรรมและจากห้องปฏิบัติการ การวิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ การสกัดไคโตแซนจากเปลือกกุ้งเปลือกปู การศึกษาหาพีเอชและปริมาณไคโตแซนที่เหมาะสมในการกำจัดอิออนโลหะหนัก และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของไคโตแซนในการดูดซับอิออนโลหะหนักจากน้ำเสียของศูนย์กำจัดน้ำเสียแสมดำ, บริษัทสยามแบตเตอรีอินดัสทรี, บริษัทไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์, ห้องปฏิบัติการเคมี 1 และห้องปฏิบัติการเคมี 2 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการศึกษาพบว่า ได้ไคโตแซนร้อยละ 25.9 และ 29.9 ของน้ำหนักเปลือกกุ้งแห้งและเปลือกปูแห้งมวลโมเลกุลเฉลี่ยเท่ากับ 3.3x10x10x10x10x10 และ 2.7x10x10x10x10x10 ดาลตัน ร้อยละการกำจัดหมู่แอเซติลมีค่าเท่ากับ 93-94 และ 98 ของไคโตแซนที่เตรียมมาจากเปลือกกุ้งแห้งและเปลือกปูแห้งตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด Cu2+, Zn2+ และ Cd2+ ในน้ำเสียจากศูนย์กำจัดน้ำเสียแสมดำคือ พีเอช 5.5 โดยใช้ปริมาณไคโตแซน 1.5 กรัมต่อน้ำเสียตัวอย่าง 400 มิลลิลิตร ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมงให้ประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 76.9, 66.4-95.5 และ 73.1-79.8 ตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด Pb2+ ในน้ำเสียจากบริษัทสยามแบตเตอรีอินดัสทรี คือ พีเอช 5.5 ใช้ปริมาณไคโตแซน 1.7 กรัมต่อน้ำเสียตัวอย่าง 400 มิลลิลิตร โดยตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 90.3 ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด Hg2+ ในน้ำเสียจากบริษัทไทยอาซาฮีเคมีภัณฑ์ คือ พีเอช 5.0 ใช้ปริมาณไคโตแซน 2.2 กรัมต่อน้ำเสียตัวอย่าง 400 มิลลิลิตร โดยตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ให้ปริสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 97.8 ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด Zn2+, Cd2+, Pb2+, และ Hg2+ ในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการเคมี 1 คือ พีเอช 5.5 ใช้ปริมาณไคโตแซน 1.5 กรัมต่อน้ำเสียตัวอย่าง 400 มิลลิลิตร โดยตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพร้อยละ 94.5-97.7 มากกว่า 14.9, 66.4-67.6 และ 48.0-76.7 ตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมในการกำจัด Cu2+ ในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการเคมี 2 คือ พีเอช 5.5 ใช้ไคโตแซนปริมาณ 8.0 กรัมต่อน้ำเสียตัวอย่าง 400 มิลลิลิตรร ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนเป็นเวลา 72 ชั่วโมง ให้ประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 96.4
Other Abstract: This research was aimed to study the removal efficiency of chitosan on 5 heavy metal ions; i.e., Cu2+, Zn2+, Cd2+, Pb2+, and Hg2+, from industrial and laboratory wastewater. The study was separated into 3 parts; i.e., preparation of chitosan from shrimp and crab shells, determination of optimum pH and optimum dose and removal efficiency analysis. The wastewater was taken from 5 sources; i.e., industrial wastewater from General Environmental Conservation Public Company (Genco), Siam Battery Industry Co., Ltd., Thai Asahi Chemical Co., Ltd., and laboratory wastewater from Chemical Laboratory Building 1 and 2 of Department of Chemistry, Faculty of Science, C.U. The chitosan yields, average molecular weight, and degree of deacetylation were 25.9% and 29.9%, 3.3x10x10x10x10x10 and 2.7x10x10x10x10x10 Dalton, 93-94% and 98% of dried shrimp and crab shells, respectively. For Genco wastewater, it consisted of 3 interest ions; i.e., Cu2+, Zn2+, and Cd2+. The optimum pH was 5.5. The optimum doses and removal efficiencies with 24 hr settling times were 1.5 g/400 ml and more than 76.9, 66.4-95.5, 73.1-79.8, respectively. For Siam Battery Industry Co. wastewater, it consisted of 1 interest ion; i.e., Pb2+. The optimum pH was 5.5. The optimum doses and removal efficiencies with 24 hr settling times were 1.7 g/400 ml and more than 90.3 For Thai Asahi Chemical Co. wastewater, it consisted of 1 interest ion; i.e., Hg2+. The optimum pH was 5.0. The optimum doses and removal efficiencies with 24 hr settling times were 2.2 g/400 ml and more than 97.8. For Chem. Lab. Build. 1 wastewater, it consisted of 4 interest ions; i.e., Zn2+, Cd2+, Pb2+, and Hg2+. The optimum pH was 5.5. The optimum doses and removal efficiencies with 24 hr settling times were 1.5 g/400 ml and 94.5-97.7, more than 14.9 66.4-67.6, 48.0-76.7, respectively. For Chem. Lab. Build. 2 wastewater, it consisted of 1 interest ion; i.e., Cu2+. The optimum pH was 5.5. The optimum doses and removal eficiencies with 72 hr settling times were 8.0 g/400 ml and more than 96.4
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคมีเทคนิค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/4579
ISBN: 9741301413
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kasem-edit.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.